อาการสั่น ในผู้ป่วย stroke
ทุกๆคนสงสัยหรือไม่ครับว่า ขณะที่ผู้ป่วยกำลังฝึกการออกกำลังกายหรือฝึกการเคลื่อนไหว เช่น การยืน การเดินอยู่นั้น ทำไมผู้ป่วยถึงเกิด อาการสั่น โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจให้เกิดอาการสั่นเหล่านั้นขึ้น วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมกันครับว่า อาการสั่นที่เราไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้นขณะทำการฝึกหรือออกกำลังกายนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง มารับชมไปพร้อมกันครับ
อาการสั่นในผู้ป่วย stroke นั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาการสั่นจากแต่ละสาเหตุก็มีวิธีในการแก้ไขและการจัดการแตกต่างกันไป ต่อไปเราจะมาดูกันครับว่าอาการสั่นนั้นเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง
1.อาการสั่นจากอาการล้า อาการสั่นจากอาการล้ามักเกิดหลังการฝึกการเคลื่อนไหว ขณะออกกำลังกายหรืออาจะเกิดขณะออกกำลังกายก็ได้ ซึ่งเกิดจากการที่กล้ามเนื้อของผู้ป่วยมีแรงค่อนข้างน้อย หรือโปรแกรมการออกกำลังกายนั้นหนักเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อที่ออกแรงในมัดนั้นๆทำงานหนักเกินกว่าปกติ ที่ร่างกายจะรับไหว จนทำให้เกิดอาการล้าของกล้ามเนื้อซึ่งทำให้เกิดอาการสั่นตามมาได้ ซึ่งอาการสั่นจากการล้าสามารถแก้ไขได้โดย การหยุดพักการออกกำลังกายและการฝึก รวมถึงยืดกล้ามเนื้อและประคบอุ่นเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดและป้องกันการเกิดอาการบาดเจ็บของล้ามเนื้อได้อีกด้วย
2.อาการสั่นจากระบบควบคุมการสั่งการของกล้ามเนื้อ ( Poor motor control ) อาการสั่นในลักษณะนี้จะพบได้ในการสั่งการขณะทำการเคลื่อนไหว หรือ การฝึกการออกกำลังกาย ซึ่งจะเห็นได้ขณะผู้ป่วยพยายามออกแรงเพื่อเคลื่อนไหวจะเกิดอาการสั่นขณะทำท่านั้นๆซึ่งเกิดจากการสั่งการของกล้ามเนื้อที่สมองรับคำสั่งในการเคลื่อนไหวและการแปลผลของร่างกายที่ไม่ถูกต้องของสมองจึงทำให้เกิดอาการสั่นขณะเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถแก้ได้โดยการฝึกการออกกำลังกายแบบควบคุมกล้ามเนื้อ โดยการให้ออกแรงเราจะให้คำสั่งใหม่ โดยให้คำสั่งว่าให้ค่อยๆออกแรง ควบคุมกล้ามเนื้อค้างไว้ให้นิ่ง ไม่ให้สั่น หรือมีการกำหนดเป้าหมายในการออกแรง เช่น งอศอกเอามือแตะปาก เป็นต้น
3.อาการสั่นจากการเกร็ง อาการสั่นลักษณะมักเกิดจาก การที่เราพยายามออกแรงมาจนเกินไป ออกแรงกล้ามเนื้อผิดมัดหรือผิดวิธีซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตนเองออกแรงเยอะมากๆ และทำให้เกิดอาการล้าง่ายขึ้นตามมาด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ ซึ่งสามารถแก้ได้โดยฝึกการผ่อนคลายของผู้ป่วยและฝึกการออกกำลังกายโดยเน้นการออกแรงให้น้อยลงและออกแรงให้ถูกต้องมากขึ้น
ซึ่งอาการสั่นในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่กล่าวมาข้างต้นนี้ถึงจะไม่มีอันตรายใดๆกับผู้ป่วยแต่ถ้าหากไม่แก้ไขหรือปล่อยปละละเลยจะส่งผลให้คุณภาพของการเคลื่อนไหว การควบคุมการเคลื่อนไหวในท่าต่างๆมีอาการสั่น ไม่สามารถออกแรงคงค้างไว้ได้และไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหว ในท่าที่ถูกต้องได้ในช่วงขณะ ยืน เดิน หรือขณะออกกำลังกาย ส่งผลให้คุณภาพการเคลื่อนไหวและการฟื้นฟูช้าลงด้วย
ดังนั้นการทำกายภาพบำบัดและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั้นเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการฟื้นฟู แต่การออกกำลังนั้นก็จะต้องได้รับการฝึกออกกำลังกายอย่างถูกต้องและเหมาะสม สอดคล้องกับปัญหาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยแต่ละคนเพื่อประสิทธิภาพของการฟื้นฟูที่ดีและสามารถแก้ปัญหาการเคลื่อนไหวได้อย่างตรงจุดและถูกต้อง
อ้างอิง
- REBRAIN ทีมนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง . แขนสั่น ขาสั่น ทำกายภาพได้ไหม( 20 เมษายน 2020 )
2.นางสาวอนุรักษ์ แสงจันทร์. ปัจจัยทำนายอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต มหาจุฬาลงกรณ์( 19 ธันวาคม 2017 )
Tremor in stroke patients
”Does everyone wonder that While the patient is practicing exercise or practicing movement such as standing and walking. Why do patients experience tremors that we did not intend to cause those tremors? Today we will find the answer together. Tremors that we did not intend to occur while training or exercising How did it happen? What are the causes? Come watch together.
Tremor in stroke patients can be caused by many reasons. Each cause of tremors has different methods of correction and management. Next, we will take a look at what causes the shaking to occur.
1. Tremors from fatigue Fatigue tremors often occur after movement training. While exercising or it can happen while exercising. This is caused by the patient’s muscles having relatively little strength. or the exercise program is too intense Makes the muscles that exert force in that group work harder than normal. that the body can bear Until it causes muscle fatigue, which can cause tremors. The vibration from fatigue can be corrected by Taking breaks from exercise and training Including stretching the muscles and applying warm compresses to increase blood circulation and prevent muscle injury.