กายภาพบำบัด สำคัญไฉน เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
กายภาพบำบัด ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นโรคที่ส่งผลทำให้คุณภาพการใช้ชีวิตประจำวันลดลง การทำกิจกรรมต่างๆยากมากขึ้นเนื่องจากมีการอ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีก ซึ่งการรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะช่วยฟื้นฟูให้ผู้ป่วยให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวัน ทำกิจกรรมต่างๆได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ก่อนที่จะรู้จักการรักษาและฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มาทำความเข้าใจถึงพยาธิสภาพของโรคหลอดเลือดสมอก่อนดีกว่า
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือเรียกว่า อัมพฤกษ์ เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย
ซึ่งความผิดปกติของโรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกได้เป็นชนิดต่างๆ ดังนี้ คือ
- โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด (Ischemic Stroke) พบได้กว่า 80 % ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดจนทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
- โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke) เกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองแตก หรือฉีกขาด ทำให้เลือดรั่วไหลเข้าไปในเนื้อเยื่อสมอง พบได้ประมาณ 20 %
ปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่ส่งผลต่อโรคหลอดเลือดสมอง
- ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
– อายุ : ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดจะมีการแข็งตัวมากขึ้นและมีไขมันเกาะหนาตัวทำให้เลือดไหลผ่านได้ลำบาก
– เพศ : เพศชาย มีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
– ประวัติคนครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้
– โรคความดันโลหิตสูง , เบาหวาน ,ไขมันในเลือดสูง ,การสูบบุหรี่ , โรคหัวใจ
โดยสามารถสังเกตอาการในเบื้องต้นได้ดังนี้ ( F.A.S.T )
F Face : ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว มีอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง
A Arm : มีอาการแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
S Speak : พูดลำบาก พูดติดๆขัดๆ พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง นึกคำพูดไม่ออก
T Time : ควรมาโรงพยาบาลด้วยความรวดเร็ว ภายใน 4.5 ชั่วโมง
การรักษาและบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
นอกจากที่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาทางการแพทย์แล้ว กายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นอีกหนึ่งแนวทางการรักษาที่สำคัญและมีบทบาทอย่างยิ่งที่จะช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและป้องกันภาวะแทรกซ้อนให้กับผู้ป่วย โดยการรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้นจะประกอบไปด้วย
– การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่หลังจากผ่านช่วงแรกของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มักจะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อตามมา โดยการเกร็งของกล้ามเนื้อนี้จะมีผลให้กล้ามเนื้อของผู้ป่วยหดรั้ง สูญเสียความยืดหยุ่น นักกายภาพบำบัดจึงจำเป็นจะต้องให้การรักษาด้วยการยืดกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการเกร็งและเพื่อความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อสำหรับเตรียมความพร้อมในการออกกำลังกายในลำดับต่อไป
– การดัดและขยับข้อต่อเพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว : ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไม่ได้มีการขยับร่างกายเป็นเวลานานหรือไม่ได้ลุกยืน เดินลงน้ำหนัก จะมีผลทำให้ข้อต่อของผู้ป่วยยึดติดไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มช่วงองศาการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการขยับข้อต่ออย่างถูกต้องและเหมาะสมโดยนักกายภาพบำบัดเพื่อให้ข้อต่อสามารถเคลื่อนไหวในองศาการเคลื่อนไหวที่ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ทั้งนี้ทั้งนั้นการขยับข้อต่อยังสามารถลดความเจ็บปวดจากการตึงรั้งของเนื้อเยื่อรอบๆข้อได้อีกด้วย
– การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ : อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้นจะมีภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อครึ่งซีกร่างกาย ผู้ป่วยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้ทำงานอย่างถูกต้อง และแนะนำท่าทางการออกกำลังการที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตหรือช่วยเหลือตัวเองได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
– การฝึกการทรงตัว : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความเสี่ยงที่จะล้มง่ายเนื่องจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะมีการอ่อนแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อที่ใช้ในการทรงตัว และในบางรายมีการสูญเสียการรับความรู้สึกในส่วนของการเคลื่อนไหวของข้อต่อไป ทำให้ประสิทธิภาพในการทรงตัวหรือการรักษาความมั่นคงให้กับร่างกายน้อยลง การฝึกการทรงตัวในท่านั่ง ท่ายืน หรือท่าเดิน จึงเป็นส่วนช่วยสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับผู้ป่วยและลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสี่ยงจากการล้มได้
– การฝึกการใช้มือและกิจวัตรประจำวัน : เมื่อผู้ป่วยมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากขึ้น การฝึกการใช้มือในการหยิบจับสิ่งของ เช่น การหยิบแก้วน้ำ การรับประทานอาหาร การเปลี่ยนเสื้อผ้า ติดกระดุมหรือการช่วยเหลือตัวเองในการลุกนั่ง เปลี่ยนท่าทางได้อย่างถูกต้อง จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรต่างๆได้ด้วยตัวเอง
– การฝึกเดิน : ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง การเดินจะเป็นปัญหาสำคัญที่ผู้ป่วยจะต้องเจอ และต้องได้รับการวิเคราะห์ปัญหาอย่างละเอียดเพื่อนำไปสู่การฝึกฝนการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเดินได้อย่างปลอดภัยและใกล้เคียงปกติมากที่สุด
– การฝึกหายใจ : ผู้ป่วยจะมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อกลุ่มที่ช่วยในการหายใจร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้ไม่ลึก และเหนื่อยง่าย ผู้ป่วยจึงควรได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องในการฝึกการหายใจ
– การฝึกพูดและกลืน : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะมีปัญหาในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลิ้น กล้ามเนื้อเคี้ยว และกล้ามเนื้อใบหน้า มักจะพบว่าบางครั้งผู้ป่วยจะมีน้ำลายไหลบริเวณมุมปาก สำลัก หรือพูดไม่ชัด ไม่เป็นคำ ดังนั้นการกระตุ้นด้วยการฝึกพูด ฝึกกลืน จะมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยพัฒนาความสามารถในการพูดและกลืนได้ดีขึ้นและป้องกันในส่วนของโรคแทรกซ้อนจากการสำลักอาหารได้อีกด้วย
Physical therapy and rehabilitation therapy in stroke patients.
In addition to the patient receiving medical treatment.
Physiotherapy in stroke patients is another important treatment and plays an important role in helping to restore physical fitness and prevent complications. With physical therapy in patients with cerebrovascular disease that consists of- Stretching: The majority of stroke patients after the first period of their stroke.
Often there are symptoms of muscle contractions that follow. The contraction of this muscle will cause the patient’s muscle to contract. Loss of flexibility The physical therapist is required to provide stretching therapy. To reduce spasticity and flexibility in the muscles to prepare for the next exercise.- Bending and shifting joints to increase the degree of motion: in the event of a stroke patient who has been inactive for a long time or has not stood up.
Weight walking Will result in the patient’s joints fixed and unable to move in the full range of motion degrees The patient is therefore required to properly and properly move the joints by a physical therapist to enable the joints to be able to move at the closest range of motion to normal. However, moving the joint can also reduce the pain of tightening the tissues surrounding the joint.
Exercise to strengthen the muscles: As it is known, stroke patients develop hemiplegia. It is imperative that the patient is properly stimulated to function and recommend proper exercise posture to increase muscle strength. So that patients can return to life or help themselves as close as possible.
เอกสารอ้างอิง
1.Ralph L., Stroke risk factors, AHA journal 1997
Reynolds K. alcohol consumption and risk of stroke. A meta- analysis, JAMA; 2003
2.สถาบันประสาทวิทยาชมรมพยาบาลโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย. (2550). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. ม.ป.ท.