การ ประเมิน ความสามารถของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วย STREAM

การ ประเมิน ความสามารถของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วย STREAM

STREAM หรือ Stroke Rehabilitation Assessment of Movement เป็นแบบ ประเมิน ที่พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1986 โดยคณะผ็วิจัยและนักกายภาพบำบัดจากโรงพยาบาล Jewish Rehabilitation Hospital ประเทศแคนนาดา เพื่อนำไปใช้ในการประเมินการเคลื่อนไหว หรือการฟื้นฟูสภาพการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยฌรคหลอดเลือดสมองหรือผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ประกอบด้วยการประเมิน 3 ด้าน คือ

  1. การเคลื่อนไหวของรยางค์แขน (upper extremity movement) 20 คะแนน
  2. การเคลื่อนไหวของรยางค์ขา (lower extremity movement) 20 คะแนน
  3. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน (basic mobility) 30 คะแนน

โดยแต่ละด้านของการ ประเมิน ประกอบด้วยการประเมินด้านละ 10 หัวข้อ รวมเป็น 30 หัวข้อ เกณฑ์การประเมินในส่วนของ limb movement แบ่งเป็นระดับ 0, 1 และ 2 ส่วน basic mobility แบ่งเป็นระดับ 0, 1, 2 และ 3 รวมคะแนนทั้งหมดเป็น 70 คะแนน และคำนวณออกมาเป็นร้อยละ

ปัจจุบันมีผู้แปลแบบประเมิน STREAM เป็นภาษาไทย ทำให้ STREAM เป็นแบบประเมินมาตรฐานที่มีความน่าเชื่อถือและมีความเที่ยงตรงที่จะสามารถนำไปใช้ได้ง่ายในทางคลินิกรวมถึงใช้อุปกรณ์ในกระประเมินน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินที่ครอบคลุมทั้งการเคลื่อนไหวของรยางค์แขน รยางค์ขา และการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการค้นหาปัญหาของผู้ป่วย การวางแผนการรักษาที่เหมาะสม และการติดตามอาการของผู้ป่วยได้อย่างชัดเจน รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างนักกายภาพบำบัดและบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจที่ตรงกัน

นอกจากนี้แบบประเมิน STREAM เป็นแบบประเมินที่ใช้เวลาในการประเมินเพียง 15 นาทีและสามารถนำไปใช้ในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 18-64 ปี และวัยผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป โดยแบบประเมิน STREAM จัดอยู่ใน ICF model ในองค์ประกอบส่วน body structure/function และ activity เมื่อประเมินด้านการเคลื่อนไหวของรยางค์แขน-ขา และการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ตามลำดับ

คำแนะนำทั่วไปสำหรับการทดสอบ

  1. ผู้ป่วยควรอยู่ในภาวะที่มีความสนใจเพียงพอ และสภาพร่างกายพร้อมสำหรับการประเมิน
  2. ผู้ป่วยควรสวมเสื้อผ้าที่ไม่จำกัดการเคลื่อนไหว และช่วยให้ผู้ประเมินสามารถสังเกตการเคลื่อนไหวได้ชัดเจน คววรสวมรองเท้าที่ใส่สบาย หรือรองเท้าที่ใส่เป็นประจำขณะที่ทำการทดสอบในท่ายืน เดิน
  3. การให้คำสั่ง ควรสั่งออกเสียง สาธิตการเคลื่อนไหว และพูดซ้ำได้ตามความจำเป็น สำหรับข้อที่เป็นการทดสอบการเคลื่อนไหวของรยางค์ บอกให้ผู้ป่วยทำการเคลื่อนไหวด้วยข้างที่มีแรงก่อน เพื่อประเมินความเข้าใจ สังเกตช่วงการเคลื่อนไหว และรูปแบบการเคลื่อนไหวของข้างที่มีแรง
  4. หากผู้ป่วยมีการทรงตัวในท่านั่งไม่ดี อาจให้ผู้ป่วยนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงสำหรับการทดสอบในท่านั่ง
  5. ผู้ประเมินอาจช่วยผู้ป่วยให้ยืนอยู่ได้ ขณะทำการทดสอบ สามารถช่วยให้ความมั่นคงที่แขนขณะทดสอบ และที่เท้าขณะทดสอบ
  6. ผู้ประเมินสามารถจัดท่าเรื่มต้นในการทดสอบให้ผู้ป่วยได้ (starting position) แต่ไม่ใช้มือช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวขณะทดสอบ ในการทดสอบความสารถของการเคลื่อนไหว หากผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการจับพยุง หรือช่วยเหลือบางส่วน ผู้ป่วยจะได้คะแนน 1a หรือ 1b
  7. หากจำเป็น การทดสอบในแต่ละข้อ อนุญาตให้ผู้ป่วยพยายามได้ 3 ครั้ง โดยบันทึกคะแนนครั้งที่ดีที่สุด
  8. การทดสอบควรเรียงตามลำดับหัวข้อของแบบประเมิน
  9. ผู้ประเมินนับด้วยอัตราเร็วที่ทำให้ การนับ 20 ครั้งเท้ากับเวลา 20 วินาที เช่น นับเป็นจังหวะ 1-1000, 2-1000, 3-1000, ….., 20-1000 โดยควรลองฝึกนับและจับเวลาหลายๆ ครั้งก่อนการประเมิน
  10. หากไม่สามารถประเมินได้เสร็จไม่ว่าด้วยเหตุผลใด สามารถประเมินข้อที่เหลือต่อได้ภายใน 24 ชั่วโมง แต่หากเกิน 24 ชั่วโมงไปแล้ว ควรเริ่มประเมินผู้ป่วยใหม่ตั้งแต่แรก
  11. หากผู้ป่วยมีการจำกัดการเคลื่อนไหวอย่างมากหรือมีอาการปวด ไม่ควรประเมินในข้อนั้น (ให้คะแนนเป็น x) และระบุเหตุผลที่ไม่สามารถประเมินได้ เช่น จำกัดช่วงการเคลื่อนไหว มีอาการปวด หรืออื่นๆ
  12. ควรเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการประเมินให้พร้อม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกณฑ์การให้คะแนน (STREAM scoring)

  1. การเคลื่อนไหวของรยางค์ (voluntary movement of the limbs)
คะแนน เกณฑ์การให้คะแนน
0 ไม่สามารถทำการเคลื่อนไหวที่ทดสอบได้แม้เพียงช่วงเล็กน้อย (รวมการขยับ การเคลื่อนไหวเล็กๆ น้อยๆ)
1 1a – สามารถทำการเคลื่อนไหวนั้นได้เพียงบางส่วน และการเคลื่อนไหวนั้นมีการเบี่ยงเบนไปจากรูปแบบการเคลื่อนไหวปกติอย่างมาก
1b – สามารถทำการเคลื่อนไหวนั้นได้เพียงบางส่วน แต่ลักษณะการเคลือ่นไหวไม่แตกต่างจากข้างปกติ
1c – สามารถทำการเคลื่อนไหวนั้นได้สำเร็จ แต่การเคลื่อนไหวนั้นมีการเบี่ยงเบนไปจากรูปแบบการเคลื่อนไหวปกติอย่างมาก
2 สามารถทำการเคลื่อนไหวนั้นได้สำเร็จ โดยมีลักษณะใกล้เคียงกับข้างปกติ
3 ไม่ได้ทำการทดสอบ (ระบุเหตุผล: = ช่วงการเคลื่อนไหว อาการปวด หรือเหตุผลอื่น)

 

  1. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน (basic mobility)
คะแนน เกณฑ์การให้คะแนน
0 ไม่สามารถทำกิจกรรมที่ทดสอบได้แม้เพียงเล็กน้อย (ทำได้เองน้อยมาก)
1 1a – สามารถทำกิจกรรมได้เองโดยอิสระเพียงบางส่วน (ต้องอาศัยความช่วยเหลือ หรือให้ความมั่นคง จึงจะทำได้สำเร็จ) ทั้งนี้อาจใช้หรือไม่ใช้เครื่องช่วย และลักษณะของกิจกรรมนั้นมีการเบี่ยงเบนไปจากรูปแบบปกติอย่างมาก
1b – สามารถทำกิจกรรมได้เองโดยอิสระเพียงบางส่วน (ต้องอาศัยความช่วยเหลือ หรือให้ความมั่นคง จึงจะทำได้สำเร็จ) ทั้งนี้อาจใช้หรือไม่ใช้เครื่องช่วย แต่ลักษณะของกิจกรรมนั้นโดยรวมแล้วมีรูปแบบปกติ
1c – สามารถทำกิจกรรมนั้นได้สำเร็จด้วยตนเองโดยอิสระ ทั้งนี้อาจใช้หรือไม่ใช้เครื่องช่วย แต่ลักษณะของกิจกรรมนั้นมีการเบี่ยงเบนไปจากรูปแบบปกติอย่างมาก
2 สามารถทำกิจกรรมนั้นได้สำเร็จด้วยตนเองโดยอิสระ ลักษณะของกิจกรรมนั้นโดยรวมแล้วมีรูปแบบปกติ แต่ยังต้องอาศัยเครื่องช่วย
3 ไม่ได้ทำการทดสอบ (ระบุเหตุผล: = ช่วงการเคลื่อนไหว อาการปวด หรือเหตุผลอื่น)

 

อ้างอิง: หนังสือการจัดการทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยระบบประสาท โดย อ.ดร.สุภาณี ชวนเชย

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top