ข้อเสื่อม…ปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ดูแลได้ก่อนสายเกินไป
โรค ข้อเสื่อม สามารถพบได้ทุกวัย แต่พบในผู้สูงอายุได้บ่อยกว่ามาก จากการศึกษาพบว่าผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี ตรวจพบลักษณะ ข้อเสื่อม จากภาพถ่ายรังสีได้ร้อยละ 70 แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่มีอาการผิดปกติ โรค ข้อเสื่อม พบในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชายโดยเฉพาะ เข่าเสื่อม และข้อนิ้วมือเสื่อม
โรคข้อเสื่อมถือเป็นโรคที่พบบ่อย และสร้างปัญหาให้กับผู้สูงวัยในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยโรคข้อเสื่อมพบในตำแหน่งของข้อที่รับน้ำหนักมาก คือ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้นสาเหตุของโรคข้อเสื่อมเกิดจากการใช้ของอวัยวะนั้นๆ เป้นเวลานาน การใช้งานอย่างหนัก และด้วยอายุที่มากขึ้นก็เป็นตัวแปร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวข้อกระดูกเสื่อมซึ่งมักจะเกิดร่วมกับอาการข้ออักเสบด้วย
อาการ ข้อเสื่อม
– ในระยะแรกอาจมีการขัดหรือฝืดในข้อเป็นครั้งคราวหากมีการอยู่นิ่งเป็นเวลานาน บางรายอาจมีอาการเจ็บปวดร่วมอยู่ด้วย ซึ่งการเจ็บปวดบริเวณข้อเหล่านี้ อาจสัมพัน์กับการทำกิจกรรม เช่น การขึ้นลงบันได นั่งยอง
– ไม่สามารถขยับเข่าหรือเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่ อาจเหยียดหรืองอเข่าได้ไม่สุด รู้สึกตึงข้อ และมีอาการข้อติดขัด ไม่คล่องแคล่ว
– ในระยะสุดท้ายของโรค ขาของผู้ป่วยเริ่มมีการผิดรูป และมีอาการเจ็บปวด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยโรคข้อเเสื่อมเดินไม่ได้ผู้ป่วยอาจมีอาการขัดในข้อ ข้อยึด ขยับลำบาก โดยมักเป็นขณะนั่ง หรือนอนกับที่เป็นเวลานาน ๆ แต่เมื่อขยับข้อระยะหนึ่งจะรู้สึกคล่องขึ้น หากปล่อยไว้นานไม่ทำการรักษา อาจจะรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถเดินได้
แนวทางการรักษาข้อเสื่อม
การรักษาข้อเสื่อมด้วยตนเอง เหมาะกับคนที่อาการของโรคอยู่ในระยะเริ่มต้นถึงปานกลาง อาการไม่รุนแรง ยังไม่เจ็บปวดจากการเคลื่อนไหว หรือการใช้งานข้อต่างๆ เช่นข้อเข่าเสื่อม จนกระทบกระเทือนการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก
- การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน พบว่ายิ่งน้ำหนักตัวน้อยลง 5% จากช่วงที่มีอาการปวดเข่า ก็จะช่วยให้อาการปวดเข่าดีขึ้นได้
- หลีกเลี่ยงการใช้งานหัวเข่าที่หนักหนาเกินไป เช่น ไม่นั่งคุกเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ เพราะการงอเข่าจะทำให้แรงดันในหัวเข่ามากขึ้น และเกิดความเสียหายต่อผิวข้อกระดูกอ่อนมากขึ้นด้วย
- ไม่ยกของหนัก หรือหิ้วของหนักๆ เป็นเวลานาน เพราะการเพิ่มน้ำหนักจะส่งผลต่อหัวเข่าที่ต้องรับน้ำหนักมากขึ้นตามไปด้วย
- กายภาพบำบัด และการออกกำลังกาย การกายภาพบำบัดและออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างและฟื้นฟูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ยกตัวอย่างเช่น ข้อเข่า การออกกำลังกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อหัวเข่า คือการพุ่งประเด็นไปที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า(Quadriceps) และต้นขาด้านหลัง (Hamstring) ซึ่งจะช่วยให้การพยุงและรับน้ำหนักตัว แบ่งเบาน้ำหนักที่ถ่ายลงมาที่ข้อเข่า พบว่าการออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขา ช่วยให้อาการปวดหัวเข่าดีขึ้นได้ชัดเจน และป้องกันอาการปวดเข่าในระยะยาวอีกด้วย 2.1. การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขา (quadriceps/knee extensor strengthening exercise)
-การนั่งเก้าอี้ แล้วเหยียดขาค้างไว้ 10-15 วินาที 8-12 ครั้ง/เซ็ตทำ 3 รอบ
2.2.ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านหลัง (Hamstring)
– ยืนตรงให้เอามือจับเก้าอี้ให้ลำตัวตั้งตรงและมั่นคง เตะเข่างอเข่ามาทางด้านหลังอย่างช้าๆ ทำ10 ครั้ง/เซต 3 รอบ
- สำหรับผู้สูงอายุ การออกกำลังกายที่ง่ายและเหมาะสมที่สุดคือการเดินพื้นราบ ในความเร็วและระยะเวลาที่ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บเข่า อาจเดินบนเครื่องเดินออกกำลังกาย หรือ เดินบนพื้นปกติก็ได้ และอาจต้องสังเกตว่าถ้าเดินได้ระยะเวลาเท่าใดแล้วเริ่มมีอาการเจ็บเข่า แสดงว่าเป็นระยะเวลาที่มากเกินไป ซึ่งควรปรับลดระยะเวลาเดินให้น้อยลง หรือ เปลี่ยนไปเดินบนพื้นหญ้าที่อ่อนนุ่มขึ้นเพื่อช่วยลดแรงกระแทกต่อข้อเข่า
อ้างอิงจาก คณะแพทย์โรงพยาบาลมหิดล./P(2022)/โรคข้อเข่าเสื่อม/สาระน่ารู้/หน้าที่1/https://www.rama.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/05272020-1112
Degenerative joints… an inevitable problem But take care of it before it’s too late.
Osteoarthritis can be found at any age. But found in the elderly much more often. From the study, it was found that 70% of people over 50 years old could detect degenerative features on radiographs, but only half of them had abnormal symptoms. Osteoarthritis is more common in females than males, especially osteoarthritis of the knee and knuckle joints.
Osteoarthritis is a common disease. and create problems for the elderly in daily life Osteoarthritis is found in the joints that bear a lot of weight, such as knee joints, hip joints, and spinal joints. etc. The cause of osteoarthritis is caused by the use of that organ for a long time, hard use. And with increasing age is also a variable. This causes degenerative changes in the joint surface, which often occur with arthritis symptoms.
symptom
– In the early stages, there may be some friction or stiffness in the joints from time to time if staying still for a long time. Some may have pain associated with it. which the pain in these joints May be associated with activities such as going up and down stairs, squatting
– Unable to move knees or move fully may not extend or bend the knee fully, feel stiffness in the joints, and have stiffness in the joints not fluent
– in the final stages of the disease The patient’s legs were deformed. and have pain which is the main reason why patients with osteoarthritis cannot walk Or lie down for a long time, but when moving the joints for a while, you will feel more fluent. If left for a long time without treatment May be severe to the point of being unable to walk.
Degenerative treatment guidelines
self-treatment Suitable for people whose symptoms are in the early to moderate stages. mild symptoms still no pain from movement or the use of various such as osteoarthritis Until affecting the daily life a lot
1. Modification of lifestyle behavior
control body weight within the standard It was found that the more weight was reduced by 5% from the period of knee pain. It will help improve knee pain.
Avoid using the knees that are too heavy, such as not kneeling, cross-legged, cross-legged, because bent knees will increase the pressure on the knees. and more damage to the articular cartilage
Do not lift heavy objects or carry heavy objects for a long time because increasing the weight will affect the knees that have to bear more weight as well.
2. Physical therapy and exercise physical therapy and exercise To strengthen and restore muscle strength For example, knee joints, exercises to exercise the knee muscles. Is to focus on the muscles of the front thigh (Quadriceps) and the back of the thigh (Hamstring), which will help support and bear body weight. Lighten the weight that is transferred to the knee joint. It was found that exercising the thigh muscles It clearly helps to improve knee pain. and prevent long-term knee pain as well
1. Increasing the strength of the hamstrings (quadriceps/knee extensor strengthening exercise)
– sitting in a chair Then straighten the legs and hold for 10-15 seconds, 8-12 times / set, do 3 rounds.
2. Thigh muscle exercise posture in the back (Hamstring) – Stand straight, put your hand on the chair to keep the body straight and stable. Kick the knees, bend the knees back slowly, do 10 times/set, 3 rounds.
for the elderly The easiest and most suitable exercise is walking on level ground. in speed and duration that does not cause knee pain May walk on a treadmill or walk on a normal floor. And may have to notice that if you can walk for a long time and start having knee pain Shows that it is too long. Which should reduce the walking time or change to walk on softer grass to help reduce the impact on the knee joints