เตรียมตัวอย่างไร…หลัง ผ่าตัดบายพาส เส้นเลือดหัวใจ

เตรียมตัวอย่างไร…หลัง ผ่าตัดบายพาส เส้นเลือดหัวใจ

ผ่าตัดบายพาส โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคหัวใจที่เกิดจากการตีบและแข็งตัวของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง มักเป็นผลจากผนังหลอดเลือดมีไขมันเกาะ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความเสื่อมของร่างกายและความเสี่ยง เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง, การสูบบุหรี่จัด, โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, ความอ้วน และการขาดการออกกำลังกาย

หลายคนคงเคยได้ยินหรือคุ้นชื่อเกี่ยวกับการผ่าตัดสำหรับคนเป็นโรคหัวใจมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ วันนี้เราจะมาเรียนรู้ว่าควรเตรียมตัวอย่างไรหลังการผ่าตัด ซึ่งเราจะกล่าวถึงการผ่าตัดบายพาส (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG)  การผ่าตัดบายพาส เป็นการผ่าตัดต่อเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ เพื่อทำทางเบี่ยงเสริมหลอดเลือดบริเวณที่ตีบหรือตันทำให้เลือดผ่านส่วนที่ตีบหรือตันได้ดีขึ้น ส่งผลทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น  ซึ่งการผ่าตัดบายพาสนั้นเป็นวิธีการรักษาวิธีการหนึ่งในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั่นเอง

อาการแสดง จะเจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย บางรายร้าวขึ้นไปตามคอ อาการเป็นมากขึ้นเมื่อออกแรง หลังจากนั่งพักอาการจะดีขึ้น ในรายที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบมากจนตัน จะทำให้มีการขาดเลือดอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง กระสับกระส่าย เหงื่อออกตัวเย็น ถ้านำส่งโรงพยาบาลไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้

การรักษาฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัด

  1. ฝึกการหายใจ (Breathing exercise) จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดและเพิ่มความยืดหยุ่นของการขยายตัวของผนังทรวงอก

ขั้นตอนการฝึก

– ให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงที่ข้างเตียง หรือช่วยให้อยู่ในท่านอนศีรษะสูง งอเข่าสองข้างเล็กน้อย

– ใช้มือทั้งสองข้างจับที่ท้องจะได้รู้สึกเวลาหน้าอกขยายจะบ่งชี้ว่าปอดขยายตัว

– ขณะหายใจเข้า ให้สูดลมหายใจเข้าทางจมูกช้าๆ ลึกๆ (หน้าท้องขยาย/ท้องป่อง)

– จากนั้นหายใจออก โดยการค่อยๆผ่อนลมหายใจออกทางปาก (หน้าท้องแฟบ)

* ให้ทำบ่อยๆ เท่าที่จะทำได้อย่างน้อย 5 – 10 ครั้งทุกชั่วโมง

  1. ฝึกการหายใจแบบปากจู๋ (pursed lip breathing exercise) เพื่อลดภาวะหลอดลมตีบหรือเกร็ง ทำให้อากาศสามารถเข้าออกอย่างช้าๆ ได้มากขึ้น ช่วยลดอาการหอบเหนื่อย และช่วยผ่อนคลาย

ขั้นตอนการฝึก

– นั่งพิงพนักหรือนอนหัวสูง หรือนั่งโน้มตัวมาด้านหน้า

– ให้หายใจเข้าทางจมูกและออกทางปากปกติ เป็นจำนวน 2 – 3 ครั้ง

– ให้หายใจเข้าเต็มที่ปิดปาก จากนั้นให้หายใจออกช้าๆ ให้ลมดันกระพุ้งแก้มให้ป่องออกมา จากนั้น    ค่อยๆ เปิดปากเป็นลักษณะปากจู๋ ให้ลมค่อยๆ ออกมา นับ 1-2-3-4

* ให้ทำจำนวน 2 – 3 รอบ สลับกับหายใจปกติ ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น

  1. ฝึกการไอ (Coughing training) การไอเป็นเทคนิคการรักษาเพื่อช่วยขับเสมหะออกมาจากหลอดลม

ขั้นตอนการฝึก

– ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือท่านอนศีรษะสูง งอเข่าสองข้างเล็กน้อย

-ให้ผู้ป่วยประคองแผลโดยการใช้หมอนใบเล็กวางแนบสนิทบริเวณรอยแผลผ่าตัด

– ใช้มือกดให้แน่น เพื่อให้เกิดแรงกระชับ เป็นการลดแรงดันและควบคุมความเจ็บปวดขณะไอ

-ให้ผู้ป่วยสูดลมหายใจเข้าลึกๆทางจมูก สลับกับหายใจออกโดยการค่อยๆผ่อนลมหายใจออกทางปาก         ช้าๆ ทำซ้ำ 3 ครั้ง

– จากนั้นให้หายใจเข้าลึกเต็มที่ กลั้นหายใจไว้สักครู่ และไอออกมาอย่างแรงและเร็วทันที ตามด้วยการหายใจเข้าออกตามปกติ

  1. ฝึกการใช้ สไปโรมิเตอร์ (Incentive spirometer) ใช้สำหรับลดภาวะแทรกซ้อนก่อนและหลังการผ่าตัด ป้องกันและลดอาการปอดอักเสบ ปอดบวมหรือสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายหรือนอนบนเตียงเป็นเวลานานๆ

ขั้นตอนการใช้ Triflow

– ให้ผู้ป่วยนั่งหลังตรง ถือเครื่องมือไว้ระดับอก โดยให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าลึกๆ แล้ว ผ่อนลมหายใจ     ออกช้าๆ ประมาณ 2 – 3 ครั้ง

– ค่อยๆ ดูด จนกระทั่งลูกบอลลอยขึ้นทั้ง 3 ลูก ดูดขึ้นค้างไว้ ประมาณ 3 – 5 วินาที (นับ 1 – 5) หรือ       เท่าที่ร่างกายจะสามารถทำได้ แล้วผ่อนลมหายใจออกทำเช่นนี้ 10 – 20 ครั้ง วันละ 3 – 4 รอบ     (พยายามให้ผู้ป่วยดูดได้อย่างน้อยวันละ 100 ครั้ง/วัน ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ         ปอดได้ดีขึ้น)

– กรณีนั่งหลังตรงไม่ได้ ให้ดูดท่านอนได้ แต่ควรดูดขณะนอนอยู่ในท่าต่างๆ เช่น ท่านอนหงาย ท่า              ตะแคงซ้าย-ขวา เพื่อให้ปอดขยายได้ทุกทิศทาง

– กรณีผู้ป่วยเด็ก ที่ไม่สามารถดูดTriflow ได้อาจใช้เทคนิคโดยการเป่าลูกโป่ง หรือกระตุ้นให้ผู้ป่วยร้อง

  1. การออกกำลังกาย

ข้อบ่งชี้ในการหยุดออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

– หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น

– รู้สึกเหนื่อยล้ามาก มีอาการเจ็บหน้าอกขณะออกกำลัง

– อัตราชีพจรเพิ่มมากกว่า 20 – 30 ครั้งต่อนาที

– ความดันโลหิตลดลงมากกว่า 10 มิลลิเมตรปรอท

– ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้ามืด สับสน คลื่นไส้ เขียวคล้ำ

– ในช่วงแรก ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ตื่นเต้น กิจกรรมที่มีความเสี่ยง ทำให้หัวใจเต้นเร็ว

การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจหลังผ่าตัดบายพาสนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับคำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้ดี และสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด จากการนอนเป็นเวลานาน อีกทั้งยังกระตุ้นให้ผู้ป่วย มีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างถูกต้องและสามารถกลับมาทำกิจวัตประจำวันได้อย่างปลอดภัย หากใครยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรหรือต้องการคำแนะนำให้ ReBRAIN ทีมนักกายภาพบำบัดของเราดูแลคุณสิคะ พวกเราทุกคนพร้อมที่จะให้คำปรึกษาและให้บริการตรงถึงบ้านเลยค่ะ

 

แหล่งอ้างอิง

  1. ธิวาสา ลีวัธนะ, แสงอรุณ อิสระมาลัย, ช่อลดา พันธุเสนา. ความ สามารถในการดูแลตนเองและคุณภาชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัด หัวใจแบบเปิด. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2551; 26: 141-50.
  2. Hillis LD, Smith PK, Andreson JL, Bittl JA, Bridges CR, Byrne JG, et al. 2011 ACCF/AHA guideline for coronary artery bypass graft surgery: a report of the American College of Cardiology Foundation/ American Heart Association Task Force on practice guidelines. J Am Coll Cardiol. 2011; 58(24): 2584-614.

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

 

โทร.
Scroll to Top