ความจำเป็นของสาร อาหาร โปรตีนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ความจำเป็นของสาร อาหาร โปรตีนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

สาร อาหาร ที่เราควรจะได้รับ ทุกคนก็คงจะรู้กันอยู่แล้วว่าเราควรได้รับสารอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ใน 1 วัน ซึ่งแต่ละตัวล้วนมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน โดยสารอาหารที่มีความสำคัญ
ต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อนั้นก็คือ โปรตีน ซึ่งในบทความต่อไปนี้จะมาพูดถึงความสำคัญและความจำเป็นของการโปรตีนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองว่าควรหรือไม่ควรกินอย่างไร

โปรตีน คือสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกาย โดยมีหน้าที่ในการให้พลังงานแก่ร่างกาย    เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และช่วยในการทำงานของกระดูกและผิวหนัง ซึ่งโปรตีนสามารถ
แบ่งออกได้ 2 อย่างคือ 1. จากสัตว์  2. จากพืช

โปรตีนจากสัตว์ โปรตีนจากพืช
ได้กรดอะมิโนสมบูรณ์ ได้กรดอะมิโนสมบูรณ์(กินถูกต้อง)
มีไขมันสูง มีไขมันต่ำ
ไม่มีไฟเบอร์ มีไฟเบอร์สูง
ร่างกายแก่เร็ว ชะลอการแก่
เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
กลุ่มเนื้อแดงเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้
ทำให้อ้วนง่าย ช่วยลดน้ำหนักและรักษาโรคอ้วน

 

โดยโปรตีน ถือเป็นสารอาหารหลัก ที่ร่างกายต้องการ ในปริมาณมากในแต่ละวัน การเลือกทานโปรตีนนั้น จึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ของแต่ละบุคคล แต่ละช่วงวัย เพศ สุขภาพ น้ำหนัก พฤติกรรม การเคลื่อนไหวร่างกาย และ กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน และโดยปกติ เมื่อเราอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อจะลดลงในทุกปี เมื่ออายุ 40-70 ปี กล้ามเนื้อจะลดลง 8% ทุก 10 ปี เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป กล้ามเนื้อจะลดลง 15% ทุก 10 ปี โดยเมื่อกล้ามเนื้อลดน้อยลง จะทำให้เรี่ยงแรงหดหาย ทรงตัวได้ไม่ดี เสียงต่อการบาดเจ็บได้ง่าย และมีภูมิคุ้มกันลดลง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเสริมโปรตีน แล้วเราควรเลือกกินโปรตีนที่ปริมาณเท่าไหร่ดี ??

ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับในแต่ละวัน

บุคคลทั่วไป ควรได้รับโปรตีนที่ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

ผู้ที่มีความต้องการโปรตีนน้อยกว่าปกติ  ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนฟอกไต จำกัดโปรตีนที่ 0.6-0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
ผู้ที่มีความต้องการโปรตีนมากกว่าปกติ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไต ผู้ป่วยที่มีแผลไฟไหม้ แผลกดทับ ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยมะเร็ง หรือนักกีฬาที่ต้องเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ควรได้รับโปรตีน 1.2-2 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

ถ้าหากได้รับโปรตีนน้อยเกินกว่าปริมาณที่กำหนดอาจส่งผลให้เจริญเติบโตช้า อ่อนเพลีย สมองสั่งการช้ากว่าปกติทำให้มีความต้านทานต่อโรคต่ำ แผลหายช้า อ่อนแรง ติดเชื้อได้ง่าย ผิวหนังบาง
กล้ามเนื้ออ่อนแรง และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
ซึ่งในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความต้องการใช้โปรตีนเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และซ่อมแซมเนื้อเยื่อจึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับโปรตีน 1.2-2 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน โดยควรเลือกทานโปรตีนที่ดีและรับประทานให้เพียงพอเพื่อการฟื้นตัวที่ดีของผู้ป่วย โดยนอกจากโปรตีนที่ได้จากพืชและสัตว์โดยตรงยังมีอาหารเสริมทางการแพทย์ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารให้ครบตามปริมาณที่เหมาะสมได้

การรับประทานโปรตีน ควรเลือกให้เหมาะสมและปริมาณเพียงพอในแต่ละบุคคล และไม่ควรเน้นรับประทานเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรรับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ด้วย โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ต้องมีการฟื้นตัว และมีการฝึกหรือออกกำลังกาย โปรตีนจึงมีความสำคัญในการช่วยซ่อมสร้างกล้ามเนื้อเป็นอย่างมาก จึงไม่ควร    ที่จะละเลยเรื่องการกิน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ จำเป็นที่จะต้องเสริมโปรตีนอย่างมาก เพื่อช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ โดยหากมีข้อสงสัยหรือคำถามสามารถสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับคำแนะนำ ที่ถูกต้องและเหมาะสม

 

Nutrient and protein necessity in patients with cerebrovascular disease

Nutrients that we should be getting Everyone probably already knows that we should get all the nutrients in all 5 food groups in 1 day, each of which has different functions. by nutrients that are important
To build muscle is protein, which in the following article will talk about the importance and necessity of protein in stroke patients should or should not eat and how.

Protein is a nutrient that is important to the body. with the function of providing energy to the body strengthen muscles tissue repair and helps in the functioning of bones and skin which proteins can
They can be divided into two types: 1. from animals 2. from plants

 

Reference

  1. Arsava et al. (2018). Nutritional Approach and Treatment in Patients with Stroke, An Expert Opinion for Turkey Turk J Neurol, 24: 226-242.

2.ชฎาพร หนองขุ่นสาร. (2018). เลือกโปรตีนอย่างไรให้เหมาะสมกับร่างกาย.ข้อมูลสุขภาพ.

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top