กิน อย่างไรให้ห่างไกลหลอดเลือดสมอง
การ กิน เป็นปัจจัยหนึ่งของ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ซึ่งสามารถเกิดได้กับบุคคลทั่วไป โดยมีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้อยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นจากการสูบบุหรี่ พันธุกรรม หรือแม้กระทั่งการกินอาหารหรือโภชนาการต่างๆ วันนี้จึงมีเกร็ดความรู้ในเรื่องของการกินอาหาร เพื่อลดปัจจัยในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ
พฤติกรรมการบริโภคอาหารหมายถึงการรับประทานอาหารซึ่งประกอบไปด้วย ชนิด ความถี่ ปริมาณและลักษณะอาหารที่บริโภค ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองควรบริโภคอาหารให้ครบ 5หมู่และหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง จากการศึกษางานวิจัย พบว่าในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองและรับประทานอาหารชนิดที่มีไขมันสูงจะเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำได้ง่าย
โดยปกติแล้วผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน ดังนั้นควรควบคุมการกินอาหาร
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคซ้ำดังนี้
1.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ซุปก้อน ผงชูรส อาหารหมักดอง อาหารแปรรูป
2.ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงหรือลดอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันหมู น้ำมันไก่ น้ำมันมะพร้าว กะทิ หมูสามชั้น และควรจำกัดปริมาณ คลอเลสเตอรอล โดยหลีกเลี่ยงการกินเครื่องในสัตว์ทุกชนิด หลีกเลี่ยงอาหารทะเล เช่น ปลาหมึก กุ้ง หอยนางรม รับประทานไข่แดงไม่เกินสัปดาห์ละ 1-2 ฟอง เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้ออกไก่ เต้าหู้ เลือกดื่มนมที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ จำพวก เนยเทียม เนยขาว เลือกวิธีการปรุงอาหารที่ไม่ใช้น้ำมันหรือใช้น้ำมันน้อย เช่น ต้ม ย่าง อบ แทนการทอด ผัด ควรเลือกใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันสัตว์ เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ไม่หวาน ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท เนื่องจากใยอาหารจะช่วยลดการดูดซึมไขมันได้
3.ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือเบาหวาน ควรจำกัดปริมาณอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล เลือกรับประทานข้าวไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ บริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา/วัน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ รวมทั้งหลีกเลี่ยงของหวานต่างๆ และ ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน น้อยหน่า รวมทั้งน้ำผลไม้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีภาวะการกลืนลำบาก มีปัญหาการเคี้ยว การกลืน ควรเป็นอาหารที่มีกากน้อย หรือดัดแปลงอาหารโดยการปั่น เช่น โจ๊กข้นๆ ไข่ตุ๋น เยลลี่ สังขยา ฟักทองบดซุปข้นปั่น เป็นต้น
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าการบริโภคอาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อภาวะโภชนาการของร่างกาย
ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ และจะเห็นได้ว่ามีปัจจัยมากมายที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ แต่เนื่องจากปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารเป็นปัจจัยที่สามารถจัดการและเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตัวผู้ป่วยเองและมีผลต่อภาวะโภชนาการโดยตรงดังนั้นหากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีจะส่งผลให้มีภาวะโภชนาการที่ดีและสามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและป้องกันการเกิดซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองได้
How to eat away from the blood vessels of the brain
Eating is one of the factors cerebrovascular disease It is a disease that is common nowadays. which can happen to the general public There are many factors that cause this disease. Whether it’s from smoking, genetics, or even food or nutrition. Today we have a bit of knowledge in terms of eating food. to reduce the risk factors for stroke and to prevent recurrence of stroke
Dietary behavior refers to food intake that includes the type, frequency, quantity and nature of food consumed. Stroke patients should consume a complete diet. 5 groups and avoid food that is a risk factor for stroke from research studies It was found that patients who had a stroke and ate a high-fat diet were more prone to recurrent strokes.
Usually, stroke patients have risk factors for developing high blood pressure. High blood fat and diabetes, so should control food intake.
อ้างอิง
1. สุชารินี ศรีสวัสดิ์, ทศพร คำผลศิริ, ศิริรัตน์ ปานอุทัย.พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง Food Consumption Behaviors and Nutritional Status in Older Persons with Stroke. 2564(1), 54-57.