การรักษาฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เอ็นกล้ามเนื้อหัวไหล่ฉีก
ภาวะ เอ็นกล้ามเนื้อหัวไหล่ฉีก (Rotator cuff Tear) ในกลุ่มกล้ามเนื้อหัวไหล่เป็นอาการที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวไหล่มีอาการบาดเจ็บดังเดิมและเกิดอาการบาดเจ็บในบริเวณนั้นซ้ำๆ จนทำให้เอ็นกล้ามเนื้อหัวไหล่ค่อยๆเริ่มฉีกขาดทีละน้อยๆจนกระทั่งเกิดการฉีกขาดอย่างถาวร ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด บวมและไม่สามารถเคลื่อนไหวหัวไหล่ได้ วิธีการรักษาที่สำคัญคือ การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเอ็นกล้ามเนื้อหัวไหล่ที่ฉีกขาดให้กลับมา ซึ่งวันนี้ทาง ReBRAIN จะมาพูดการรักษาฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดหลังจากการผ่าตัดเอ็นกล้ามเนื้อหัวไหล่ฉีก
ภาวะเอ็นกล้ามเนื้อหัวไหล่ฉีกขาด(Rotator cuff Tear) เกิดจากมีเส้นเอ็นกล้ามเนื้อฉีกขาด ส่วนใหญ่จะฉีกขาดบริเวณตำแหน่งที่เส้นเอ็นเกาะกับกระดูกส่วนหัว (Humerus) ซึ่งอาจฉีกเส้นเดียวหรือหลายเส้นก็ได้ ซึ่งเกิดจากการเสียดสีกับบริเวณกระดูกด้านบน (Acromion) กับตัวเส้นเอ็น โดยแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆคือ 1.เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น เกิดจากท่าทางที่มีแรงกระทำต่อเส้นเอ็นกล้ามเนื้อหัวไหล่อย่างรุนแรง ล้มลงขณะที่แขนอยู่ท่าเหยียดแขนยันพื้น เป็นต้น 2. เกิดจากความเสื่อมของเอ็นกล้ามเนื้อหัวไหล่ ซึ่งเกิดได้จาก ความเสื่อมตามอายุทำให้เมื่อเกิดการบาดเจ็บที่บริเวณเอ็นกล้ามเนื้อจะทำให้การฟื้นตัวของเอ็นกล้ามเนื้อได้ช้าลง หรือเกิดจากคนที่มีกิจกรรมที่ออกแรงบริเวณข้อไหล่เป็นระยะเวลานานๆเช่นนักกีฬาแบดมินตัน ว่ายน้ำ เบสบอล , คนที่แรงในการยกของขึ้นเหนือศีรษะเป็นประจำ เป็นต้น ทั้ง 2 สาเหตุที่กล่าวมาทำให้เกิดอาการปวด บวม เกิดการจำกัดการเคลื่อนไหวในที่สุด
การรักษาเอ็นกล้ามเนื้อหัวไหล่ฉีกขาด(Rotator cuff Tear) จะนิยมรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องเข้าไปในบริเวณที่มีการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อหัวไหล่ สำหรับการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดส่องกล้องรักษาอาการเอ็นกล้ามเนื้อหัวไหล่ฉีกขาด ได้แก่
1.ผู้ป่วยรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดเนื่องจากโรคประจำตัว ให้หยุดยาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
2. ตรวจร่างกายก่อนการผ่าตัด
3.นอนพักผ่อนให้เพียงพอ งดสูบบุหรี่หรือดื่มสุรา
4. งดน้ำและอาหารทุกชนิดก่อนการผ่าตัด 6-8 ชั่วโมง
หลังการผ่าตัดจะต้องใส่ที่คล้องแขนเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์เพื่อรอให้เอ็นกล้ามเนื้อสมานกัน โดยมีข้อห้ามข้อควรระวังดังนี้
1.ระวังการออกกำลังกายที่มากจนเกินไปในบริเวณข้อไหล่
2. ควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดถึงข้อห้ามและข้อจำกัดในการรักษา เช่น เคลื่อนไหวได้ไหน ห้ามเคลื่อนไหวในทิศทางใดหรือท่าทางใดบ้าง ลงน้ำหนักได้กี่เปอร์เซ็นต์
3. ให้ระวังการเคลื่อนไหวข้อต่อไปในทิศที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างที่ได้รับการซ่อมแซม
4. ในระยะ 1-6 สัปดาห์แรก ผู้ป่วยจะต้องใช้ที่คล้องแขนเพื่อพยุงข้อไหล่ แต่สามารถถอดได้ในขณะออกกำลังกายกำลังกายได้
การรักษาทางกายภาพบำบัดจะแบ่งเป็น 3 ช่วงหลังจากการผ่าตัดเอ็นกล้ามเนื้อหัวไหล่
ระยะแรก(ช่วงหลังผ่าตัดถึง 6 สัปดาห์แรก) จะเน้นรักษาเพื่อลดอาการอาการปวด บวมบริเวณที่มีการผ่าตัด รักษาระดับการเคลื่อนไหวของข้อต่อให้อยู่ในองศาปกติ เช่น การใช้ความเย็น,การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า,อัลตราซาวน์หรือเครื่องกำเนิดความร้อนลึกแบบคลื่นสั้นเพื่อลดอาการปวดและบวม , การออกกำลังกายแบบใช้แรงช่วยจากคนอื่น(Passive Exercise) การออกกำลังกายแบบกล้ามเนื้อหดตัวคงค้างโดยไม่เกิดการเคลื่อนไหว (Isometric exercise)
ระยะที่สอง (ช่วง 6 สัปดาห์ถึง 12 สัปดาห์) จะเน้นการรักษาเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวไหล่(โดยเฉพาะกลุ่มกล้ามเนื้อ Rotator cuff) และเพิ่มการรับรู้ของแรงที่ข้อไหล่ เช่น การออกกำลังกายแบบออกแรงเคลื่อนไหวเอง(Active exercise) โดยเน้นออกกำลังกายในท่าทางยกแขนขึ้น เหยียดแขน กางแขนออก กางแขนเข้า หมุนหัวไหล่เข้าและออก เป็นต้น โดยขณะออกกำลังกายจะต้องมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเจ็บเลย , การออกกำลังกายแบบมีแรงต้านโดยให้แรงต้านน้อยๆ
ระยะที่สาม (ช่วงหลัง 12 สัปดาห์) จะเน้นการรักษาเพื่อเตรียมตัวกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น การออกำลังกายแบบมีแรงต้านโดยมีแรงต้านปานกลางถึงมาก (50-70%) โดยที่ขณะออกกำลังกายต้องไม่มีอาการปวดแล้ว
การออกกำลังกายระยะแรก การออกกำลังกายระยะที่ 2
References:
David J. Magee et al., Pathology and intervention in musculoskeletal rehabilitation 2ndEdition 2016
Maxey L, Magnusson J.Rehabilitation for the postsurgical orthopedic patient. 2nded. USA: Mosby Elsevier;2007.
Van der MeijdenOA, Westgard P, Chandler Z, GaskillTR, KokmeyerD, Millett PJ. Rehabilitation after arthroscopic rotator cuff repair: current concepts review and evidence-based guideline. IntJ Sports PhysTher2012; 7(2): 197-218.