ฝึก ทรงตัว ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
รู้หรือไม่ ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองมีความเสี่ยงที่จะล้มได้ง่าย เนื่องจากผู้ป่วยหลอดเลือดสมองจะมีอาการอ่อนแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อที่ใช้ในการทรงตัว ทำให้ประสิทธิภาพในการทรงตัวหรือการรักษาความมั่นคงของร่างกายลดลง ดังนั้นการฝึกการทรงตัวจึงมีความสำคัญ มีส่วนช่วยสร้างความมั่นคงให้กับผู้ป่วยและยังสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการล้มได้อีกด้วย
วิธีการฝึกการ ทรงตัว สามารถฝึกตามได้ดังนี้
1.การฝึกนั่ง ทรงตัว ก่อนที่ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองจะฝึกการ ทรงตัว ในท่านั่ง ผู้ป่วยควรรู้ระดับความสามารถของตนเองก่อน ว่าสามารถควบคุมกล้ามเนื้อลำตัว และสะโพกให้อยู่ได้มั่นคงได้ไหม ถ้า ทรงตัว ไม่ได้เลยในระยะแรกของการฝึกนั่ง ทรงตัว ให้ผู้ป่วยฝึกนั่งโดยมีที่พนักพิงหลัง ยกตัวอย่างเช่นรถเข็นผู้ป่วยหรือเก้าอี้ วิธีการฝึกก็คือ 1.ให้วางเท้าราบกับพื้น หากเท้าไม่ถึงพื้นให้ใช้ที่รองเท้า เพื่อให้เท้าวางราบกับพื้น และพื้นที่นั่งของผู้ป่วยไม่ควรแข็งหรือนิ่มเกินไป 2. มุมของลำตัวกับต้นขางอ 90 องศา และ เข่างอ 90 องศา 3. ให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงก่อนเริ่มการเคลื่อนไหว หากผู้ป่วยทำไม่ได้ ควรมีคนดูแลประคองอยู่ทางด้านข้างที่อ่อนแรงและด้านหลัง 3.ฝึกให้ผู้ป่วยงอตัวลง และยืดลำตัวสลับกัน หากเก่งขึ้นแล้วคนดูแลค่อยๆลดแรงประคองจนถึงไม่ออกแรงประคองเลย ให้พัฒนาเป็น นั่งได้โดยไม่มีพนักพิง ถ้าเก่งขึ้นอีกให้เพิ่มทิศทางการเคลื่อนไหวขณะนั่ง เช่น ยกแขน กางแขน เอื้อมมือหยิบสิ่งของตามทิศทางต่างๆ เอียงตัวซ้าย-ขวา บิดหมุนลำตัว ตลอดช่วงของการฝึกผู้ป่วยต้องคุมลำตัวให้นิ่งอยู่ตลอดเวลา
2.การฝึกยืน ทรงตัว ในการฝึกระยะแรกแนะนำให้ใช้โต๊ะหรือเก้าอี้ไว้ข้างลำตัวทั้งสองข้าง และใช้สายรัดรัดข้อสะโพก เพื่อความมั่นคงและปลอดภัยในการฝึก การฝึกยืน ทรงตัว เริ่มจากให้ผู้ป่วยฝึกลงน้ำหนักขาข้างอ่อนแรง เพื่อกระตุ้นการลงน้ำหนัก โดยที่ ศีรษะ ลำตัว สะโพก และขาทั้งสองข้างอยู่ในแนวตรง หากผู้ป่วยสามารถยืน ทรงตัว ได้นิ่งๆหรือเก่งขึ้นแล้ว สามารถเพิ่มความยากของการฝึกโดยลงน้ำหนักข้างมีแรง หรือถ่ายน้ำหนักไปมาสลับกัน ถ้าถ่ายน้ำหนักไปมาสลับกันได้ดีแล้ว การฝึกท่าต่อไปให้ยืนขาข้างเดียวโดยใช้ข้างอ่อนแรงยืนนิ่งๆ โดยยกขาข้างแข็งแรงขึ้นความสูงระยะแรกแค่ส้นเท้าลอยพ้นพื้นก็เพียงพอ โดยที่ญาติสามารถส่งเสียงกระตุ้นให้ผู้ป่วยคุมลำตัวและศีรษะให้ตรงและถ้าที่บ้านมีกระจกสามารถให้ผู้ป่วยมองตัวเองในกระจกได้เลย
โรคหลอดเลือดสมองทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงครึ่งซีก และทำให้ประสิทธิภาพในการทรงตัวลดลง
ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดการหกล้ม เพราะฉะนั้นบทความนี้ ช่วยทำให้ผู้อ่านทราบถึงการฝึกการทรงตัว อยากถูกวิธี เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมานั่งและยืนทรงตัว ทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย ทั้งยังส่งเสริมให้ผู้ป่วยเชื่อมั่นในการดูแลตนเอง และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้
แหล่งอ้างอิง :
- kanokhealthcare. การฝึกยืนทรงตัวฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอ่อนแรงครึ่งซีก (15 มกราคม 2021)
- นพพล ประโมทยกุล และคณะ. ผลของการฝึกการ ทรงตัว ด้วยการป้อนข้อมูลกลับผ่านทางสายตาโดยใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนที่มีผลต่อความสามารถในการยืน ทรงตัว ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซีก
( 2017)
3.หน่วยกายภาพบำบัด ภาคเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. กายภาพบำบัดกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ( กันยายน 2019)
Balance training in stroke patients
Did you know? Stroke patients are at risk of falling easily. This is because stroke patients will experience weakness in the muscle groups used for balance. Reducing the efficiency of balancing or maintaining stability of the body. Therefore, balance training is important. It helps create stability for the patient and can also reduce the risk of accidents from falling.
How to practice balance can be practiced as follows:
1. Sitting and balancing practice: Before a stroke patient practices balancing in a sitting position, the patient should know his or her ability level first. that you can control your body muscles And can the hips be stable? If you can’t balance at the first stage of sitting balance training Have the patient practice sitting with a backrest. For example, a wheelchair or chair. The training method is 1. Place your feet flat on the floor. If your feet don’t reach the floor, use shoe inserts. so that the feet are flat on the floor And the patient’s sitting area should not be too hard or too soft. 2. The angle of the body and thighs bent at 90 degrees and the knees bent at 90 degrees. 3. Have the patient sit up straight before starting the movement. If the patient cannot There should be someone to care for and support the weak side and back. 3. Train the patient to bend down. and stretch the body alternately If you become more skilled and the caregiver gradually reduces the force of support until you do not use any force at all, you will develop to be able to sit without a backrest. If you’re even better at it, add movement directions while sitting, such as lifting your arms, spreading your arms, reaching out to pick up things in different directions. Tilt the body left-right, twist and turn the body. Throughout the training period, the patient must keep the body steady at all times.
2.Standing training In the initial stages of training, it is recommended to use a table or chair on both sides of the body. and use a hip belt For stability and safety in training Balance training Begin by having the patient practice putting weight on the weak leg. To encourage weight bearing with the head, torso, hips, and both legs in a straight line. If the patient can stand still or has improved. You can increase the difficulty of the exercise by putting weight on the stronger side. or alternating the weight back and forth If the weight is transferred back and forth, it works well. The next exercise involves standing on one leg, using the weak side to stand still. By raising the strong leg to a height in the first stage, just the heel off the ground is enough. The relatives can encourage the patient to keep their body and head straight, and if there is a mirror at home, the patient can look at himself in the mirror.