โรคหัวใจ ทำให้เกิดอัมพฤกษ์-อัมพาตได้อย่างไร?

 โรคหัวใจ ทำให้เกิดอัมพฤกษ์-อัมพาตได้อย่างไร?

มีใครเคยรู้ไหมว่า โรคหัวใจ สามารถทำให้เกิดอัมพฤกษ์-อัมพาตจากหลอดเลือดสมองอุดตันได้ ฟังดูก็น่าแปลก เอ๊ะมันเชื่อมโยงกันได้ยังไง? ไปหาคำตอบกันค่ะ

โรคหัวใจที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหลอดเลือดสมองอุดตันได้คือ โรคหัวใจเต้นผิดปกติชนิดที่เรียกว่าหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า AF (Atrial Fibrillation) ขณะที่เป็น AF หัวใจห้องบนจะเต้นเร็วมากกว่า 350 ครั้งต่อนาที การที่หัวใจห้องบนจะเต้นเร็วขนาดนี้ เนื่องจากการบีบตัวไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีเลือดตกค้างอยู่ในหัวใจห้องบน โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นถุงยื่นออกไปจากหัวใจห้องบนซ้าย (ถุงนี้มีลักษณะคล้ายไส้ติ่งของลำไส้) ทางการแพทย์เรียกถุงนี้ว่า Left Atrial Appendage รยางค์หัวใจนี่แหละจะเป็นบริเวณที่พักของเลือด ทำให้เลือดตกตะกอนนอนก้น แล้วเกิดเป็นลิ่มเลือดเล็กๆ ขนาดต่างๆ ขึ้น ลิ่มเลือดเหล่านี้อาจหลุดออกจากรยางค์ ไหลไปตามกระแสเลือด ขึ้นไปอุดตันหลอดเลือดสมองที่เราเรียกว่า Stroke (embolic stroke) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตเฉียบพลัน แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด

อาการและอาการแสดงของ embolic stroke มักพบทางระบบประสาทซึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใด เช่น พูดและฟังไม่เข้าใจ (aphasia), เดินเซ (ataxia) และ ตามองไม่เห็นครึ่งซีก (hemianopia) ซึ่งเป็นอาการที่พบมากที่สุด อาการของโรคหลอดเลือดสมองสามารถเกิดในหลอดเลือดสมองได้หลายตำแหน่ง เช่น middle cerebral artery (MCA) ร่วมกับ posterior cerebral artery เป็นต้น

ซึ่งเราสามารถป้องกันการเกิดอัมพาตจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (AF)  ได้โดยการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulation) ไปตลอดชีวิต เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย แต่ก็มีข้อควรระวังคือ อาจทำให้เลือดหยุดยาก หรือเกิดมีเลือดออกในบริเวณต่างๆได้ง่าย ทำให้ต้องดูแลตัวเองตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ปริมาณยาที่ได้รับมากหรือน้อยเกินไป อาหารหรือยาบางตัวมีผลเพิ่มหรือลดประสิทธิภาพของยาได้ คนไข้ต้องมาพบแพทย์ทุกๆ 1-2 เดือน เพื่อตรวจสอบผลของยาในเลือดว่ามากหรือน้อยเกินไป และการป้องกันอีกวิธีด้วยการใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจ เพื่อทดแทนการทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด และทำให้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอีกเลย โดยที่แพทย์จะใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจคล้ายร่มผ่านทางหลอดเลือดดำที่ขา ลักษณะคล้ายการสวนหัวใจ เข้าไปปิดถุงหัวใจห้องบนซ้าย ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดลิ่มเลือด ทำให้ไม่เกิดลิ่มเลือดในหัวใจอีกต่อไป ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงก็เรียบร้อย วันรุ่งขึ้นก็สามารถกลับบ้านได้ และคนไข้ก็ไม่จำเป็นต้องทานยาต้านการแข็งตัวของหลอดเลือดอีกตลอดชีวิต​

How does heart disease cause paralysis-paralysis?

Has anyone ever known that heart disease can cause paralysis – paralysis from clogged blood vessels? It sounds strange Eh, how are they connected? Let’s go find the answer.

These clots may come off the appendage. flow through the bloodstream Up to block the cerebral artery we call Stroke (embolic stroke), causing patients to have paralysis. Acute paralysis, weakness in limbs, distorted mouth, slurred speech.

Atrial fibrillation (AF) can be prevented by taking anticoagulants. (Anticoagulation) throughout life to prevent blood clots in the left atrial apparatus. But there is a caution. may make it difficult to stop bleeding or bleeding in different areas easily Make sure to take care of yourself at all times in order not to get too much or too little of the medication. Certain foods or medications can increase or decrease the effectiveness of the drug.

Patients need to see a doctor every 1-2 months to check if the effect of the drug in the blood is too much or too little. and another method of prevention by inserting a device to cover the heart to replace taking anticoagulants And thus patients do not need to take anticoagulants again.

 

แหล่งอ้างอิง

ดามพันธ์ นิลายน. โรคหลอดเลือดสมองอุดตันจากลิ่มเลือดหัวใจในภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก ที่ไม่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2563(ฉบับที่2). 447-456.

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top