การประเมิน ความเสี่ยงของภาวะหกล้มด้วยวิธี Time up and go test

การประเมิน ความเสี่ยงของภาวะหกล้มด้วยวิธี Time up and go test

ปัจจุบันสังคมไทยเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งในประเทศไทยเรามีผู้สูงอายุเพิ่มมาขึ้นทุกๆปี ถ้าหากพูดถึงผู้สูงอายุภาพที่หลายๆท่านนึกออก ก็คือวัยที่ร่างกายที่ไม่แข็งแรงเหมือนตอนยังหนุ่ม สาว อาจจะมีโรคประจำตัว ต้องทานยาสม่ำเสมอซึ่งอาจจะส่งผลให้มีอาการง่วงซึมง่าย และผู้สูงอายุบางคนอาจจะออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ บางคนก็ออกวันละนิดวันละหน่อยหรือบางคนก็ไม่ได้ออกกำลังกายเลย นอกจากนี้ผู้สูงอายุบางคนมีโรคประจำตัว และมีความเสื่อมสภาพทางร่างกายตามอายุที่มากขึ้นเรื่อยๆเช่น กระดูกพรุน สายตายาวหรือพร่ามัว หรือมีโรคประจำตัวเช่น พาร์กินสัน ซึ่งทำให้มีอาการสั่นขณะเดิน ก้าวช้า มีอาการสั่น ทรงตัวไม่ได้ จากเมื่อก่อนเราสามารถคว้าและทรงตัวก่อนที่จะล้มได้ แต่ตอนนี้ไม่สามารถทำได้ ทรงตัวไม่ทัน เมื่อผู้สูงอายุเกิดการหกล้มอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้มากกว่าที่ท่านคิด บางคนอาจจะกระดูกแขนหัก สะโพกหัก ไปจนถึงถ้าหากล้มแล้วศีรษะฟาดพื้นอาจจะทำให้สมองเกิดการกระทบกระเทือน ไปจนถึงเลือดออกในสมองจนทำให้ร่างกายเป็นอัมพาตครึ่งซีก ไม่สามารถใช้งานร่างกายบางส่วนได้ ความคล่องตัวลดลง สามารถช่วยเหลือตนเองได้น้อยลง หรือมากไปจนถึงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมภายในบ้านของแต่ละคนก็อาจจะไม่เอื้ออำนวยต่อผู้สูงอายุ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นปัจจัยของการเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุทั้งสิ้น แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้สูงอายุในครอบครัวเรา เสี่ยงต่อการหกล้มมากแค่ไหน วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ TUG หรือ Time up and Go test ที่ใช้ในการประเมินการเสี่ยงล้มของผู้สูงอายุไปพร้อมกันครับ

TUG หรือ Time up and go test คือประเมินปัจจัยเสี่ยงการล้มด้านความสามารถในการทรงตัวขณะเดิน ซึ่งวิธีที่ใช้ในการทดสอบก็คือ วางเก้าอี้ที่มีที่ท้าวแขนที่จุดตั้งต้น วัดระยะทาง 3 เมตร ทำเครื่องหมายบนพื้น บอกให้ผู้สูงอายุทราบว่า     เมื่อเริ่มจับเวลาให้ลุกขึ้นจากเก้าอี้แล้วเดินเป็นเส้นตรงด้วยความเร็วปกติ (สามารถใช้อุปกรณ์ช่วยเดินที่ใช้ประจำได้)          เมื่อเดินถึงระยะทางที่กำหนดให้หมุนตัวและเดินกลับมานั่งที่เดิม

เมื่อทำการทดสอบเสร็จแล้วเราก็จะทำการแปลผล โดยเกณฑ์การประเมินและการแปลผลมีดังนี้

ใช้เวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 วินาที หมายถึง ปกติ ไม่มีภาวะการเสี่ยงล้ม

ใช้เวลา 11 – 20 วินาที หมายถึง มีภาวะเสี่ยงต่อการล้มปานกลาง

ใช้เวลามากกว่า 20 วินาที หมายถึง มีภาวะเสี่ยงต่อการล้มสูง

นี่ก็คือหนึ่งในแบบการประเมินภาวการณ์เสี่ยงล้มขณะเดินของผู้สูงอายุ ทุกท่านลองนำไปทดสอบกับผู้สูงอายุที่บ้านดูนะครับว่า ผู้สูงอายุที่บ้านมีภาวะเสี่ยงต่อการล้มหรือไม่ นอกจากนี้แล้วการดูแลตนเองในช่วงสูงอายุก็สำคัญเช่นกัน ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้มากๆและควรออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อความแข็งแรง แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการกระแทกแรงๆเช่นการกระโดด หรือการทำอะไรที่เร็วเกินไป ขาดความระมัดระวัง เพราะอาจจะทำให้หกล้มและเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้ ถ้าหากหกล้มแล้วกระดูกหักอาจจะทำให้การฟื้นตัวช้าและยังต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาผ่าตัด ฟื้นฟู และไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เองอย่างสะดวกและคล่องแคล่วได้ด้วยตนเองอีกด้วย เพราะฉะนั้นเราควรระมัดระวังและใส่ใจดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุกันอย่างถูกต้องเพื่อสุขภาพใจและสุขภาพกายที่ดีต่อไป

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

อ้างอิง

1.มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด. เช็คเบื้องต้นเสี่ยงล้มหรือไม่ ( 10 เมษายน 2024 )

  1. สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข

แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ 2562

  1. คณะกรรมการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข

คู่มือคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ.2564

Assessing the risk of falling with the Time up and go test

Currently, Thai society is entering the aging society. In Thailand, the number of elderly people increases every year. When talking about the elderly, the image that many people think of is the age when their bodies are not as strong as when they were young. They may have underlying diseases and have to take medication regularly, which may cause them to be drowsy easily.

Some elderly people may exercise regularly, some may exercise a little every day, or some may not exercise at all. In addition, some elderly people have underlying diseases and physical deterioration with increasing age, such as osteoporosis, farsightedness or blurred vision, or have underlying diseases such as Parkinson’s, which cause them to tremble while walking, walk slowly, tremble, and lose balance. In the past, we were able to grab and balance ourselves before falling, but now we can’t. We can’t balance ourselves in time. When the elderly fall, it can be more dangerous than you think. Some people may break their arms or hips, or if they fall and hit their head on the floor, it may cause brain concussion, or even brain hemorrhage, causing hemiplegia, unable to use some parts of their body, reduced mobility, less or no self-help, including the environment in each person’s home may not be conducive to the elderly. All of these are factors that increase the risk of falling in the elderly.

So how do we know how much the elderly in our family are at risk of falling? Today, let’s get to know the TUG or Time up and Go test, which is used to assess the risk of falling in the elderly together.

The TUG or Time up and Go test is an assessment of risk factors for falling in terms of balance while walking. The method used for testing is to place a chair with armrests at the starting point, measure a distance of 3 meters, make a mark on the floor, and tell the elderly that when the timer starts, they should get up from the chair and walk in a straight line at a normal speed (they can use their usual walking aid). When they have walked the specified distance, they turn around and walk back to their original seat.

โทร.
Scroll to Top