การ ฝึกมือ กับเซลล์สมองกระจกเงา (Mirror Neuron)

ฝึกมือ กับ เซลล์สมองกระจกเงา (Mirror Neuron)

การ ฝึกมือ มีมานานแล้ว แต่ในปัจจุบันการ ฝึกมือ ด้วยกระจกเงาสะท้อน เป็นเทคนิคการฝึกที่กำลังได้รับความนิยม เนื่องจากผลการฝึกในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ที่มีอาการมาน้อยกว่า 6 เดือน สามารถเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อและความสามารถในการใช้งานของระยางค์ข้างที่อ่อนแรงได้ หลังได้รับการฝึก การบำบัดด้วยกระจกเงาสะท้อนคืออะไร วันนี้มีคำตอบครับ
ในสมองของมนุษย์เรานั้น มีเซลล์ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “Mirror Neuron” หรือ “เซลล์สมองกระจกเงา” ซึ่งเป็นเซลล์ที่สามารถตอบสนอง ต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ของมนุษย์
เช่น การตอบสนองต่อการมองเห็น การได้ยิน การได้เห็นภาพ การได้กลิ่น และการสัมผัส เป็นต้น

ดังนั้น ทฤษฎีเซลล์กระจกเงาจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก เพราะสมองของเด็กมีความยืดหยุ่นสูง และในปัจจุบันทฤษฎีเซลล์กระจกเงายังถูกนำไปใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ได้อีกด้วย หลักการคือ พยายามกระตุ้นให้ร่างกายข้างที่เป็นอัมพาตเกิดการทำงานหรือเกิดการเคลื่อนไหวขึ้น โดยอาจใช้การดูการเคลื่อนไหวร่างกายของส่วนที่ไม่เป็นอัมพาตในลักษณะต่างๆ หรือให้ผู้ป่วยชมวีดีโอ จากนั้นให้ผู้ป่วยทำตาม หรือจินตนาการท่าทางตามสิ่งที่ตนเองเห็น

การใช้เทคนิค “Mirror Box Therapy” คือ ให้ผู้ป่วยนำมือข้างอ่อนแรงใส่ในกล่อง ที่ด้านข้างกล่องจะเป็นกระจกเงา สะท้อนเห็นมือข้างที่มีแรงทำงาน ทำให้สมองเกิดการเรียนรู้การเคลื่อนไหวของอีกข้างตาม เป็นการจินตนาการ (Imagination) เพื่อเกิดการเรียนรู้การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Motor re-learning) เเละเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจไปที่ข้างปกติ และแขนที่อยู่ในกระจก
แทนที่จะกังวลกับแขนข้างที่เป็นอัมพาตเพียงอย่างเดียว มีงานวิจัยที่ศึกษาผลของการใช้เทคนิคกระจกบำบัดร่วมกับการฝึกกิจกรรมบำบัดต่อการฟื้นฟูรยางค์ส่วนบนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พบว่าการฝึกกระจกบำบัดร่วมกับการทำกิจกรรมบำบัดให้ผลเพิ่มความสามารถในการควบคุมรยางค์ส่วนบน และเพิ่มความสามารถในการใช้มือให้ผลคงอยู่ได้นานกว่าการฝึกกิจกรรมบำบัดเพียงอย่างเดียว
การทำกายภาพบำบัดในรยางค์ส่วนบน หรือที่เรียกกันว่าฝึกมือ เป็นส่วนที่ยากของการบำบัด เนื่องจากการออกแรงมีรายละเอียดค่อนข้างมาก และนึกออกได้ยาก ดังนั้นการฝึกมือโดยการป้อนข้อมูล และการเรียนรู้การใช้กล้ามเนื้อให้ถูกมัด ด้วยวิธีการเปรียบเทียบกับแขนอีกข้างหนึ่งก็เป็นตัวช่วยที่สามารถทำให้ออกแรงได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นการฝึกควรได้รับความแนะนำจากนักกายภาพบำบัดเพื่อให้กระตุ้นการใช้ได้ถูกท่าโดยไม่มีการเคลื่อนไหวทดแทน และถูกมัดกล้ามเนื้อมากที่สุด

Hand training with mirror neurons

Currently, practicing hands with a reflection mirror. It is a popular training technique. because of the results of training in stroke patients Those with symptoms less than 6 months can increase muscle strength and the ability to use the weak side of the limb. after training What is mirror reflection therapy? I have an answer today.
in the human brain There is a type of cell called “Mirror Neuron” or “mirror brain cell” which is a cell that can respond to on human cognitive behaviors such as the response to sight, hearing, seeing

The principle is to try to stimulate the paralyzed side to work or move. It may be used to look at the movement of the body that is not paralyzed in various ways. or let the patient watch the video Then have the patient follow or imagine gestures according to what they see

Using the “Mirror Box Therapy” technique is to have the patient put his weak hand in the box. On the side of the box is a mirror. reflecting the working hand causing the brain to learn the movements of the other side is a fantasy (Imagination) to learn the movement of the body (Motor re-learning) and to divert attention to the normal side. and the arm in the mirror Instead of only worrying about the paralyzed arm.

1. พรสวรรค์ โพธิ์สว่าง. (2563). การศึกษาประสิทธิผลของการใช้เทคนิคกระจกบำบัดร่วมกับการฝึกกิจกรรมบำบัดต่อการฟื้นฟูระยางค์ส่วนบนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ThaiJournal. 45 (4): 101-109
2. Shinoura N, Suzuki Y, Watanabe Y, Yamada R, Tabei Y, Saito K, et al. (2008). Mirror therapy activates outside of cerebellum and ipsilateral M1. NeuroRehabilitation. 23: 245-52.

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top