การตรวจประเมิน ภาวะเกร็ง ของกล้ามเนื้อโดยใช้ Modified Ashworth scale (MAS)
การเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทสั่งการ (Upper motor neuron syndrome) ทำให้กล้ามเนื้อทำงานมากกว่าปกติ เกิดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ(Muscle tone) ที่เพิ่มมากขึ้น การตรวจประเมินผู้ป่วยก่อนการรักษาจึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญในการกายภาพบำบัด เพื่อที่จะสามารถวางแผนการรักษาได้แบบรายบุคคล สำหรับ วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับแบบประเมินภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งที่ใช้กันในกลุ่มนักกายภาพบำบัด นั้นคือเกณฑ์การประเมิน Modified Ashworth scale (MAS)
โดยวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการตอบสนองของกล้ามเนื้อเมื่อถูกยืดออก ถ้าผู้ป่วยมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติจะส่งผลให้การเคลื่อนไหวข้อต่อทำได้ยาก และพบแรงต้านในระหว่างการเคลื่อนไหว ในกรณีที่ความตึงตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ
สำหรับวิธีการตรวจ 1) ผู้ตรวจต้องจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าผ่อนคลาย
2) ผู้ตรวจจับที่บริเวณข้อต่อหลีกเลี่ยงการจับที่กล้ามเนื้อเพราะจะส่งผลต่อความตึงตัวของ
กล้ามเนื้อที่เพิ่มมากขึ้นจากแรงสัมผัส
3) ทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในทิศตรงกันข้ามกับกลุ่มกล้ามเนื้อที่ต้องการประเมิน
ยกตัวอย่างท่าตรวจความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
กล้ามเนื้องอข้อศอก
ท่าเริ่มต้น: ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย หงายฝ่ามือ และงอศอกขึ้นมาให้สุด
ผู้ตรวจจับบริเวณข้อมือ และใต้ข้อศอก
ท่าตรวจ: มือที่จับใต้ข้อศอกให้อยู่นิ่ง และออกแรงที่ข้อมือพาข้อศอกเหยียดออกจนสุด
กล้ามเนื้อหมุนแขนออก
ท่าเริ่มต้น: ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย งอศอกขึ้นให้ตั้งฉากกับพื้น หันฝ่ามือเข้าด้านในลำตัว
ผู้ตรวจจับบริเวณข้อมือ และใต้ข้อศอก
ท่าตรวจ: มือที่จับใต้ข้อศอกให้อยู่นิ่งคุมไม่ให้ศอกกางออก และออกแรงที่ข้อมือพาแขนหมุนออกด้านนอก
กล้ามเนื้อหมุนขาเข้า
ท่าเริ่มต้น: ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ตั้งเท้าให้ตรงตั้งฉากกับพื้น
ผู้ตรวจจับบริเวณข้อเท้า และใต้ข้อเข่า
ท่าตรวจ: มือที่จับใต้ข้อเข่าให้ประคองไว้ไม่ให้กางออก และออกแรงที่ข้อเท้าพาขาหมุนออกด้านนอกให้หลังเท้าสัมผัสพื้น
กล้ามเนื้อหุบขาเข้า
ท่าเริ่มต้น: ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย หมุนปลายเท้าออกเล็กน้อย
ผู้ตรวจจับบริเวณข้อเท้า และใต้ข้อเข่า
ท่าตรวจ: ให้พาขากางออกด้านข้างจนสุดช่วง
กล้ามเนื้อถีบปลายเท้า
ท่าเริ่มต้น: ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ตั้งเท้าให้ตรงตั้งฉากกับพื้น
ผู้ตรวจจับบริเวณหน้าข้อเข่า และบริเวณส้นเท้า
ท่าตรวจ: มือที่จับหน้าข้อเข่าให้อยู่นิ่ง และออกแรงที่ข้อเท้าพาข้อเท้ากระดกขึ้นจนสุด
เกณฑ์การประเมินความตึงตัวของกล้ามเนื้อโดยใช้ Modified Ashworth scale (MAS)
ระดับ 0 คือ ไม่มีแรงต้าน เคลื่อนไหวได้อิสระ
ระดับ 1 คือ มีแรงต้านเพิ่มขึ้น ช่วงท้ายของการเคลื่อนไหว
ระดับ 1+ คือ มีแรงต้านเพิ่มขึ้น ช่วงเริ่มต้นจนถึงช่วงกลางของการเคลื่อนไหว
ระดับ 2 คือ มีแรงต้านเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ถึงช่วงท้าย
ระดับ 3 คือ มีแรงต้านเพิ่มขึ้น ตลอดการเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวได้ยาก
ระดับ 4 คือ ข้อแข็งติดอยู่ในท่างอหรือเหยียด เคลื่อนไหวยาก ไปได้ไม่สุดช่วง
การตรวจประเมินความตึงตัวของกล้ามเนื้อต้องอาศัยให้ผู้อื่นเป็นคนทำให้ ผู้ประเมินควรตรวจทุก ส่วนของร่างกาย และเปรียบเทียบระหว่างรยางค์แขนและขา ข้างซ้ายและขวาเสมอ เนื่องจากผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาทจะพบความแตกต่างระหว่างความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
หากตรวจพบว่าผู้ป่วยมีภาวะเกร็งสามารถทำกายภาพบำบัดเบื้องต้นได้ดังนี้
1) จัดท่าทางให้ตรงข้ามกับท่าที่เกร็ง เช่นศอกติดอยู่ในท่างอ ก็ควรจัดท่าให้ศอกเหยียดออกเสมอ
2) ยืดกล้ามเนื้อให้บ่อยขึ้น ขณะยืดควรยืดค้างไว้ 15-20 วินาทีต่อครั้ง
3) ประคบร้อน เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
ภาวะเกร็งของกล้ามเนื้อพบได้บ่อยๆในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเคลื่อนไหวทำให้ระดับความสามารถของผู้ป่วยลดลง ดังนั้นหากตรวจพบภาวะเกร็งของกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ควรรีบหาทางจัดการทันที เพราะหากปล่อยไว้อาจส่งผลให้เกิดข้อติด หรือกล้ามเนื้อหดสั้นตามมาได้
Reference
ผกามาศ พิริยะประสาธน์,บทความวิชาการ เรื่อง เครื่องมือประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Stroke AssessmentTools
Assessment of muscle spasticity using the Modified Ashworth scale (MAS)
Muscle spasticity is a common condition in stroke patients. It is caused by abnormalities in the motor nervous system (Upper motor neuron syndrome), causing muscles to work more than normal, resulting in increased muscle tone. Therefore, pre-treatment assessment of patients is an important step in physical therapy in order to be able to plan individual treatment. Today, we will introduce everyone to the assessment of muscle spasticity used by physical therapists, which is the Modified Ashworth scale (MAS) assessment criteria.
The purpose is to assess the response of muscles when stretched. If the patient has abnormal muscle tension, it will make it difficult to move the joints and find resistance during movement. In cases where the tension is higher than normal
For the examination method 1) The examiner must place the patient in a relaxed position
2) The examiner at the joint avoids touching the muscles because it will affect the tension of
3) The muscles that are increased by contact force
3) Move the joint in the opposite direction of the muscle group to be assessed.
Examples of muscle tension testing positions commonly found in stroke patients:
Elbow flexors
Starting position: The patient lies supine, palms facing upwards, and elbows fully flexed.
Examiner at the wrist and below the elbow
Testing position: The hand holding the elbow remains still, and the wrist is used to extend the elbow fully.
External rotators
Starting position: The patient lies supine, elbows bent up perpendicular to the floor, and palms facing inward.
Examiner at the wrist and below the elbow
Testing position: The hand holding the elbow remains still, preventing the elbow from spreading, and the wrist is used to rotate the arm outward.
Leg rotators
Starting position: The patient lies supine Feet straight and perpendicular to the floor
Examiner at the ankle and below the knee
Examination position: The hand holding the knee joint should be held still and the ankle should be used to rotate the leg outward until the instep touches the floor
Leg abductor
Starting position: The patient is lying on his back with the toes slightly rotated outward
Examiner at the ankle and below the knee
Examination position: The leg should be spread out to the side as far as it can go
Leg kicker
Starting position: The patient is lying on his back with the feet straight and perpendicular to the floor
Examiner at the front of the knee joint and the heel
Examination position: The hand holding the front of the knee joint should be still and the ankle should be used to flex the ankle as far as it can go
Muscle tension assessment criteria using the Modified Ashworth scale (MAS)
Level 0 means no resistance, free movement
Level 1 means increased resistance at the end of the movement
Level 1+ means increased resistance at the beginning to the middle of the movement
Level 2 means increased resistance from the beginning to the end
Level 3 means increased resistance throughout the movement, difficult to move
Level 4 means stiff joints stuck in a bent or extended position, difficult to move, unable to go all the way
The assessment of muscle tension requires someone else to do it. The assessor should examine every part of the body and always compare the left and right arms and legs, because patients with neurological problems will find differences in muscle tension.
If it is found that the patient has stiffness, basic physical therapy can be done as follows:
1) Adjust the posture to the opposite of the stiff position, for example, the elbow is stuck in a bent position, the elbow should be adjusted to be straight at all times
2) Stretch the muscles more often While stretching, hold the stretch for 15-20 seconds at a time.
3) Apply heat to help increase muscle flexibility.