โรค กระดูกพรุน โรคที่ไม่ควรมองข้ามในผู้สูงอายุ

โรค กระดูกพรุน โรคที่ไม่ควรมองข้ามในผู้สูงอายุ

โรค กระดูกพรุน เป็นภาวะโรคที่พบได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ คนที่เข้าสู่วัยทอง เป็นต้น ซึ่งโรค กระดูกพรุน เป็นภาวะเสี่ยงที่ทำให้กระดูกหักได้ง่ายขึ้น  ซึ่งวันนี้ทาง ReBRAIN จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน มีสาเหตุเกิดจากอะไร ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน การรักษาโรคกระดูกพรุน การป้องกันโรคกระดูกพรุน และการรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน 

โรค กระดูกพรุน (Osteoporosis : ออสทีโอโพโลซิส) เป็นโรคที่เกิดจากความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงจนทำให้กระดูกส่วนนั้น บางลง เปราะลง ซึ่งความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงนั้น เกิดขึ้นจากร่างกายดูดซึมแคลเซียมและโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของกระดูกได้น้อยลง ร่วมกับร่างกายเกิดภาวะที่เซลล์สร้างกระดูก(คอยทำหน้าที่สร้างกระดูกใหม่ในส่วนที่สึกหรอ) ทำงานได้น้อยกว่าเซลล์ที่สลายกระดูก(คอยทำหน้าที่สลายกระดูกที่เสื่อมสภาพ) ซึ่งโรคกระดูกพรุนเป็นภาวะเสี่ยงที่ทำให้กระดูกหักได้ง่ายขึ้น เช่น จากการล้ม, การกระแทก เป็นต้น  ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดุกพรุน ได้แก่ 1.อายุที่มากขึ้น (มากกว่า 50 ปีขึ้นไป) 2. เพศหญิงจะมีโอกาสเกิดโรกระดูกพรุนได้มากกว่าเพศชาย  3. คนผิวขาว จากงานวิจัยจะพบว่า คนผิวขาวจะมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้สูงกว่ากลุ่มคนอื่นๆ 4. พันธุกรรม ถ้ามีญาติหรือคนในครอบครัวมีประวัติโรคกระดูกพรุน จะมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นได้เช่นกัน 5. คนที่มีรูปร่างผอม หรือมีน้ำหนักตัวไม่เกิน 57.6 กิโลกรัม  6. การไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย 7. การใช้ยาบางตัวที่ไปมีผลกับการดูดซึมของแคลเซียม เช่น กลุ่มยากันชัก, กลุ่มยาสเตียลอยด์, ยาในกลุ่มรักษาโรคต่อมไทรอยด์, อินซูลิน (ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด), กลุ่มยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น 8. กลุ่มคนที่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ 9. อาการพร่องวิตามินดีและพร่องแคลเซียมในเลือด 

การรักษาโรค กระดูกพรุน ในทางการแพทย์ แพทย์จะพิจารณาให้ยาที่เกี่ยวกับการยับยั้งการทำงานของเซลล์ที่สลายกระดูก เพิ่มการดูดซึมของแคลเซียม ลดปริมาณแคลเซียมที่อยู่กระแสเลือด เป็นต้น หรือแพทย์จะพิจารณาการให้ฮอร์โมนบางตัว เช่น เอสโทรเจน ในผู้หญิง เพื่อให้ระดับฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้น เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระดูก  สำหรับการรักษาทางกายภาพบำบัด จะเน้นในเรื่องของการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านเป็นหลักทั้งส่วนแขนและขา เช่น ออกกำลังกายโดยใช้ถุงทรายเป็นแรงต้านหรือใช้ยางยืดเป็นแรงต้าน, การปั่นจักรยานแบบมีแรงต้าน, ธาราบำบัดร่วมกับใช้อุปกรณ์ถ่วงในน้ำ เป็นต้น และเน้นในเรื่องของการฝึกทรงตัวของร่างกาย ให้สามารถทรงท่าอยู่ได้ เพื่อป้องกันภาวะล้ม เช่น 1. การฝึกทรงท่าขณะยืนอยู่นิ่งหรือทรงท่าขณะยืนโดยมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น เอื้อมแตะวัตถุทิศทางต่างๆ 2. การฝึกทรงท่าบนพื้นผิวที่แตกต่างกัน เช่น พื้นราบแข็ง,พื้นราบนิ่ม,พื้นแข็งที่มีผิวขรุขระ และ พื้นนิ่มที่มีผิวขรุขระ เป็นต้น 3.การฝึกทรงท่าในกิจกรรมขณะเดิน เช่น เดินในท่าแคบ, เดินต่อส้นเท้า, เดินด้านข้าง, เดินถอยหลัง,เดินซิกแซกและเดินขึ้นลงทางต่างระดับ 

จะเห็นได้ว่าโรคกระดูกพรุนสามารถเกิดขึ้นได้ และพบได้บ่อยในผู้สูงอายุเพศหญิง ดังนั้นการป้องกันก่อนเกิดโรคกระดูกพรุนจะที่ดีที่สุด คือ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง, หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่, หลีกเลี่ยงการรับประทานเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์, หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมเป็นระยะเวลานาน และ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการรักษาทางกายภาพบำบัด จะเน้นในเรื่องของการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านในผู้สูงอายุ ทั้งกล้ามเนื้อแขนและขา  การฝึกการทรงตัวในท่ายืนและเดินของผู้สูงอายุทั้งขณะอยู่นิ่งและมีการเคลื่อนไหว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมทั้งช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเสี่ยงล้ม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระดูกหักจากการล้ม 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

เอกสารอ้างอิง 

Compston JE, McClung MR, Leslie WD. Osteoporosis. Lancet. 2019;393(10169):364-76.

 

Porter JL, Varacallo M. Osteoporosis.  StatPearls. Treasure Island (FL)2022.

 

Osteoporosis, a disease that should not be overlooked in the elderly

Osteoporosis is a disease that can be found among the elderly. People entering the menopausal age, etc. Osteoporosis is a risk condition that makes bones more easily broken. Today, ReBRAIN will provide knowledge about osteoporosis. What is the cause? Risk factors for osteoporosis osteoporosis treatment Osteoporosis prevention and physical therapy to prevent osteoporosis.

โทร.
Scroll to Top