วิธี ฝึกลุกขึ้นยืน ง่ายๆในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
การ ฝึกลุกขึ้นยืน จากท่านั่งเป็นทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่สำคัญในการทำกิจวัตรประจำวัน ซึ่งการ ฝึกลุกขึ้นยืน นั้นจุดศูนย์รวมมวลของร่างกายจะมีการเคลื่อนไหวไปด้านหน้า และเคลื่อนขึ้นด้านบนไปอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น นอกจากนี้การลุกขึ้นยืนยังเป็นการเปลี่ยนฐานรองรับน้ำหนักที่กว้างไปแคบ ซึ่งต้องอาศัยความแข็งแรง และความสามารถในการควบคุมการทรงตัว ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองโดยส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องของ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ลดลง มีปัญหาการทรงตัวในท่าต่างๆ วันนี้เราจึงมีวิธีการฝึกลุกขึ้นยืนง่ายๆที่ผู้ป่วยสามารถฝึกเองกับญาติได้ที่บ้าน เราจะทำให้การลุกขึ้นยืนของคุณไม่ยากอีกต่อไป อย่างแรกที่สำคัญในการเริ่มต้นฝึกลุกขึ้นยืน คือ
1.การกระตุ้นการลงน้ำหนักบนขาข้างที่อ่อนแรง
เริ่มจากให้ผู้ป่วยนั่งบนเตียงหรือเก้าอี้ที่มีผนังพิง เท้าวางราบกับพื้น ญาตินั่งฝั่งขาข้างที่อ่อนแรง ใช้มือทั้งสองข้างจับบริเวณเหนือเข่าบนขาทั้ง2ข้าง โน้มตัวไปในทิศทางต่างๆให้น้ำหนักกดลงที่ฝ่าเท้าเพื่อกระตุ้นการลงน้ำหนักของขาทั้งสองข้าง โดยแรงกดที่มาจากมือนั้นจะช่วยใหนการกระตุ้นการลงน้ำหนักในท่ายืน ได้มากขึ้น
2.การฝึกโน้มตัวไปด้านหน้า
เริ่มจากให้ผู้ป่วยนั่งบนเตียงหรือเก้าอี้ที่มีผนังพิง เท้าวางราบกับพื้น ให้ผู้ป่วยขยับก้นมาบริเวณขอบเตียงหรือเก้าอี้ ญาตินั่งฝั่งขาข้างอ่อนแรง ใช้มือของญาติมาเป็นเป้าหมายด้านหน้า ห่างจากศีรษะผู้ป่วยระยะหนึ่ง ออกคำสั่งให้ผู้ป่วยนั้นโน้มตัวไปด้านหน้าให้ศีรษะแตะมือของญาติ แล้วกลับไปนั่งอยู่ตำแหน่งเดิม ถ้าผู้ป่วยสามารถทำได้แล้วโดยกลับมานั่งทรงตัวได้ตรงแบบเดิม เพิ่มความยากโดยให้ผู้ป่วยโน้มตัวไปข้างหน้าแตะค้างกับมือไว้ ซึ่งช่วงแรกให้แตะค้างไว้ในเวลาสั้นก่อน แล้วค่อยเพิ่มเวลาไปเรื่อยๆ
3.การฝึกลุกขึ้นยืน
เริ่มจากให้ผู้ป่วยนั่งบนเตียงหรือเก้าอี้ที่มีผนังพิง เท้าวางราบกับพื้น ใช้มือทั้งสองข้างจับบริเวณเหนือเข่าบนขาทั้ง2ข้าง ให้ผู้ป่วยขยับก้นมาบริเวณขอบเตียงหรือเก้าอี้ ญาตินั่งฝั่งขาข้างอ่อนแรง ใช้เข่าของญาติกันเข่าของผู้ป่วยไว้ มือของญาติจับบริเวณขอบเข็มขัด จากนั้นให้ผู้ป่วยโน้มตัวไปข้างหน้าจนกว่าก้นจะลอยพ้นขอบเตียงหรือเก้าอี้ แล้วค่อยเหยียดเข่า เหยียดสะโพกขึ้น ซึ่งช่วงแรกของการฝึกลุกขึ้นยืนนั้นอาจจะเริ่มต้นแบบให้ก้นลอยพ้นเตียงหรือเก้าอี้ก่อน แล้วลงนั่ง ค่อยเพิ่มความยากในการลุกขึ้นโดยวัดจากความสูงของก้นที่ลอยพ้น
โดยการฝึกนั้นจะเรียงลำดับจากง่ายไปยาก ซึ่งควรทำท่าแรกให้ได้ก่อน ค่อยทำท่าต่อไป ทำ 10 ครั้งต่อเซต ทำ 2 เซตต่อวัน ทำช่วงเช้า – เย็น ถ้ามีอาการเหนื่อยหอบ ควรหยุดพักจนกว่าจะหายเหนื่อย และห้ามกลั้นหายใจโดยเด็ดขาดในขณะการฝึก ท่าการฝึกข้างต้นนั้นสามารถฝึกทำได้เองที่บ้าน เพื่อให้การใช้ชีวิตประจำวันของทั้งญาติและตัวคนไข้ง่ายขึ้น
How to practice standing up Easy for cerebrovascular patients
standing up training From a sitting position is a basic motor skill that is important in everyday life. In which standing up, the center of mass of the body moves forward. and move up to a higher position In addition, standing up is a change from a wide to a narrow support base.
which requires strength and the ability to control balance Most cerebrovascular patients have problems in decreased muscle strength Problems with balance in various postures Today we have a simple method to practice standing up that patients can practice on their own with their relatives at home.
We’ll make it hard for you to stand up.
1. Stimulation to put weight on the leg that is weak.
Begin by having the patient sit on a bed or chair with a wall against it. feet flat on the floor Relatives sit on the weak side of the leg. Use both hands to hold the area above the knee on both legs. Lean in different directions, pressing the weight on the soles of the feet to stimulate the weight of both legs. The pressure coming from the hand will help stimulate more weight in the standing position.
2. Practice leaning forward.
Begin by having the patient sit on a bed or chair with a wall against it. feet flat on the floor Have the patient move their buttocks to the edge of the bed or chair. Relatives sit on the side with weak legs.
Use your relative’s hand as a target in front. away from the patient’s head for a while Order the patient to lean forward so that his head touches his relative’s hand.
and then return to the original position If the patient is able to do so by returning to sit upright as before.
Increase the difficulty by having the patient lean forward and hold his hand. At first, tap and hold for a short time before then gradually increase the time.
3. Practice standing up.
Begin by having the patient sit on a bed or chair with a wall against it. feet flat on the floor Use both hands to hold the area above the knee on both legs. Have the patient move their buttocks to the edge of the bed or chair. Relatives sit on the side with weak legs. The relative’s knee is used to protect the patient’s knee. A relative’s hand touches the edge of the belt. Then have the patient lean forward until their buttocks float off the edge of the bed or chair. then stretch your knees stretch your hips up The first phase of standing up training may start with the bottom of the bed or chair first, then sit down, gradually increasing the difficulty of getting up as measured by the height of the buttocks free.
แหล่งอ้างอิง
- ผศ.ดร.กภ.จตุพร สุทธิวงษ์.(2563).ตำราการจัดการทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยทางระบบประสาท.พิมพ์ครั้งที่1.บริษัทพริ้นเทอรี่ จำกัด.หน้า295-297
- วรรณิศา คุ้มบ้าน,สุกัลยา อมตฉายา,พรรณี ปึงสุวรรณและวัณทนา ศิริธราธิวัตร.(2553).ผลของการฝึกลุกขึ้นยืนต่อความสมดุลในขณะเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ.นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชากายภาพบำบัด,มหาวิทยาลัยขอนแก่น.ขอนแก่น:หน้า282