พาร์กินสัน (Parkinson’s disease) VS กัญชา

พาร์กินสัน (Parkinson’s disease) VS กัญชา

ผู้ป่วยโรค พาร์กินสัน ส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาโดยใช้ยา ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ซึ่งยาที่ใช้กับผู้ป่วยพาร์กินสันมีหลายตัวขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยทางการแพทย์ เช่นยาในกลุ่ม Levodopa และ Dopamine agonist เป็นต้น แต่เมื่อไม่นานมานี้มีกระแสอย่างแพร่หลายถึงการอนุญาตให้ใช้กัญชาได้ในหลายกรณี และในผู้ป่วยหลายกลุ่มอาการ รวมถึงผู้ป่วยพาร์กินสันด้วย เราจะพาไปเจาะลึกกันว่ากัญชารักษาพาร์กินสันได้จริงหรือไม่
โรคพาร์กินสันเกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง โดยเฉพาะส่วนที่สร้างโดพามีน(Dopamine) การลดลง หรือความไม่สมดุลของโดพามีน ซึ่งโดพามีนเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบ
เอ็นโดแอนนาบินอยด์(Endocannabinoid System) อันเป็นระบบที่ควบคุมการทำงานหลายระบบ เช่น การเรียนรู้ ระบบการทรงตัวหรือการเคลื่อนไหว การเจ็บปวด อารมณ์ เป็นต้น อาการหลักๆในผู้ป่วยพาร์กินสันคือ
การเคลื่อนไหวช้า(Bradykinesia) อาการสั่น(Rest tremor) กล้ามเนื้อเกร็ง(Rigidity) และปัญหาด้านการทรงตัว(Postural instability)
ปัจจุบันการรักษาโรคพาร์กินสันโดยการให้ยาจะเริ่มให้ยาเมื่ออาการของโรคส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ยาที่ให้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มโดพามีนเนอจิก(Dopaminergic)
เพื่อทดแทนโดปามีน เช่นยาเลโวโดปา(Levodopa) และยาที่เสริมตัวรับโดพามีน(Dopamine agonist)
ทำไมกัญชาถึงลดอาการของผู้ป่วยพาร์กินสันลงได้ เนื่องจากกัญชามีสารตัวหนึ่งชื่อ สารไฟโตแคนนาบินอยด์ ทำหน้าที่คล้ายระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของสารโดพามีน มีผลลดการอักเสบของสมอง ทำให้ระบบการหลั่งสารสื่อประสาททำงานได้ดีขึ้น มีการศึกษาผลของกัญชาในผู้ป่วยพาร์กินสันโดยให้สารสกัดจากกัญชาแก่ผู้ป่วยวันละ 2-5 หยดซึ่งเป็นปริมาณที่ปลอดภัย และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ ระหว่างก่อนและหลังการให้สารสกัดจากกัญชา พบว่าสามารถเพิ่มคุณภาพการนอนและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง และไม่ส่งผลต่อการทำงานของตับและไต แต่ทั้งนี้การใช้สารสกัดจากกัญชา สมุนไพร หรือยาใดๆ อาจเกิดผลข้างเคียงที่อันตรายได้ จะต้องใช้ความระมัดระวัง และควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ในสมอง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาทำได้เพียงการชะลอการเสื่อมของสมองให้ได้นานที่สุด ซึ่งการรักษาทางยาปัจจุบันจะให้ยาเลโวโดปา(Levodopa) และยาเสริมตัวรับโดพามีน(Dopamine agonist) เป็นหลัก ส่วนการใช้สารสกัดจากกัญชาปัจจุบันยังให้ได้ในผู้ป่วยบางกรณีเท่านั้น ซึ่งต้องศึกษาประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงต่อไป การรักษาโรคพาร์กินสันอีกส่วนที่สำคัญคือการทำกายภาพบำบัด ดังที่กล่าวข้างต้นเนื่องจากจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหว และทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นการรักษาควรควบคู่กันไประหว่างการให้ยา และการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

Why cannabis can reduce symptoms of Parkinson’s disease?

Because marijuana has a substance called Phytocannabinoids It acts like an endocannabinoid system, which is involved in the action of dopamine. Has the effect of reducing inflammation of the brain Make the neurotransmitter secretion system work better.

The effects of cannabis in Parkinson’s were studied by giving patients 2-5 drops of cannabis extract daily, which is a safe dosage. and compare quality of life in various aspects between before and after the cannabis extract It was found that it could improve the quality of sleep and quality of life of patients.

In addition, no serious side effects were observed. and does not affect liver and kidney function However, using cannabis extracts, herbs, or any medication can cause dangerous side effects.

แหล่งอ้างอิง1. กิตติพศ ทัศนบรรยง (2020). ผลการรักษาและความปลอดภัยของการใช้น้ำมันกัญชาสกัด ในผู้ป่วยพาร์กินสันโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย
2. MacCallum CA, Rosso EB. Practical consideration in medical cannabis administration and dosing. Eur J Intern Med 2018;49;12-9.

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

 

โทร.
Scroll to Top