อากาศ ร้อน กับ ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
อากาศร้อนจัดต้องระวัง ! ภาวะฮีทสโตรก ภัยฉุกเฉินจากฤดู ร้อน ภัยจากอากาศร้อนมีตั้งแต่อาการน้อยจนถึงอาการมาก ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยได้แก่ คนไข้ที่มีอาการตั้งแต่การบวมเฉพาะปลายมือ ปลายเท้า คนไข้ที่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เวียนหัว ผู้ป่วยที่มีอาการมาก ได้แก่ กลุ่มคนไข้ที่มีอาการขาดน้ำจากการสูญเสียความร้อนเยอะ และอีกกลุ่มคือกลุ่มฮีทสโตรก เป็นกลุ่มที่รุนแรงที่สุด ฮีทสโตรกสามารถทำให้เสียชีวิตได้ ความร้ายแรงของฮีทสโตรก คือ ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจะทำให้ระบบในร่างกายทำงานผิดปกติไป โดยความผิดปกติเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ มึนศีรษะ ปวดศีรษะ อันนี้เป็นอาการเริ่มต้น หลังจากนั้น ถ้าเราไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ ก็จะทำให้เกิดอาการฮีทสโตรก ก็จะมีอาการที่มีความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไป อาจจะมีภาวะชัก หรือว่าการหมดสติจากการที่หัวใจเราเต้นผิดจังหวะได้ และสุดท้ายคือเสียชีวิตได้
โรคลมแดดหรือภาวะฮีทสโตรก(Heatstroke) เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไป ซึ่งมักเกิดจากการทำงาน ใช้แรงงานหรือออกกำลังกายอย่างหนัก ในภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง ภาวะฮีทสโตรกมักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูง 40 องศาเซลเซียส (104 ฟาเร็นไฮต์) หรือมากกว่า และ มักจะเกิดในช่วงฤดู ร้อน หรือบริเวณที่มีความชื้น ในอากาศสูง ภาวะฮีทสโตรกอาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที ที่สำคัญหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ล่าช้าจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย โดยบางรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้
สาเหตุโรคลมแดด โรคลมแดดแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามสาเหตุที่ทำ ให้เกิด ได้แก่
-
Classic Heatstroke or Non – Exertional Heatstroke เกิดจากการที่ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิสูง ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงตาม มักพบ ในผู้ที่อยู่ในบริเวณที่อากาศร้อนและชื้นเป็นเวลานาน
-
Exertional Heatstroke ในกรณีนี้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจากการทำงานหรือออกกำลังกายอย่างหนัก ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง และโอกาสเกิดจะเพิ่มขึ้น ในผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับอากาศร้อน การสวม ใส่เสื้อผ้าที่หนาและมากเกินไปจนเหงื่อระเหยและระบายความร้อนได้ยาก ภาวะขาดสารน้ำ การดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งทำ ให้กลไกการควบคุมอุณหภูมิร่างกายผิดปกติไปก็เป็นสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิดฮีทสโตรกได้
กลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะโรคลมแดด ได้แก่ กลุ่มที่ต้องทำงานอยู่กลางแจ้ง เช่น คนงานก่อสร้าง นักวิ่งมาราธอน,คนสูงอายุ กลุ่มเด็ก พวกนี้จะมีการสูญเสียความร้อนได้มากกว่ากลุ่มวัยรุ่นปกติ,คนไข้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ต้องใช้ยาโรคประจำตัว เช่น โรคพาร์กินสัน โรคความดันโลหิตสูง กลุ่มนี้ มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลมแดดได้มากขึ้น
ลมแดดกับโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะ Heatstroke แตกต่างจาก Stroke ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินอีกชนิดของระบบประสาทที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ / อุดตัน (Ischemic Stroke) หรือแตก (Hemorrhagic Stroke) ซึ่งมักจะทำให้เกิดอาการ อ่อนแรง ชา พูดลำบาก ปากเบี้ยว หรือการทรงตัวผิดปกติเฉียบพลัน โดยผู้ป่วย Stroke ต้องได้รับการ รักษาเร่งด่วนเช่นกัน แต่จะมีแนวทางการวินิจฉัยและการรักษาที่แตกต่างไปจาก Heatstroke โรคลมแดดทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เกิดการชัก สมองบวม และอาจทำให้เกิดการเสียหายถาวรของเซลล์สมอง , ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย (Rhabdomyolysis) , ภาวะกล้ามเนื้อสลายอาจทำ ให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ , การสูญเสียสารน้ำ ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงตับลดลง อาจทำให้เกิดภาวะตับวาย , การทำงานที่หนักขึ้นของหัวใจ อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและเกิดภาวะหัวใจวายได้ , อาจทำให้เกิดภาวะวิกฤติทางระบบการหายใจ (Acute Respiratory Distress Syndrome) , อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่ายหรือเกิดลิ่มเลือด ในร่างกาย
การปฐมพยาบาลกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคฮีทสโตรก อย่างแรกคือ ต้องดูว่าคนไข้มีภาวะความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไปหรือเปล่า ถ้ามีภาวะความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไป ให้ไปคลำชีพจรดูว่าการหายใจเขาผิดปกติหรือเปล่า ถ้ามีการหายใจที่ผิดปกติ ต้องทำ CPR และโทร 1669 เพื่อเรียกรถพยาบาลมารับผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว ในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังมีความรู้สึกตัวที่ปกติดีอยู่ ก็สามารถนำผู้ป่วยเข้ามาในที่ร่มได้ และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เยอะ ๆ และรีบลดอุณหภูมิกายโดยการใช้น้ำแข็ง หรือการใช้ cool blanket คือการใช้ผ้ายาง ใส่น้ำแข็งลงไป แล้วให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในตรงนั้น ถ้ามีพัดลม สามารถเปิดพัดลมได้ ถ้าใช้เป็นผ้าชุบน้ำ ในคนไข้ที่เป็นโรคกลุ่มฮีทสโตรก มักจะไม่ค่อยได้ผล แต่สามารถใช้ได้ โดยการเช็ดตัวให้เช็ดตัวเหมือนผู้ป่วยที่เป็นไข้ คือเช็ดสวนขึ้นมาเข้าทางหัวใจ เช็ดทางเดียว และเปิดพัดลม
สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองอยู่แล้ว ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคลมแดด หรือหากอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนร่วมกับขาดน้ำ อาจจะทำให้เกิดโรคลมแดดง่ายขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเส้นเลือดสมองตีบอุดตันซ้ำได้ เพราะเมื่อร่างกายเสียน้ำในปริมาณมาก จะทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะเส้นเลือดสมองตีบ มีโอกาสเกิดโรคซ้ำได้ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงสภาพอากาศร้อนจัด ดื่มน้ำให้มากเพียงพอ รับประทานยาสม่ำเสมอ จะช่วยลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำของโรคเส้นเลือดสมองตีบอุดตัน และป้องกันการเป็นโรคลมแดดได้อีกด้วย
อ้างอิง
- กรมการแพทย์ DEPARTMENT OF MEDICAL SERVICES
- Rama Channel : ฮีตสโตรกจากอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต
- พญ.ดวงพร รุธิรโก จากเว็บไซค์ www.bangkokinternationalhospital.com : อากาศร้อนต้องระวังโรคลมแดด
Hot weather and stroke patients
The weather is extremely hot, so be careful! Heatstroke, a summer emergency The dangers of hot weather range from mild to severe symptoms. Patients with mild symptoms include: Patients with symptoms ranging from swelling only at the tips of the hands and feet, to patients with muscle aches, headaches, and dizziness. Patients with severe symptoms include those who are dehydrated from a lot of heat loss. And another group is the heatstroke group. It is the most violent group. Heatstroke can cause death. The seriousness of heat stroke is that the body’s temperature rises. When the body temperature rises, it causes the systems in the body to function abnormally. Abnormalities can occur from dizziness to headaches. These are the initial symptoms. After that, if we cannot control the temperature It will cause heatstroke symptoms. There will be symptoms of abnormal consciousness. There may be seizures. or unconsciousness from our heart beating irregularly and finally, death