หลอดเลือดสมอง มีอะไรบ้าง

หลอดเลือดสมอง มีอะไรบ้าง

 

หลอดเลือดสมอง มีอะไรบ้าง บทความวันนี้ เราจะมาดูหน้าที่ของหลอดเลือดสมองกันนะคะ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke ทุกท่านคงเคยได้ยิน หรือ รู้จักกันมาบ่อยแล้ว แต่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า หลอดเลือดสมองที่มีการ ตีบ แตก หรือ ตัน นี้แท้จริงมีกี่เส้น และ แต่ละเส้นมีความสำคัญ หรือ มีอาการถุเฉพาะอย่างไรกันบ้าง วันนี้ ReBRAIN จะพาไปทำความรู้จักกันค่ะ

 

หลอดเลือดสมองมีหน้าที่ในการนำเลือดจากหัวใจมาเลี้ยงสมอง โดยสมองต้องใช้เลือดปริมาณ 15% ของเลือดทั้งหมดในร่างกาย เพื่อใช้ในการหล่อเลี้ยงสมอง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเส้นเลือด คือ  Carotid  artery และ  Vertebral artery ซึ่งจะแตกแขนงย่อยออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของสมอง ดังนี้

 

  1. Internal carotid artery (ICA) : เป็นหลอดเลือดขนาดใหญ่ ทอดยาวมาจากคอ ขึ้นสู่โพรงสมอง สาเหตุการขาดเลือด มักเกิดจากภาวะหลอดเลือดแข็งตัว แต่จะไม่มีอาการแสดงใดๆ หากการไหลเวียนเลือดดี แต่ถ้ามีการอุดตันแบบสมบูรณ์ (complete occlusion) จะทำให้เนื้อสมอง ตายเป็นวงกว้าง เพราะจะมีผลต่อเส้นเลือด MCA และ ACA ด้วย และ อาการแสดงจะเปลี่ยนไป ขึ้นกับเส้นเลือดที่มีการอุดตัน

 

  1. Middle cerebral artery (MCA) : จะไปเลี้ยงที่ด้านนอก ของซีกสมองใหญ่ (cerebral) สมองใหญ่ส่วนหน้า (Frontal lobe) รวมทั้ง สมองใหญ่ส่วนข้าง (Parietal lobe) เป็นเส้นเลือด ที่เกิดการแตก ตีบ หรือตันบ่อยที่สุด

– อาการแสดง คือ ด้านตรงข้ามด้านที่มีปัญหา ผู้ป่วยจะสูญเสียการรับความรู้สึก

–  กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง

– กล้ามเนื้อแขนอ่อนแรงมากกว่าขา

– มีปัญหาด้านการสื่อสาร(Aphasia)

– ด้านการการพูด(Apraxia)

– การมองเห็นภาพครึ่งซีก(Homonymous hemianopia)

 

  1. Anterior cerebral artery (ACA) : จะไปเลี้ยงที่บริเวณด้านบนของสมองใหญ่ส่วนหน้า (frontal lobe) และ สมองใหญ่ส่วนขมับ (Temporal lobe)

– อาการแสดง คือ ด้านตรงข้ามด้านที่มีปัญหา ผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงมากกว่าแขน

– สูญเสียการรับความรู้สึก (cortical sensory loss)

– ปัญหาด้านการสื่อสาร (Aphasia)

– ด้านการการพูด(Apraxia)

– ด้านความทรงจำ , ด้านพฤติกรรม

– มีปัญหาด้านการกลั้นปัสสาวะ

 

  1. Posterior cerebral artery (PCA) : จะไปเลี้ยงที่บริเวณสมองใหญ่ส่วนท้ายทอย (occipital lobe), บางส่วนของ สมองใหญ่ส่วนขมับ(Temporal lobe), ทาลามัส (Thalamus) และส่วนบนของก้านสมอง (Brain stem)

– อาการแสดง คือ ด้านตรงข้ามด้านที่มีปัญหาผู้ป่วยจะสูญเสียการรับความรู้สึก

– มีภาวะรับความรู้สึกไวเกินหรือปวด(thalamic sensory syndrome) คือผู้ป่วยจะรู้สึกปวดหรือแสบร้อนที่ผิวหนังและส่วนลึกของร่างกาย เมื่อมีสิ่งกระตุ้น

– การมองเห็นภาพครึ่งซีก (Homonymous hemianopia)

– ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา (visual agnosia)

– อาการตาบอดจากความผิดปกติของสมอง (cortical blindness)

 

  1. Vertebrobasilar artery: จะไปเลี้ยงที่บริเวณก้านสมอง(Brain stem) และสมองน้อย (Cerebellum)

– อาการแสดงที่มีปัญหาบริเวณเส้นประสาทสมอง(Cranial nerves) ได้แก่ การเห็นภาพซ้อน(diplopia), การกลืนลำบาก(dysphagia), การพูดไม่ชัด(dysarthria) ความบกพร่องในการได้ยิน (deafness) และอาการเวียนศีรษะ(vertigo)

– อาการเดินเซ(ataxia)

– การเสียสมดุลการทรงตัว(Equilibrium disturbances)

– ปวดศรีษะ(Headaches)

 

สมองแต่ละส่วนมีหน้าที่การควบคุมสั่งการเฉพาะส่วนที่แตกต่างกัน ทำให้เมื่อเส้นเลือดเกิดขาดเลือดไปเลี้ยงที่สมองส่วนนั้นจะมีอาการแสดงเฉพาะที่แตกต่างกันไป การวางแผนการรักษา และดูแลก็จะต้องแตกต่างกันไปด้วย ขึ้นกับบริเวณที่มีการขาดเลือด อาจต้องปรึกษานักกายภาพโดยละเอียดเพื่อราวแผนการรักษาต่อไป หากมีข้อสงสัยอยากสอบถามเพื่มเติมสามารถสอบถามเข้ามากับทาง ReBRAIN ได้เลยนะคะ

แหล่งที่มา

Martin S, Kessler M. (2000) Neurologic intervention for physical therapist assistants. WB Saunders, Philadelphia, une http://www.neuroland.com/evd/stroke anat.htm)

เอกสารประกอบการสอนเรื่องพยาธิสภาพโรคหลอดเลือดสมอง มหาวิทยาลัยรังสิต

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top