ข้อห้าม ข้อควรระวัง ในการทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมอง
![](https://www.rebrain-physio.com/wp-content/uploads/2024/01/ART00032-300x200.jpg)
การฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยภายหลังจากการเป็นโรค หลอดเลือดสมอง นอกจากผู้ป่วยจะได้รับการรักษาทางยาที่เหมาะสมจากแพทย์แล้ว กายภาพบำบัดเป็นอีกหนึ่งการรักษาที่สำคัญและมีบทบาทอย่างยิ่งที่จะช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและป้องกันภาวะแทรกซ้อนให้กับผู้ป่วย อย่างไรก็ถามควรคำนึงถือ ข้อห้าม และ ข้อควรระวังในการทำกายภาพบำบัด ซึ่งประกอบไปด้วย
ข้อควรระวัง
- ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ไม่คงที่
- ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกหัก กระดูกผุกร่อน
![](https://www.rebrain-physio.com/wp-content/uploads/2024/01/กระดูกพรุน-300x157.jpg)
- ผู้ป่วยข้อต่อที่มีการจำกัดการเคลื่อนไหวจากการหดรั้งของกล้ามเนื้อ
- ผู้ป่วยที่มีภาวะทางอารมณ์ เช่น เครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า
![](https://www.rebrain-physio.com/wp-content/uploads/2024/01/shutterstock_794191012-scaled-1-300x200.webp)
ข้อห้าม
- ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง อัตราการเต้นของหัวใจสูง ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำ (SpO2)
- ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัว วิงเวียนศรีษะ หรือบ้านหมุน
- ผู้ป่วยที่มีอาการกระสับกระส่าย กระวนกระวาย ตื่นตระหนก หรือหวาดกลัว
- ผู้ป่วยที่มีภาวะอักเสบเฉียบพลัน
- ผู้ป่วยที่มีไข้สูง
- ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อต่างๆ
ในขณะฝึกต้องหมั่นสังเกตอาการความผิดปกติต่อไปนี้ตลอดการฝึก ได้แก่
- ผู้ป่วยตัวเย็นหรือซีด
- เห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีเหงื่อออกมากผิดปกติ
- มีอาการคลื่นไส้
- มีการหายใจผิดปกติหรือหายใจลำบาก หอบเหนื่อย
- มีลักษณะนิ่ง สายตาว่างเปล่า เรียกไม่ตอบ
- ถ้าผู้ป่วยมีอาการข้างต้นหรือสัญญาณชีพ ( vital sings) ผิดปกติ ต้องหยุดการฝึกทันที
- ถ้าอาการดีขึ้นสามารถฝึกได้แต่ต้องปรับลดความหนักของการฝึก เช่น ปรับท่าทาง ลดจำนวนครั้ง หรือระยะเวลา หมั่นสังเกตอาการและตรวจประเมินสัญญาณชีพ ( vital sings) เป็นระยะ
- ถ้าพักแล้วไม่ดีขึ้น ควรหยุดการฝึก
อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่
FACEBOOK :: ReBRAIN
อ้างอิง
- Butsara chinsongkram, PhD., PT. Faculty 0f Physical Therapy, Rangsit University
Contraindications and precautions for physical therapy in stroke patients
Rehabilitation of patients after a stroke In addition to the patient receiving appropriate medical treatment from the doctor, Physical therapy is another important treatment and plays an important role in helping to restore physical function and prevent complications for patients. However, you should consider the contraindications and precautions for physical therapy. which consists of
Precautions
Patients with high blood pressure Unstable heart rate
Patients with bone fractures decayed bones
Patients with joints whose movement is limited due to muscle contraction
Patients with emotional conditions such as stress, anxiety, and depression.
Prohibition
Patients with high blood pressure high heart rate Low amount of oxygen in the blood (SpO2)
Patients with headaches Dizziness or vertigo
Patients who are agitated, restless, panicked, or afraid.
Patients with acute inflammation
Patients with high fever
Patients with various infections
While training, you must observe the following abnormal symptoms throughout training:
The patient is cold or pale.
It was clearly seen that he was sweating excessively.
have nausea
Have abnormal breathing or difficulty breathing, panting
Has a still look, blank eyes, calls without answering
If the patient has any of the above symptoms or vital signs (vital sings) are abnormal, training must be stopped immediately.
If your symptoms improve, you can continue training, but you must reduce the intensity of your training, such as adjusting your posture, reducing the number of times or duration. Observe your symptoms and check your vital signs periodically.
If you rest and it doesn’t get better You should stop training.