การ ฝึกพูด และภาวะบกพร่องทางการสื่อความและความผิดปกติเกี่ยวกับการพูดคืออะไร
ฝึกพูด นั้นสำคัญอย่างไร อย่างที่ทราบกันดีว่า “โรคหลอดเลือดสมอง” ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหลายประการ หนึ่งในนั้นก็คือ “ความผิดปกติเกี่ยวกับการพูด” เนื่องจากมีความบกพร่องในการสื่อความหมาย ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดได้ ซึ่งก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความผิดปกติด้านการควบคุมการพูดที่เกิดขึ้นอยู่ในกลุ่มใด มีอาการอย่างไร ReBRAIN มีคำคอบ
ความผิดปกติด้านการควบคุมการพูดที่เกิดขึ้นจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่การควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดผิดปกติ (Dysarthria) และกลุ่มที่การควบคุมโปรแกรมการพูดผิดปกติ (Apraxia) เรามาเริ่มทำความรู้จักกับทั้ง 2 กลุ่มกันเถอะ
อะฟาเซีย (Aphasia) หมายถึง ผู้ป่วยที่สูญเสียความสามารถในการสื่อสารอย่างถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากการมีสภาพหรืออาการบาดเจ็บของสมองส่วนที่ควบคุมภาษา ส่วนมากพบในผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการสื่อสารรวมถึงทักษะการคำนวณ การสะกดคำ การพูด การเขียน และ การฟัง ซึ่งอาการจะแตกต่างไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับบริเวณที่สมองได้รับความเสียหายและระดับความรุนแรงของความเสียหายนั้น โดยภาวะสูญเสียความสามารถในการสื่อสารได้ถูกแบ่ง ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.Motor’s aphasia มีปัญหาด้านการแสดงออกทางภาษาเป็นปัญหานำ โดยผู้ป่วยจะมีพยาธิสภาพอยู่ที่ส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับการผลิตภาษา (Broca’s Area) ทำมีความบกพร่องด้านการพูดเด่นชัดกว่าด้านอื่น สามารถเข้าใจคำพูดของคนอื่น อ่านหนังสือได้หรือสามารถแสดงออกโดยการเขียนหรือทำท่าทางได้ แต่ไม่สามารถพูดคุยได้อย่างถูกต้อง โดยผู้ป่วยอาจมีอาการพูดไม่ชัด พูดไม่คล่อง พูดผิด ไวยากรณ์ พูดเฉพาะคำสำคัญของประโยค และมีปัญหาในการนึกคิดคำพูดหรือคำศัพท์ต่างๆ
- Sensory’s aphasia มีปัญหาด้านการรับรู้ทางภาษาเป็นปัญหานำโดยผู้ป่วยจะมีพยาธิสภาพในส่วนของสมองที่เกี่ยวกับการรับรู้ภาษา (Wernicke’ Area) ทำให้มีความบกพร่องด้านการฟัง ไม่สามารถรับรู้หรือ เข้าใจภาษาที่ได้รับฟังจากบุคคลอื่น และอาจบกพร่องด้านการอ่านหนังสือเด่นชัดกว่าด้านอื่นๆ แต่ส่วนสมอง ของการพูดยังปกติ โดยผู้ป่วยยังสามารถพูดได้ปกติ แต่ไม่สามารถสื่อสารได้ตรงกับความหมายทั่วไปของ บุคคลอื่น
- Global Aphasia มีปัญหาทั้งด้านการรับรู้ภาษาและการแสดงออกทางภาษา โดยผู้ป่วยจะมีปัญหาทาง ภาษาทั้งด้านการรับรู้และการแสดงออกทางภาษาในระดับใกล้เคียงกันกล่าวคือ ผู้ป่วยไม่เข้าใจทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน พูดไม่คล่องหรือพูดไม่ได้เลย ไม่สามารถพูดตามได้ ทำตามคำสั่งไม่ได้ มีความบกพร่องและปัญหา ทั้ง 2 แบบดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพยาธิสมองของโรคว่าอยู่ที่ Wernicke’s Area หรือ Broca’s Area
การรักษา
พยายามสื่อสารกับผู้ป่วยด้วยประโยคสั้น ๆ ช้า ๆไม่ซับซ้อน ในสิ่งแวดล้อมที่เงียบสงบ พร้อมใช้ภาษา
ท่าทางประกอบ และควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยพยายามสื่อสารบ่อย
อาการพูดไม่ชัด (dysarthria) หรือเข้าใจง่ายๆว่ากล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูดผิดปกติ เป็นความผิดปกติทางการพูดที่เกิดจากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพูดหรือเปล่งเสียงได้ตามปกติ ไม่สามารถควบคุมระดับเสียงและจังหวะในการพูดของตนเองได้ โดยสาเหตุมักมาจากการบาดเจ็บของสมองหรืออาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น โรคเส้นเลือดในสมอง โรคสมองพิการ โรคพาร์กินสัน หรือการบาดเจ็บในระบบประสาทส่วนกลาง เป็นต้น
สาเหตุเกิดจากปัญหากล้ามเนื้อใบหน้า ปาก ลิ้น อ่อนแรงซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญในการพูดหรือเกิดจากการทำงานไม่ประสานสัมพันธ์กัน ทำให้ผู้ป่วยพูดไม่ชัด เสียงสั่นเครือ เสียงขึ้นจมูก พูดช้า พูดเบา พูดเสียงแหบผู้ป่วยบางคนอาจมีกลืนลำบาก สำลัก เศษอาหารติดตามกระพุ้งแก้ม หรือมีน้ำลายไหลร่วมด้วย เป็นต้น
การรักษา
กายภาพบำบัดจะเข้าไปช่วยได้อย่างไรบ้าง
การออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพูด
การฝึกพูด โดยฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด ซ้ำๆ เร็วๆ ชัดๆ จนเหนื่อย แล้วพัก 2-3 นาที/กิจกรรม และทำกิจกรรมใหม่ต่อ โดยพิจารณาความสามารถของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์ กิจกรรมเหล่านี้ ได้แก่ การออกเสียง อา–อู อู–อี อา–อี ลัน ลัน ลัน ลา เปอะ-เตอะ-เกอะ เพอะ-เทอะ–เคอะ กระดกลิ้นซ้ำๆการฝึกพูดที่เรียงลำดับให้ชัดเจน ความสำคัญ คือการนับเลข, การท่องชื่อวันใน 1 สัปดาห์, การท่องชื่อ 12 เดือนใน 1 ปี, การท่องสูตรคูณ, การท่องพยัญชนะ ก–ฮ, การอ่านหนังสือออกเสียง, การถามตอบ ในรายที่พูดเสียงเบา พูดประโยคสั้นๆแล้วเสียงหายไป ควรฝึกพูดด้วยการสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ แล้วลากเสียงสระยาวๆ อา อู อี โอ เอ แอ ออ เออ อือ สลับกัน การฝึกพูดกับบุคคลใกล้ชิด คนในครอบครัว และคนในสังคม และควรนำผู้ป่วยเข้าสังคมตามปกติ ไปซื้อของเพื่อให้มีการฝึกพูด และพัฒนาการพูดในบริบทที่เป็นธรรมชาติ การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดซ้ำๆ โดยออกเสียงให้ชัด
การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด เช่น อ้าปาก ยิงฟัน ทำปากจู๋ เผยอปาก ฯลฯ ฝึกการออกเสียงพูดคำที่มีความหมาย 1 2 3 พยางค์ วลี ประโยค ตามลำดับ เช่น มอมแมม แม่มา ปาบอล แม่ปาบอล พี่ทาปากแดง
เอกสารอ้างอิง
- 1. สามารถ สุขเจริญ และ เบญจพร ศักดิ์ศิริ. การประเมินผลโปรแกรมประยุกต์ภาพสื่อความหมายสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะ Motor Aphasia บนอุปกรณ์แท็บเล็ต. วารสารวิทยาลัยราชสุดา 2556; 12: 35-49.