ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค หลอดเลือดสมอง
โรค หลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับสองรองจากโรคหัวใจ สามารถพบได้บ่อยในผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เมื่อเกิดโรคแล้วจะก่อให้เกิดอาการต่างๆ ทางระบบประสาทซึ่งเป็นโรคที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่อาจเป็นได้ทั้งหลอดเลือดสมองตีบ (ischemic stroke) หรือหลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) ส่วนมากผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของระบบประสาทเกิดขึ้นทันทีทันใด เมื่อมีการอุดตันหรือมีการแตกของหลอดเลือดสมอง เรามาดูกันว่าโรคหลอดเลือดสมองมีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง และจะสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างไร
จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ
ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่
- เพศ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นเพศชายมี ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าเพศหญิง ถึง 2.2 เท่า และพบว่าในกลุ่มประชาชนทั่วไป ในเพศชายจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าเพศหญิง เป็น 1.67 เท่า
- อายุ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ชัดเจนที่สุดโดยเป็นปัจจัย เสี่ยงทั้งภาวะโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน และโรคหลอดเลือดสมองแตก โดยพบว่าเมื่ออายุเพิ่มสูงขึ้น อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองก็จะเพิ่มสูงขึ้น โดยพบว่าผู้ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 55 ปีมีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มที่มีอายุน้อย 55 ปี เป็น 2.94 เท่า และส่วนใหญ่พบในช่วงอายุระหว่าง 55-85 ปี แต่โรคหลอดเลือดสมองยังสามารถเกิดขึ้นได้ในวัยเด็กและวัยรุ่น ซึ่งพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ตั้งแต่ทารกหลังคลอดสัปดาห์แรก
- โรคเบาหวาน จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองตั้งแต่ 1.6 ถึง 6 เท่า เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวาน มักมีไขมันในเลือดสูง ซึ่งไปเกาะตามผนังหลอดเลือดร่วมกับ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เลือดมีความหนืดและเกิดการอุดตันของหลอดเลือดสมองได้
- ภาวะไขมันในเลือดสูง จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยในผู้ที่มีระดับไขมัน Low Density Lipoprotein (LDL) สูงกว่าปกติจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว (Atherosclerosis) ของหลอดเลือดแดง Carotid และภาวะไขมันในเลือดสูงที่สะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด จะทำให้กีดขวางการลำเลียงเลือด ส่งผลให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดแดง หรือก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้
- ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation) ทั้งภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่มีลิ้นหัวใจผิดปกติ(Valvular atrial fibrillation) และหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่ไม่มีลิ้นหัวใจผิดปกติ (Non valvular atrial fibrillation) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
- โรคอ้วน ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ มักจะมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมากกว่ากลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกายปกติถึง 3.24 เท่า และพบว่าในผู้ชายที่อ้วนแบบลงพุง โดยมีสัดส่วนระหว่างรอบเอวกับรอบสะโพกมากกว่าปกติ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนที่มีสัดส่วนปกติในกลุ่มอายุเดียวกัน
- ระดับความดันโลหิต กลุ่มที่มีความดันโลหิตค่าล่าง (diastolic) มากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และความดันโลหิต ค่าบนมากกว่า 160 มิลลิเมตรปรอทจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น เนื่องจากระดับความดันโลหิตสูง จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
- การมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีพ่อแม่/ พี่น้องที่เป็นญาติสายตรง มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อนจะมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็น โรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่
- การออกกำลังกาย ในกลุ่มที่ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ มีความเสียงต่อการเกิดโรค หลอดเลือดสมองมากกว่ากลุ่มอื่น 17.8 เท่า การขาดการออกกำลังกายจะเป็นปัจจัยทำให้ผู้ป่วยมีโรคอ้วนและเกิดความเครียด ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้และ พบว่าการออกกาลังกายสม่ำเสมอจะมีผลให้ระดับไขมัน Low Density Lipoprotein (LDL) ลดลงและไขมัน High Density Lipoprotein (HDL) เพิ่มขึ้นทำให้หลอดเลือดแดงไม่เกิดการแข็งตัวช่วยลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้
- พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากอาหารรสเค็มมีโซเดียมสูงทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น และอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งมีคอเลสตอรอลเป็นองค์ประกอบจะเพิ่ม ความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้
- การดื่มสุรา การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งภาวะเลือดออกในสมองและภาวะเนื้อสมองขาดเลือด เนื่องจากแอลกอฮอล์ทำให้เกิดการเต้นของหัวใจผิดปกติและโรคกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเป็น ปัจจัยกระตุ้นในการเกิดเส้นเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมอง
- การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นประจำเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากการสูบบุหรี่จะมีผลต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดการแข็งตัวของเลือด มีผลต่อการทำลายเซลล์บุผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดสมองตีบได้ง่าย
โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยมีสาเหตุมาจากการดำเนินชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่น การไม่รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ขาดการออกกำลังกาย บริโภคอาหารหวาน มัน เค็มจัด การดื่มสุรา และสูบบุหรี่ เมื่อไม่สามารถควบคุม พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวได้อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ภายหลังการเจ็บป่วยจะมีการสูญเสียการทรงตัวตามปกติและเคลื่อนไหวลำบากหรือมีการสูญเสียการรับรู้ความรู้สึกของร่างกายในส่วน ดังนั้นการดูแล รักษาสุขภาพร่วมกับลดพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองต่อไป
อ้างอิง
1.World Health Organization (2014). Global Status Report on Noncommunicable Deseases2014. Geneva, Switzerland: Printed Switzerland.
2.Phutthawong W. At al (2014). Factors Associated with Stroke in Hypertensive Patients, Payao Province. Journal of Public Health
3.ณฐกร นิลเนตร (2562).ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี
Risk factors that cause disease Cerebral artery
Cerebrovascular disease It is the second most common disease after heart disease. It can often be found in the elderly and people with risk factors. When the disease occurs, it causes various symptoms. Neurological disease, which is a disease with abnormalities of the brain blood vessels that can be either an ischemic stroke or a hemorrhagic stroke. Most patients will have abnormalities of the nervous system that occur suddenly. When there is a blockage or rupture of a cerebral artery Let’s look at what risk factors for stroke are. And how can risk factors that cause stroke be avoided?
From past studies, it has been found that risk factors that cause stroke are divided into 2 parts: personal factors and health behavior factors.