โรคเบาหวาน ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองได้จริงหรือ
โรคเบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอหรือไม่สามารถทำงานได้ปกติ จึงทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการเผาผลาญพลังงานระดับเซลล์ทำให้สร้างสารอักเสบ สารเคมีมากกว่าปกติ ส่งผลให้หลอดเลือดแดงเสียความยืดหยุ่น เปราะ และฉีกขาดได้ง่าย เกิดการเปลี่ยนแปลงการแข็งตัวของเลือดทำให้เลือดจับตัวกันง่ายขึ้น นอกจากนี้ภาวะน้ำตาลในหลอดเลือดสูงเรื้อรังร่วมกับมีไขมันในเลือดสูงทำให้เกิดการรวมตัวของก้อนเลือดและไขมัน ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบแคบ เรียกภาวะดังกล่าวว่า ภาวะหลอดเลือดแดงตีบแข็ง (Atherosclerosis)
ผลของโรคเบาหวานต่อโรคหลอดเลือดสมอง
1.ระดับน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลให้ขนาดของเนื้อสมองที่ขาดเลือดเกิดเป็นบริเวณกว้างเนื่องจากมีภาวะ metabolic acidosis จาก anaerobic metabolism
2.ระดับน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลให้การทำหน้าที่ของผนังด้านในของหลอดเลือดเสียไปเกิดภาวะอักเสบและเกิดการอุดตันของลิ่มเลือดขึ้นส่งผลให้เนื้อสมองที่ขาดเลือดแต่ยังไม่ตายเกิดภาวะขาดเลือดมากขึ้น
3.ภาวะขาดอินซูลินทำให้ไขมัน (free fatty acids) เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (thrombosis) มากขึ้น
4.ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลต่อตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง (blood brain barrier) ก่อให้เกิดภาวะสมองบวมมากขึ้น รวมทั้งส่งผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกในสมอง (hemorrhagic transformation) มากขึ้น
แม้ว่าโรคเบาหวานไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง แต่เป็นภาวะที่ควรเฝ้าระวังและควบคุม ดังนั้นเราจึงควรป้องกันด้วยการ
1.ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่เกณฑ์ปกติ อยู่ระหว่าง 70-100 mg/dL ก่อนทานอาหาร
2.ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่เกณฑ์ LDL < 100 mg/dL
3.ควบคุมค่าความดันโลหิตให้อยู่เกณฑ์ปกติ น้อยกว่า 140/90 mmHg
4.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
5.ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงและรสหวาน
Can Diabetes Really Cause Cerebrovascular Disease?
Diabetes is a major risk factor for stroke. Diabetes is caused by a disorder in which the body does not produce enough insulin or it cannot function properly. therefore causing high blood sugar This results in abnormalities in cellular energy metabolism, causing the production of inflammatory substances. more chemicals than usual As a result, arteries lose flexibility, become brittle and tear easily. Changes in blood coagulation, making it easier for the blood to clump together. In addition, chronic hypercholesterolemia with hyperlipidemia leads to aggregation of blood clots and lipids. resulting in narrow arteries called the condition that arterial stenosis (Atherosclerosis)
Effect of Diabetes on Stroke
1. High blood sugar levels result in large areas of ischemic brain tissue due to metabolic acidosis due to anaerobic metabolism.
2. High blood sugar levels cause the function of the inner wall of the blood vessels to be damaged, causing inflammation and thrombosis, resulting in ischemic but not dead brain tissue resulting in ischemia. more
Insulin deficiency causes an increase in free fatty acids, resulting in more thrombosis.
4. Hyperglycemia affects the blood brain barrier, causing more brain swelling. as well as affecting the incidence of hemorrhagic transformation.
Although diabetes is not the main cause of stroke, But it is a condition that should be monitored and controlled. Therefore, we should prevent
1. Control blood sugar levels to a normal range between 70-100 mg/dL before eating.
2. Control blood lipid levels to be at the level of LDL < 100 mg/dL.
3. Control blood pressure to a normal range, less than 140/90 mmHg.
4. Exercise regularly.
5. Diet control Avoid high fat and sugary foods.
แหล่งอ้างอิง
สมศักดิ์ เทียมเกา. โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย. 2019(35), 59-71.