ยากันชักสำคัญไหมกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ยากันชัก สำคัญไหมกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 

ยากันชัก สำคัญไหมกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชักทุกคนอาจจะเคยได้ยินกัน แต่จะมีใครทราบบ้างว่าโรคลมชักสามารถพัฒนาให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ โดยผู้ที่เป็นโรคลมชักในวัยกลางคน และวัยสูงอายุมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าคนปกติถึง 3 เท่า ผู้ป่วยโรคลมชักเกิดจากการมีพยาธิสภาพความผิดปกติของหลอดเลือดขนาดเล็ก ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในอนาคต อาการชักเป็นสัญญาณบ่งชี้ที่สำคัญที่ทำให้สมองมีความเสียหาย จากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ประสาทและการเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายในสมอง ส่งผลให้การทำงานของวงจรประสาทผิดปกติ เกิดเป็นอาการชักขึ้นมาจึงต้องใช้ ยากันชัก ในการป้องกันการเกิดอาการชัด

อาการชักและการรักษาหลังจากที่ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1. แบบเฉียบพลัน จะเกิดขึ้นหลังจากที่มีภาวะเลือดออกในเนื้อสมอง หรือเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง อาการแสดงอาจไม่ได้ชัดเจนแต่สามารถตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าสมอง ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะไม่ได้รับผลเสียระยะยาวต่อสุขภาพ แพทย์จึงไม่ได้แนะนำให้รับยากันชักในทันที หรือถ้าได้รับยาจะให้ไม่เกิน 7 วัน
2. แบบไม่มีปัจจัยกระตุ้น เกิดหลังจากที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 1 สัปดาห์ เชื่อว่าเกิดจากการอักเสบและการเปลี่ยนแปลงเครือข่ายการรับสัญญาณของกระแสประสาท ผ่านกระบวนการเกิดโรคลมชัก ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการชักได้ง่ายกว่าปกติ อาการชักเกิดร้อยละ 10-12 ภายในเวลา 5-10 ปี ขึ้นอยู่กับขนาดและความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง โดยอาจได้รับยากันชักอย่างต่อเนื่อง

ถ้าส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยชักซ้ำ และเป็นข้อจำกัดต่อการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดในระยะยาว จะใช้เกณฑ์ปัจจัยเสี่ยง 1 ใน 4 ตามนี้ คือ
1.เลือดออกที่สมอง
2.เลือดออกมากกว่า 10 มิลลิลิตร
3.อายุน้อยกว่า 65 ปี
4.มีอาการชักเฉียบพลัน เพื่อเป็นการบริหารการใช้ยา

ซึ่ง ยากันชัก เป็นยาที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการชัก หรือลดโอกาสการเกิดอาการชัก ซึ่งยาแต่ละชนิดจะออกฤทธิ์ผ่านตำแหน่งที่แตกต่างกันภายในเซลล์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของส่วนนั้นๆ โดยอาศัยหลักการคือ การทำให้ลดหรือกดการทำงานของระบบประสาทที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าที่มากเกินไปภายในวงจรของสมองของผู้ป่วย โดยเป้าหมายของยาที่ใช้จะมี 4 ประเภทหลัก ในการควบคุมการทำงานของเซลล์ แต่การใช้ ยากันชัก แต่ละประเภทจะขึ้นอยู่กับอายุ โรคประจำตัว และการใช้ ยากันชัก อื่นๆของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน

โรคลมชักภายหลังจากโรคหลอดเลือดสมองสามารถเกิดหรือไม่ก็ได้ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติในการส่งกระแสประสาทของสมองที่มากเกินไป ซึ่งถ้าอาการชักเกิดซ้ำและบ่อย อาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพระยะยาวและข้อจำกัดต่อการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด แพทย์จะพิจารณาให้รับประทาน ยากันชัก ตามคำแนะนำ เพื่อให้กดและลดการทำงานของกระแสไฟฟ้าในสมอง ดังนั้นยาตัวนี้จึงเข้ามามีบทบาทในการทำให้ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองในกลุ่มนี้กลับมามีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Are Anticonvulsants Important for Stroke Patients?

Epilepsy everyone has probably heard of it. But who knows if epilepsy can develop into ischemic strokes? by people with epilepsy in middle age And the elderly are at risk 3 times higher than normal people. Patients with epilepsy are caused by pathological disorders of small blood vessels. which is a risk factor for future stroke Seizures are an important sign of brain damage. from changes in neurons and chemical changes within the brain resulting in abnormal functioning of neural circuits a seizure occurred

Seizures and treatment after a patient has a stroke can be divided into 2 types:

1. Acute occurs after a brain hemorrhage. or bleeding in the meninges The symptoms may not be obvious, but can be examined by EEG. These patients tend not to suffer any long-term adverse effects on their health. Doctors do not recommend immediate anticonvulsant medication. or if receiving the drug, it will not be more than 7 days
2. without stimulating factor Occurring more than a week after a stroke, it is believed to be caused by inflammation and changes in the signaling network of nerve impulses. through the process of epilepsy As a result, patients have seizures more easily than usual. Seizures occur in 10-12% within 5-10 years, depending on the size and severity of the stroke. They may be receiving continuous anticonvulsants. If it adversely affects health by repeated seizures and is a limitation to physical therapy rehabilitation in the long term. will use the risk factor criteria 1 in 4 as follows:
1. Bleeding into the brain
2. Bleeding more than 10 ml.
3. Under 65 years old
4. have an acute seizure for the management of drug use


แหล่งอ้างอิง

  1. ชาคร จันทร์สกุล. (2561). โรคลมชักและโรคหลอดเลือดสมอง. จุลสาร Epilepsy Digest, 1-4.
  2. ทองแดง ฝูงใหญ่. (2561). กลไกการออกฤทธิ์ของยากันชัก. จุลสาร Epilepsy Digest, 5-18.

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top