โรคหลอดเลือดสมอง จะรับมืออย่างไรเมื่อเป็นโรคนี้

โรคหลอดเลือดสมอง จะรับมืออย่างไรเมื่อเป็นโรคนี้

โรคหลอดเลือดสมอง ขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเองและครอบครัว เนื่องจากอาการของโรคจะมีอาการแขนขาอ่อนแรงหรืออาจขยับไม่ได้เลยไปครึ่งซีก บางรายหนักกว่านั้นคือเป็นทั้ง 2 ซีก จึงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ กิจวัตรประจำวันการทำความสะอาดร่างกายก็ต้องอาศัยคนใกล้ชิดทำให้ แม้กระทั่งการขับถ่ายปัสสาวะอุจจาระก็ไม่สามารถควบคุมได้ การรับประทานอาหารอาจกลืนลำบาก กลืนไม่ได้ ผู้ดูแลอาจจะต้องเตรียมอาหารเหลวหรืออาหารอ่อนๆ ป้อนหรืออาจให้ทางสายยาง การสื่อสารที่มีปัญหา พูดไม่ได้พูดไม่ออก ฟังไม่เข้าใจ ทำให้เกิดความเครียดทั้งตัวผู้ป่วยเองและครอบครัว อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย เดี๋ยวหัวเราะเดี๋ยวร้องไห้ หรือซึมเศร้า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง ทำให้เกิดความเครียดทั้งตัวผู้ป่วยเองและครอบครัวแต่ถึงอย่างไรแล้วกำลังใจและการดูแลเอาใจใส่นั่นสำคัญมากสำหรับโรคนี้ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจอาการที่จะเกิดต่อผู้ป่วยเพื่อหาวิธีการช่วยเหลือ ให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามเดิมกันนะคะ

อาการสำคัญหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

  1. การสูญเสียการทรงตัว (Loss of Balance)

ปัญหาอาจเกิดจากความอ่อนแอของกล้ามเนื้อและพื้นที่ของสมองในส่วนการทรงท่าที่ได้รับความเสียหาย

  1. Aphasia หรือภาวะบกพร่องทางการสื่อความ เป็นความผิดปกติทางการสื่อสาร ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติในด้านทักษะของการสื่อสารและการใช้ภาษา ไม่สามารถโต้ตอบหรือทำความเข้าใจได้ และอาจมีปัญหาทางด้านการอ่านและการเขียนร่วมด้วย
  2. อัมพฤษกษ์ครึ่งซีก (hemiparesis) คือภาวะที่มีการอ่อนแรงของร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง เป็นภาวะที่คล้ายคลึงกับอัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia) แต่ไม่รุนแรงเท่า ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ครึ่งซีกจะพอขยับแขนขาข้างที่อ่อนแรงได้บ้าง เพียงแต่จะไม่มีกำลังมากเท่าปกติ
  3. พูดไม่ชัด(Slurred Speech)อาจเกิดจากกล้ามเนื้อปากไม่ค่อยมีแรงหรือเป็นอัมพาตในระหว่างที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองทำให้พูดไม่ชัด สิ่งนี้เรียกว่า Dysarthria หรือกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูดผิดปกติ คือความผิดปกติทางการพูดที่เกิดจากผู้ป่วย​ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพูดหรือเปล่งเสียงได้ตามปกติ5. ตาบอดครึ่งซีก (Hemianopsia) หมายถึง ภาวะที่ตาทั้งสองข้างเห็นภาพแหว่งไปครึ่งซีก อาจเป็นในตาข้างเดียวหรือสองข้างพร้อมกันก็ได้ซึ่งสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของสมอง ไม่ใช่สาเหตุจากความผิดปกติในดวงตา
  4. ภาวะบกพร่องทางสมอง (Cognitive Impairment) สิ่งนี้แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและมักขึ้นอยู่กับตำแหน่งพื้นที่ต่างๆของสมองที่ควบคุมการทำงานเช่น ความจําและการเรียนรู้สิ่งใหม่(learning and memory) ภาษา (language) การประมวลผล (executive function) สมาธิ (attention)รวมถึงการรับรู้และการเข้าใจที่แตกต่างกันออกไป
  5. การละเลยแขนขาข้างที่อ่อนแรง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักมีความตระหนักและความใส่ใจในด้านที่อ่อนแอลดลง เช่นไม่หันศีรษะไปทางด้านที่อ่อนแรง เวลาสวมใส่เสื้อผ้าจะลืมใส่แขนหรือขาที่อ่อนแรง
  6. บุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพที่พบบ่อยที่เกิดขึ้นหลังจากโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ความอ่อนแอ (อารมณ์แปรปรวนโดยไม่มีเหตุผลชัดเจน) ภาวะซึมเศร้า (การขาดความสนใจหรือความกังวล) ความวิตกกังวลความก้าวร้าวและความหุนหันพลันแล่น การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพเป็นผลข้างเคียงที่ยากที่สุดอย่างหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมองที่ผู้ดูแลต้องยอมรับและทำความเข้าใจ
  7. อาการกลืนลำบาก เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่จะต้องได้รับการประเมินภาวะกลืนลำบากซึ่งมีความยากลำบากหรือมีปัญหาในการกลืน ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องใส่ท่อให้อาหารเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารหรือเครื่องดื่มเข้าไปในปอด หากการกลืนบกพร่องการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มปกติอาจถึงแก่ชีวิตได้
  8. อาการเกร็ง (Spasticity) อาการเกร็งตึงกล้ามเนื้อแข็งทำให้เคลื่อนไหวโดยเฉพาะแขนหรือขายากหรือไม่สามารถควบคุมได้
  9. Hypotoniaหรือ Flaccidityคืออาการที่กำลังกล้ามเนื้อลดลงหรือไม่มีเลย อาการนี้มักจะเกิดขึ้นทันทีหลังจากที่ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ขาหรือแขนจะอ่อนปวกเปียก 12. Foot Drop (ปลายเท้าตก) อาการนี้มีลักษณะเฉพาะคือไม่สามารถยกส่วนหน้าของเท้าได้เนื่องจากกล้ามเนื้อมีแรงลดลงหรือเป็นอัมพาต ผู้ที่มีอาการเท้าตกมีความเสี่ยงในการล้มเพิ่มขึ้น

นี่เป็นเพียงอาการบางส่วนของโรคหลอดเลือดสมองเท่านั้น บางอย่างอาจรวมถึงภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร(apraxia) อาการวิงเวียนศีรษะ การขับถ่าย  การรับรู้กลิ่น การรับรู้รส ที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะฉะนั้นจึงอยากให้ทุกๆคนที่มีคนใกล้ชิดหรือญาติสนิทเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ทำความเข้าใจและให้กำลังใจผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจต่อสู้เพื่อที่จะได้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามเดิม

 

Cerebrovascular disease How to deal with this disease?

Cerebrovascular disease Then it will affect the patient himself and the family. Because the symptoms of the disease are limbs weakness or may not be able to move at all halfway. Some cases are heavier, ie both halves, and therefore cannot help themselves. Cleaning the body of the daily routine requires someone close to it Even the excretion of urine and feces is uncontrollable. Eating may difficulty swallowing, inability to swallow, caregiver may need to prepare liquid or soft food Enter or may be provided via the hose.

Problematic communication Cannot speak, cannot speak, cannot hear and understand, causing stress for both the patient himself and his family. Mood changes easily In the meantime, laughing, crying, or depression, the patient’s quality of life deteriorates. It causes stress for both the patient himself and his family, but after all,

encouragement and care is very important for this disease, so let’s understand the symptoms that will affect the patient and find a way to help. Allowing the patient to return to life as before

Major symptoms after stroke

Loss of Balance Problems can be caused by weakness in muscles and areas of the brain in damaged posture areas.

Aphasia, or a communication defect It is a communication disorder. Causing the patient to have abnormal communication skills and language Inability to respond or understand And may also have problems with reading and writing
Amphritk half halves (hemiparesis) is a condition in which one side of the body is weakened. This is a condition similar to hemiplegia, but not as severe. Patients with hemiplegia will be able to move some weak limbs. But not having as much power as usual
Slurred Speech) can be caused by weak mouth muscles or paralysis during a stroke, causing slurred speech.

This is called Dysarthria, or dyspnea, is a speech disorder caused by the patient being unable to control the muscles involved in normal speech or voice. Half blind (Hemianopsia) refers to a condition in which both eyes see half of the cleft. It can be in one or both eyes at the same time, which is caused by a malfunction of the brain. It is not caused by abnormalities in the eyes.Cognitive Impairment This varies from person to person and often depends on the location of the areas of the brain that control the function, such as: Memory and learning new things (learning and memory) language (language) processing (executive function) concentration (attention) as well as perception and understanding are different.
Neglect of limbs that are weak Cerebrovascular patients often have decreased awareness and care of their vulnerable areas.

For example, not turning your head to the weak side When wearing clothes, you forget to wear weak arms or legs.

Changing personality The most common personality changes that occur after a stroke include weakness (mood swings for no apparent reason), depression (lack of interest or anxiety), anxiety, aggression, and impulsivity. Personality changes are one of the toughest side effects of stroke that caregivers must accept and understand.
Difficulty swallowing It is very important for stroke patients to be assessed for dysphagia who have difficulty or have difficulty swallowing. Some patients may need a feeding tube to prevent food or drink from entering the lungs. If swallowing is impaired, regular food and drink can be fatal.

แหล่งอ้างอิง

1. Guidelines for adult stroke rehabilitation and recovery: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association CJ WinsteinJ SteinR Arena, B Bates, LR Cherney… – Stroke, 2016 – Am Heart Assoc.

  1. Stroke Association. State of the nation, Stroke statistics, February 2018.
  2. C Imarb – Journal of Health Science-วารสาร วิชาการ สาธารณสุข, 2019 – thaidj.org

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

 

 

 

 

โทร.
Scroll to Top