การทดสอบ กำลังกล้ามเนื้อ (Manual Muscle test)
การทดสอบ กำลังกล้าม เนื้อด้วยมือ เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ตรวจประเมินกำลังหรือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีผู้คิดค้นและนำมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1912 และยังคงนิยมใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน ทั้งๆที่มีการผลิตเครื่องมือหลายชนิดขึ้นมาเพื่อทดแทน ทั้งนี้เพราะการใช้มือในการทดสอบจะสะดวก รวดเร็ว ทำได้บ่อยครั้งและประหยัด อีกทั้งสามารถใช้ทดสอบกล้ามเนื้อได้เกือบทุกมัดในสภาวะต่างๆ ซึ่งผลที่ได้ค่อนข้างแน่นอนแต่ทั้งนี้ผู้ทดสอบหรือนักกายภาพจะต้องมีความรู้ความชำนาญในระดับหนึ่ง
ขั้นตอนการทดสอบ
การทดสอ บกำลังกล้ามเนื้อ ด้วยมือจะได้ผลที่ถูกต้อง ผู้ทดสอบและผู้ถูกทดสอบจะต้องร่วมกันทำงานในส่วนของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
- ผู้ถูกทดสอบจะต้องไม่มีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นระหว่างการทดสอบ
- สภาพแวดล้อมขณะทดสอบ ควรเงียบสงบ ไม่มีสิ่งเร้า เช่น เสียงเพลง และอุณหภูมิห้องที่ไม่ร้อนหรือเย็นมากจนผู้ถูกทดสอบไม่รู้สึกสบสยตัว
- ความสูงของเตียงเหมาะสมที่ผู้ถูกทดสอบทำงานได้สะดวก โดยเฉพาะในขณะที่ให้แรงต้าน พื้นเตียงหรือเก้าอี้ต้องแข็งแรง และไม่มีแรงเสียดทานจนทำให้เกิดปัญหาขณะทดสอบ
- เลือกท่าตั้งต้นหรือท่าเตรียมที่เหมาะสมกับส่วนของร่างกายที่จะทดสอบ และต้องมั่นคงเพียงพอ โดยเฉพาะขณะเคลื่อนไหวสู้แรงต้าน
- ผู้ถูกทดสอบจะต้องอยู่ในท่าที่สบาย มีความมั่นคงเพียงพอ ไม่มีเสื้อผ้าปกปิดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อที่จะทดสอบ
การเคลื่อนไหวข้อต่อ ( Range of motion)
ก่อนการทดสอบ กำลังกล้ามเนื้อ ทุกครั้ง ควรปฎิบัติดังนี้
- ตรวจช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อที่ต้องการทดสอบ โดยให้ผู้ถูกทดสอบเคลื่อนไหวข้อต่อนั้นด้วยตนเอง ขณะเดียวกันผู้ทดสอบต้องสังเกตลักษณะการเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้นๆ ว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น การเคลื่อนไหวราบเรียบปกติ เร็วกว่าปกติ ไม่เป็นจังหวะ หรือมีอาการสั่นขณะเคลื่อนไหว
- ตรวจขนาดและลักษณะของกล้ามเนื้อ เปรียบเทียบทั้งซีกซ้ายและขวา สังเกตความผิดปกติในขนาดที่ไม่เท่ากัน ขนาดใหญ่กว่าปกติ กล้ามเนื้อลีบลงหรือกล้ามเนื้อมีอาการสั่นตลอดเวลา
- กรณีที่ผู้ถูกทดสอบไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อต่อได้ตลอดช่วงการเคลื่อนไหว หรือพบว่าข้อต่อยึดติดจากสาเหตุใดสาเหตุนึง เช่น ความเจ็บปวดจากปัญหาข้อเสื่อม หรือกล้ามเนื้อรอบข้อต่ออักเสบ ข้อต่อติดขัดจากการยึดรั้งหรือการบวม กล้ามเนื้อหดสั้น
- ถ้าข้อต่อมีความฝืดหรือติดขัดในขณะทำ Active ROM ควรตรวจแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อ โดยการเคลื่อนไหวข้อต่อนั้นตลอดช่วงการเคลื่อนไหว และพิจารณาปัญหาของกล้ามเนื้อว่ามี Spasticity, rigidity, hypotonia, hypertonia หรือไม่
แรงต้าน (Resistance)
ผู้ทดสอบจะให้แรงต้านด้วยมือที่ส่วนปลายสุดของข้อต่อที่จะทดสอบ ยกเว้นบางกรณีที่อาจให้แรงต้านคล่อมสองข้อ ต่อ เช่น การทดสอบกล้ามเนื้อข้อสะโพก อาจให้แรงด้านที่เหนือข้อเช่าหรือข้อเท้า แรงด้านที่ให้นี้จะให้ในทิศทางตรงข้าม กับการทำงานของกล้ามเนื้อหรือแนวแรงดึง (line of pull) ของกล้ามเนื้อ การให้แรงต้านทำได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
- Isotonic ใช้สำหรับการทดสอบกำลังกล้ามเนื้อด้วยมือทั่วไป จะให้แรงต้านเพื่อให้ข้อต่อเคลื่อนที่ได้ตลอดช่วงการเคลื่อนไหว
- Isometric ให้แรงต้านในลักษณะที่ข้อต่อไม่มีการเคลื่อนที่ หรือเมื่อต้องการทดสอบที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อ มักเลือกตำแหน่ง middle range ซึ่งเป็นตำแหน่งที่กล้ามเนื้อแข็งแรงมากที่สุด การทดสอบ ลักษณะนี้ เรียกว่า quick test ในกรณีที่จำเป็นต้องทดสอบบ่อยครั้งต้องการความรวดเร็วไม่ยุ่งยากและได้ผลแน่นอนมักจะเลือกให้แรงต้านในลักษณะ isometric
ระบบเกรด
การพิจารณาให้เกรดหรือค่ากำลังกล้ามเนื้อที่ทดสอบได้นั้น ผู้ทดสอบจะต้องมีความชำนาญเพียงพอในการประเมินค่าเกรดของกล้ามเนื้อปกติทั้งเพศชายและหญิง รวมทั้งในผู้ที่มีอายุแตกต่างกันซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมาก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในกลุ่มผู้อายุ เพศ รูปร่าง และอาชีพที่แตกต่างกันด้วย
ตารางแสดงนิยามและความหมายในการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อ
นิยาม | ความหมาย | MRC | Lovett | kendell |
ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ และคลำไม่พบการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ | ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ | 0 | Zero | 0% |
ไม่มีการเคลื่อนที่ของส่วนนั้นๆแต่คลำพบการหดตัวของกล้ามเนื้อเล็กน้อย | อ่อนแรงมากที่สุด | 1 | Trace | 20% |
เคลื่อนที่ได้โดยไม่มีแรงต้านจากแรงโน้มถ่วงโลก | อ่อนแรงมาก | 2 | Poor | 40% |
เคลื่อนที่ต้านแรงโน้มถ่วงโลกได้ตลอดช่วงการเคลื่อนไหว แต่ไม่สามารถต้านแรงจากผู้ทดสอบได้ |
อ่อนแรงปานกลาง |
3 |
Fair |
60% |
เคลื่อนที่ต้านแรงโน้มถ่วงโลกได้ตลอดช่วงการเคลื่อนไหว และสามารถต้านแรงจากผู้ทดสอบได้บ้าง |
อ่อนแรงเล็กน้อย |
4 |
Good |
80% |
แข็งแรงปกติ เคลื่อนที่ต้านแรงโน้มถ่วงโลกได้ตลอดช่วงการเคลื่อนไหวและสามารถต้านแรงจากผู้ทดสอบได้เต็มที่ตามกำลังกล้ามเนื้อปกติ |
แข็งแรงปกติ |
5 |
normal |
100% |
เกรดและความหมาย
5 |
Normal |
สามารถเคลื่อนข้อต่อได้ตลอดช่วงการเคลื่อนไหวต้านแรงโน้มถ่วงโลก และแรงต้านจากผู้ทดสอบได้เต็มที่ |
4 |
Good |
สามารถเคลื่อนข้อต่อได้ตลอดช่วงการเคลื่อนไหวต้านแรงโน้มถ่วง และแรงต้านจากผู้ทดสอบได้บาง |
3 |
Fair |
สามารถเคลื่อนข้อต่อได้ตลอดช่วงการเคลื่อนไหวต้านแรงโน้มถ่วง |
2 |
Poor |
สามารถเคลื่อนข้อต่อได้ตลอดช่วงการเคลื่อนไหว โดยปราศจากแรงโน้มถ่วงโลกและแรงต้านจากภายนอก |
1 |
Trace |
เห็นหรือคลำการหดตัวของกล้ามเนื้อได้ แต่ไม่มีการเคลื่อนที่ของข้อต่อ |
0 |
Zero |
กล้ามเนื้อไม่สามารถหดตัวได้ คลำไม่พบการเปลี่ยนแปลง |
การใส่ค่า +หรือ –
การใช้ + หรือ – เพื่อเพิ่มหรือลดค่าเกรดกล้ามเนื้อ ควรหลีกเลี่ยงไม่ใช้ ยกเว้นสองกรณี คือ เกรด 3+หรือ 2-
3+ หมายถึง สามารถเคลื่อนข้อต่อต้านแรงโน้มถ่วงโลกได้ตลอดช่วงการเคลื่อนไหวและสามารถต้านแรงจากผู้ทดสอบได้บ้าง
2- หมายถึง สามารถเคลื่อนข้อต่อในแนวระนาบได้ แต่ไม่ตลอดช่วงการเคลื่อนไหว
ยกตัวอย่างการทดสอบกำลังกล้ามเนื้อ Shoulder Abduction
( ROM : 0-180 องศา )
กล้ามเนื้อ : Deltoid, Supraspinatus
เกรด/ท่าผู้ถูกทดสอบ | ท่าผู้ทดสอบ
แรงต้าน/ทิศทาง |
คำสั่ง |
เกรด 5,4,3
นั่ง มือวางบนตัก |
เกรด 5,4
ยืนด้านหลังค่อนมาทางแขนที่จะทดสอบ มือหนึ่งตรึงเหนือกระดูกสะบัก มือหนึ่งให้แรงต้านเหนือข้อศอกเล็กน้อยในทิศทางกดดิ่งลง |
เกรด 5,4
กางแขนออกไปทางด้านข้าง คว่ำมือสูงระดับไหล่ ค้างไว้ อย่าให้กดลง |
เกรด 3
ไม่ต้องให้แรงต้าน |
เกรด 3
กางแขนออกไปทางด้านข้าง คว่ำมือสูงระดับไหล่ ค้างไว้ |
|
เกรด 2
นั่ง แขนอยู่ข้างลำตัว ข้อศอกงอเล็กน้อย หรือนอนหงายแขนกางออกประมาณ 90 องศา ข้อศอกงอเล็กน้อย มือคว่ำวางบนเตียง |
ยืนแขนข้างที่ทดสอบ คลำกล้ามเนื้อ Deltoid เหนือข้อไหล่ถัดจากปุ่มกระดูก Acromion ส่วนกล้ามเนื้อ Supraspinatus จะอยู่ค่อนข้างลึก กล้ามเนื้อ Trapezius บริเวณ Supraspinous fossa ของกระดูกสะบัก | พยายามกางแขนออกจากตัว ระวังการหมุนแขนออก |
เกรด 1,0
นั่งหรือนอนหงายแขนอยู่ข้างลำตัว |
ยืนด้านหลังแขนที่จะทดสอบ
กรณีนั่ง มือหนึ่งรอบรับแขนที่จะทดสอบกางประมาณ 90 องศา ขณะที่อีกมือหนึ่งคลำการทำงานของกล้ามเนื้อ ในกรณีนอนหงาย ให้แขนวางข้างลำตัว ข้อศอกงอเล็กน้อยและคลำกล้ามเนื้อ Deltoid ประมาณ 1/3 จากต้นแขนต่ำลงมาด้านนอก |
พยายามเกร็งแขนไว้อย่าให้ตกลง |
ยกตัวอย่างการทดสอบกำลังกล้ามเนื้อ Hip extension
( ROM : 0-20 องศา )
กล้ามเนื้อ : Gluteus maximus
เกรด/ท่าผู้ถูกทดสอบ | ท่าผู้ทดสอบ
แรงต้าน/ทิศทาง |
คำสั่ง |
เกรด 5,4,3
นอนคว่ำ ขาเหยียดตรง แขนยึดขอบเตียงไว้ |
ยืนด้านหลังที่จะทดสอบ ตรึงบริเวณสะโพกให้นิ่ง
เกรด 5,4 ให้แรงต้านในทิศทางดิ่งลงสู้พื้นบริเวณเหนือหลังข้อเท้าเล็กน้อยหรือเหนือข้อพับกรณีแขนผู้ถูกทดสอบยาวไม่พอ |
เกรด 5,4
ยกขาขึ้น ให้สูงที่สุดข้อเข่าเหยียดตรงต้านแรง |
เกรด 3
ไม่ต้องให้แรงต้าน |
เกรด 3
ยกขาให้สูงที่สุด |
|
เกรด 2
นอนตะแคง ขาล่างที่ไม่ต้องการทดสอบให้งอสะโพกและข้อเข่าเล็กน้อยเพื่อความมั่งคง |
ยืนข้างหลังขาที่จะทดสอบ
มือตรึงเหนือข้อสะโพกให้นิ่ง มือหนึ่งรองรับขาจากใต้ข้อเข่า ยกให้ลอยขนานกับลำตัว |
เหยียดขามาข้างหลังระวังให้เข่าตรง |
เกรด 1,0
นอนคว่ำ |
ยืนใกล้ขาที่จะทดสอบ
ใช้ปลายนิ้วกดคลำการทำงานของกล้ามเนื้อ hamstring ที่ ischial tuberosity กดคลำการทำงานของกล้ามเนื้อ Gluteus maximus บริเวณกึ่งกลางแก้มก้น |
พยายามยกขาขึ้นจากพื้น หรือ
บีบหรือขมิบแก้มก้นเข้าหากัน |
อ้างอิง
- การทดสอบกำลังกล้ามเนื้อด้วยมือ Manual muscle test คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล รศ. นวลอนงค์ ชัยปิยะพร