การตรวจ Equilibrium test

การตรวจ Equilibrium test

            Equilibrium test หรือ การทดสอบการรักษาสมดุลของร่างกายทั้งในขณะอยู่กับที่ (static) และมีการเคลื่อนไหว (dynamic)

ตัวอย่างท่าตรวจ Equilibrium test หรือการทดสอบการทรงตัว ท่าทดสอบจากง่าย – ยาก

ทดสอบในท่านั่ง

  1. Sitting in a normal comfortable position ; นั่งอยู่ในท่าสบาย
  2. Sitting, weight shifting in all directions ; นั่งถ่ายน้ำหนักไปทุกทิศทาง ทิศทางซ้าย – ขวา หน้า – หลัง
  3. Sitting, multidirectional functional reach ; นั่งโน้มตัวเอื้อมแขนไปด้านหน้า
  4. Sitting, picking an object up off floor ; นั่งหยิบของขึ้นมาจากพื้น

ทดสอบในท่ายืน

  1. Standing in a normal comfortable posture ; ยืนอยู่ในท่าสบาย
  2. Standing, feet together (narrow base of support) ; ยืนเท้าชิด
  3. Standing on one foot ; ยืนด้วยขาข้างเดียว
  4. Standing, with one foot directly in front of the other (tandem position) ; ยืนต่อเท้า
  5. Standing: eyes open (EO) to eyes closed (EC) (Romberg test) ; ยืนหลับตาและลืมตา
  6. Standing: tandem position: EO to EC (Sharpened Romberg test) ; ยืนต่อเท้าหลับตาและลืมตา
  7. Standing, multidirectional functional reach ; ยืนโน้มตัวเอื้อมแขนไปด้านหน้า

ทดสอบในท่าเดิน

  1. Walking, placing feet on floor markers ; เดินไปจุดที่ทำเครื่องหมายบนพื้น
  2. Walk: sideways ; เดินก้าวขาไปด้านข้าง
  3. Walk: backwards ; เดินก้าวขาไปด้านหลัง
  4. Walk: cross-stepping ; เดินก้าวข้าม
  5. Walk: in a circle, alternate directions ; เดินเป็นวงกลม
  6. Walk: on heels ; เดินบนส้นเท้า
  7. Walk: on toes ; เดินบนนิ้วเท้า
  8. March in place ; ย่ำเท้ากับที่
  9. Walk with horizontal and vertical head turns ; เดินโดยหันหน้าทางด้านซ้าย – ขวา และก้มหน้า – เงยหน้า
  10. Step over or around obstacles ; เดินก้าวข้ามสิ่งกีดขวาง
  11. Stairclimbing with handrail ; เดินขึ้นบันไดแบบมีราวจับ
  12. Stairclimbing without handrail ; เดินขึ้นบันไดโดยไม่มีราวจับ
  13. Stairclimbing: one step at a time ; เดินขึ้นบันไดทีละขั้น
  14. Stairclimbing: step-over-step ; เดินขึ้นบันไดข้ามขั้น

สำหรับการแปลผล equilibrium test นั้น Schmitz และ O’Sullivan ได้แนะนำให้ใช้การแปลผลความสามารถที่ผู้ป่วยแสดงออกทั้ง static และ dynamic control ตามเกณฑ์การทดสอบ Functional balance grade โดย

เกณฑ์การประเมินการทรงตัวด้วย Functional balance grade

เกรด ลักษณะการทรงตัว
  Static balance
Normal (4) สามารถทรงตัวได้ดีและมั่นคงโดยไม่ต้องใช้มือและแขนช่วยพยุง
Good (3) สามารถทรงตัวได้โดยไม่ต้องใช้มือและแขนช่วยพยุงตนเองแต่ไม่มั่นคงนัก อาจพบการแกว่งของลำตัว (postural sway)
Fair (2) สามารถทรงตัวได้โดยอาศัยมอและแขนช่วยพยุง อาจต้องอาศัยการช่วยเหลือเล็กน้อย (minimal assisted)
Poor (1) ทรงตัวโดยใช้มือและแขนชาวยพยุงตนเอง และต้องอาศัยการช่วยเหลือระดับปานกลางถึงมาก (moderate to maximal assisted) จึงจะทรงตัวอยู่ได้
Absent (0) ไม่สามารถทรงตัวได้

 

เกรด ลักษณะการทรงตัว
  Dynamic balance
Normal (4) สามารถทรงตัวได้เมื่อมีการรบกวนสมดุลอย่างมาก สามารถถ่ายน้ำหนักได้ทุกทิศทางเต็มช่วงการเคลื่อนไหว
Good (3) สามารถทรงตัวได้เมื่อมีการรบกวนสมดุลระดับปานกลาง สามารถถ่ายน้ำหนักได้ แต่ไม่เต็มช่วงการเคลื่อนไหว และก้มเก็บของจากพื้นได้
Fair (2) สามารถทรงตัวได้เมื่อมีการรบกวนสมดุลระดับน้อย สามารถหันศีรษะหรือลำตัวได้
Poor (1) ไม่สามารถทรงตัวเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกาย
Absent (0) ไม่สามารถทรงตัวได้

 

อ้างอิง: O’Sullivan SB and Schmitz TJ. Physical Rehabilitation. 6th ed, F.A. Davis company, Philadelphia, 2014. p.222.

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top