การตรวจ การรับรู้ความรู้สึก (Sensation test)

การตรวจ การรับรู้ความรู้สึก (Sensation test)

วัตถุประสงค์ของ การตรวจ ทางระบบประสาท คือ เพื่อตรวจสอบว่าสมอง, ไขสันหลัง, เส้นประสาทส่วนปลาย รวมถึง muscle และ skin receptors ของผู้ป่วยทำงานได้ตามปกติหรือไม่ การตรวจระบบประสาทจะเริ่มทันทีที่แพทย์พบอาการทางคลินิกจากการซักประวัติ การสังเกตท่าทางและการเดินของผู้ป่วย พฤติกรรม การสบตา การประสานกันเมื่อทำการกระทำที่ซับซ้อน ท่าทางที่ผิดปกติหรือการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง พฤติกรรมเหล่านี้อาจปรากฏชัดเจนก่อนการทดสอบ การตรวจทางระบบประสาท มีดังต่อไปนี้: Mental status, Cranial nerves, Motor system, Muscle strength, Gait, stance, and coordination, Sensation, Reflexes, Autonomic nervous system

            การตรวจ การรับรู้ความรู้สึก (Sensation test)

  1. การทดสอบความรู้สึกเจ็บปวด (Pain sensation หรือ Pinprick) โดยการทดสอบจะใช้ “เข็ม”หรือ “ไม้จิ้มฟัน” จิ้มไปที่บริเวณใบหน้า ลำตัว และแขนขาทั้ง 2 ข้าง เล็กน้อย โดยจะทดสอบข้างที่ปกติก่อนเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับรู้ความรู้สึกที่แท้จริง และผู้ป่วยจะถูกถามว่า “รู้สึกตรงไหน รู้สึกอย่างไร แหลมหรือทู่” ขณะทำการทดสอบผู้ป่วยจะต้องหลับตาไว้ตลอดการทดสอบ อุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบจะถูกทิ้งหลังการใช้งานเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของความผิดปกติทางเลือด (เช่น การติดเชื้อ HIV, โรคตับอักเสบ) ทดสอบซ้ำ 3-5 ครั้ง
  2. การทดสอบการรับรู้ความรู้สึกที่ข้อต่อ (Proprioception test) ทดสอบโดยการขยับส่วนปลายของนิ้วมือหรือนิ้วเท้าอย่างเร็วๆ และหยุดไว้ที่องศาใดองศาหนึ่ง และผู้ป่วยจะถูกถามว่า “งอหรือเหยียด” “ขึ้นหรือลง” ซึ่งส่วนใหญ่จะทดสอบที่ข้อต่อเล็กๆ หากผู้ป่วยหลับตาแล้ว และไม่สามารถระบุการเคลื่อนไหวของข้อต่อได้ ให้ทำการทดสอบข้อต่อใหญ่ๆก่อน เช่น ข้อศอก ข้อมือ ข้อเข่า หรือข้อเท้า ทดสอบซ้ำ 3-5 ครั้ง
  3. การทดสอบความรู้สึกสัมผัสเบา (Light touch) ทดสอบโดยใช้สำลีลูบไปบริเวณใบหน้า ลำตัว และแขนขาทั้ง 2 ข้าง อย่างเบามือ โดยจะทดสอบข้างที่ปกติก่อนเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับรู้ความรู้สึกที่แท้จริง และผู้ป่วยจะถูกถามว่า “รู้สึกตรงไหน รู้สึกอย่างไร” ขณะทำการทดสอบผู้ป่วยจะต้องหลับตาไว้ตลอดการทดสอบ ทดสอบซ้ำ 3-5 ครั้ง

การรายงานผลและแปลผล

  • หากผู้ป่วยสามารถตอบได้ทั้งหมด 3 ครั้ง หรือ 5 ครั้ง หมายถึง การรับรู้ความรู้สึกปกติ
  • หากผู้ป่วยตอบผิด 1 ครั้ง หมายถึง การรับรู้ความรู้สึกบกพร่อง
  • หากผู้ป่วยไม่สามารถตอบได้ หมายถึง ผู้ป่วยสูญเสียการรับรู้ความรู้สึก

Figure 1 Dermatome

 

Figure 2 Cutaneous n. distribution: Upper limb

Figure 3 Cutaneous n. distribution: Lower limb

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

 

แหล่งอ้างอิง: https://www.msdmanuals.com/professional/neurologic-disorders/neurologic-examination/how-to-assess-sensation

 

Sensation test

The purpose of the neurological examination is to determine whether the patient’s brain, spinal cord, peripheral nerves, and muscle and skin receptors are functioning normally. The neurological examination begins as soon as the physician identifies clinical symptoms from the patient’s history, observation of the patient’s posture and gait, behavior, eye contact, coordination during complex actions, abnormal postures or spontaneous movements. These behaviors may be apparent before the test. The neurological examination includes the following: Mental status, Cranial nerves, Motor system, Muscle strength, Gait, stance, and coordination, Sensation, Reflexes, Autonomic nervous system

Sensation test

The pain sensation test (or Pinprick) is a test that uses a “needle” or “toothpick” to poke the face, trunk, and both limbs slightly. The normal side is tested first to allow the patient to feel the true sensation. The patient will be asked “Where do you feel it? How does it feel? Is it sharp or blunt?” The patient’s eyes must be closed throughout the test. The test device will be discarded after use to avoid the spread of blood disorders (e.g. HIV infection, hepatitis). Repeat the test 3-5 times.
Proprioception test: Test by moving the tip of the finger or toe quickly and stopping at any angle. The patient will be asked to “bend or extend”, “up or down”. It is mostly tested on small joints. If the patient has closed his eyes and cannot identify the joint movement, test the larger joints first, such as the elbow, wrist, knee or ankle. Repeat the test 3-5 times.
Light touch test: Test by using a cotton swab to gently rub the face, torso and both limbs. Test the normal side first so that the patient can feel the true sensation. The patient will be asked “Where do you feel? How do you feel?” During the test, the patient must keep his eyes closed throughout the test. Repeat the test 3-5 times.

Reporting and interpretation of results

If the patient can answer all 3 or 5 times, it means normal sensation.
If the patient answers incorrectly 1 time, it means impaired sensation.
If the patient cannot answer, it means the patient has lost sensation

โทร.
Scroll to Top