ทำไมคนไข้ Stroke ต้องฝึกเดินโดยใช้ ไม้เท้าสามขา
รู้หรือไม่ในตอนนี้โลกหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease หรือ Stroke) หรือ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคทางประสาทที่สามรถพบบ่อย เป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก ปัจจุบันมีคนไข้ Stroke เกิดรายใหม่ราว 15 ล้านรายต่อปี โดยโรคนี้จะมีอาการ อ่อนแรงครึ่งซีก, กลืนลำบาก, ปัญหาเรื่องการสื่อสาร,การเกร็ง, ปวดหัวไหล่, การเข้าสังคมกระบวนการความคิด และเนื่องจากคนไข้ Stroke มีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก การสั่งการกลุ่มกล้ามเนื้ออีกฝั่งนึงมีปัญหา ซึ่งจะมีความบกพร่องการเดินหรือปัญหาการเดิน จึงจำเป็นต้องทำการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านโดยนักกายภาพบำบัดและครอบครัว เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และลดความพิการของคนไข้
ในปัจจุบันการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเคลื่อนไหวมีหลากหลายวิธีการ ซึ่งมีรูปแบบใหญ่ๆ อยู่ 3 รูปแบบ รูปแบบที่หนึ่งเป็นการฝึกเดินบนพื้นราบ โดยใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน ไม้เท้าสี่ขา, ไม้เท้าสามขา และขาเดียวด้วยนักกายภาพ รูปแบบที่สองคือ การฝึกเดินร่วมกับการใช้เครื่องพยุงน้ำหนักบางส่วนบนสายพานเลื่อนและใช้นักกายภาพฝึกเดินเบื้องต้น และรูปแบบที่สามคือ การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการฝึกเดิน ซึ่งการฝึกเดินบนพื้นราบด้วยนักกายภาพบำบัดเป็นอีกหนึ่งวิธีใช้ในการรักษาคนไข้ Stroke มักให้บริการคนไข้ที่อยู่รักษาตัวในโรงพยาบาลหรือคนไข้นอกที่มารับบริการที่โรงพยาบาล แต่คนไข้ส่วนใหญ่สามารถอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาลสั้นลง หรือไม่สามารถเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาลได้บ่อย อีกทั้งค่าวัสดุอุปกรณ์ช่วยเดินที่แพง จึงส่งผลกระทบให้คนไข้ได้รับการฟื้นฟูสมรรภาพไม่เต็มศักยภาพ และอาจไม่ได้รับการฝึกการเดินไปสู่ระดับดีที่สุด ดังนั้น หากคนไข้ไม่สามรถกลับไปฝึกเพิ่มเติมเองที่บ้านได้ โอกาสที่จะกลับมาเดินได้ใกล้เคียงปกติจะเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก เพราะจำนวนฝึกซ้ำไม่มากพอที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้หรือการปรับตัวของสมอง ถ้าหากคนไข้ที่บกพร่องการเดินไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้ จะส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ เช่น กล้ามเนื้อฝ่อลีบจากการไม่ได้ใช้งานและอาจเกิดภาวะทุพพลภาพได้ ดังนั้นโปรแกรมการฝึกเดินบนพื้นราบโดยใช้ อุปกรณ์ช่วยเดิน, ไม้เท้าสี่ขา,สามขาและหนึ่งขา ที่บ้านจึงมีความสำคัญและเหมาะสมสำหรับการฝึกเดินดีกว่าวิธีอื่นๆ เพราะใช้ค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับการฝึกเดินด้วยเครื่องพยุงน้ำหนักบางส่วนบนสายพานเลื่อนหรือใช้หุ่นยนต์ช่วยในการฝึกเดินและสามารถทำได้ที่บ้านของคนไข้ได้ และการพิจารณาใช้อุปกรณ์ช่วยในการฝึกเดินบนพื้นราบ โดยนักกายภาพบำบัด คือความสามารถของกล้ามเนื้อของคนไข้ อย่างที่ทราบกันดีแล้วว่าโรค Stroke มีอาการอ่อนแรงครึ่งซึก จึงเหมาะกับการใช้ไม้เท้าสามขามากที่สุดในช่วงแรก เพราะไม้เท้าสี่ขา หรือ walker ช่วยเดินคนไข้ที่สามารถใช้ได้ต้องมีแรงสองข้างในการจับอุปกรณ์ เพื่อลดการเสี่ยงอุบัติการณ์การหกล้มและถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด
การฝึกเดินบนพื้นราบ โดยใช้ ไม้เท้าสามขาด้วยนักกายภาพบำบัดนั้นเหมาะสมที่สุดสำหรับ
คนไข้ Stroke สามารถประหยัดค่าใช่จ่ายในการเดินทางไปรับบริการทางโรงพยาบาลค่าหัตการที่มีราคาสูง และสามารถฝึกเพิ่มเติมเองที่บ้านได้ โดยทำตามโปรแกรมที่นักกายภาพบำบัดให้ไว้
แหล่งอ้างอิง :
- พญ. สุภาณี ภูริสวัสดิ์พงศ์ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาล เลย. การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (15 มกราคม 2018)
- รัตนาพรรธณ์ จันทร์อุบล และคณะ. การฟื้นฟูสมรรถภาพการเดินในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลันโดยการใช้หุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินเปรียบเทียบกับวิธีกายภาพบำบัดแบบดั้งเดิม
( 2012)
- ธัฏษิณา ใจเสน และคณะ. ผลของโปรแกรมฝึกเดินที่บ้านต่อความสามารถด้านการเดินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน( ธันวาคม 2019)