ลุกขึ้นยืน อย่างไรให้ปลอดภัยในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
การฝึก ลุกขึ้นยืน ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างถูกต้อง และปลอดภัยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องฝึกลุกขึ้นยืนอย่างถูกต้อง เนื่องจากสมองจะจดจำรูปแบบการลุกขึ้นยืน การรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อ การลงน้ำหนัก รวมถึงการใช้แรงของกล้ามเนื้อมัดสำคัญที่ช่วยในการลุกขึ้นยืน เป็นต้น ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะรับความรู้สึก และนำไปประมวลผลที่สมองให้เกิดการจดจำปรับเปลี่ยนการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง การลุกขึ้นยืนนั่นต้องอาศัยความสามารถของร่างกายที่ต้องเคลื่อนออกจากตำแหน่งฐานรองรับจากกว้างๆตั้งแต่ สะโพก ต้นขา จากนั้นไปสู่ฐานรองรับแคบคือเท้า ซึ่งสิ่งที่สำคัญขณะลุกขึ้นยืน คือ ความสามารถที่ร่างกายรักษาสมดุลของร่างกายขณะเคลื่อนออกจากฐานรองรับ
องค์ประกอบของการลุกขึ้นยืน มีดังนี้
- 1. ขยับตัวมาชิดขอบเตียง วางเท้าให้แนบกับพื้นในระดับเดียวกัน เลื่อนเท้าทั้งสองข้างไปด้านหลัง ให้
อยู่หลังต่อข้อเข่า
- 2. กระตุ้นให้โน้มตัวมาด้านหน้า น้ำหนักตกลงขาทั้งสองข้างอย่างเท่ากัน
- 3. กระตุ้นการเหยียดเข่า สะโพก และยืดลำตัวขึ้นให้ตรง (ญาติหรือผู้ดูแลอาจช่วยออกแรงกดเข่าด้าน
อ่อนแรงของผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วยลุกขึ้นยืน เพื่อป้องกันเข่าทรุด)
กล้ามเนื้อมัดสำคัญในการลุกขึ้นยืนในช่วงนี้ ได้แก่
3.1 กล้ามเนื้อเข่า; นำหมอนรองใต้เข่า และเหยียดเข่าขึ้นทำซ้ำๆ
3.2 กล้ามเนื้อสะโพก และกล้ามเนื้อลำตัว; ชันเข่าทั้งสองข้างจากนั้นยกสะโพกและลำตัวขึ้น
การพิจารณาความถี่ของการออกกำลังกายรวมถึงวิธีการลุกขึ้นยืนขึ้นอยู่กับผู้ป่วยเป็นหลัก ดังนั้นควรได้รับการฝึกฝน ซึ่งเพื่อให้สามารถลุกขึ้นยืนได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และปลอดภัยควรได้รับคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัด นอกจากนี้มีการศึกษาการฝึกลุกขึ้นยืน การยืนอย่างถูกต้องจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำกิจกรรมต่างๆที่ต้องอาศัยการลุกขึ้นยืน เป็นต้น
Stand up to be safe among people with diabetes.
Properly and safely train the patient’s brain to stand up, it is very important to practice standing up properly, as the brain exercises stand-up patterns, joint position awareness, weighting. This includes the use of significant muscle force to aid in standing still, which may take the senses and the vocal cords to the effect on the scale, to provide the correct assessment of the changes in movement standing there. Resting the ability of the body to walk from the base position from wide from the thigh, then towards the base, where the feet are essential while standing up, is the ability to examine the body of the body while exiting the base position.
เอกสารอ้างอิง
de Sousa, D. G., Harvey, L. A., Dorsch, S., Varettas, B., Jamieson, S., Murphy, A. and Giaccari, S. (2019). Two weeks of intensive sit–to–stand training in addition to usual care improves sit–to–stand ability in people who are unable to stand up independently after stroke: a randomised trial. Journal of physiotherapy, 65(3), 152-158.