AFO ช่วย ข้อเท้าตก ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเราพบว่ามีการสูญเสียของสมองในส่วน Upper motor neuron ทำให้ในขณะยืนผู้ป่วยจะมี ข้อเท้าตก ลง และในบางคนก็ยังเจอเท้าในลักษณะปลายเท้าจิกลงและบิดเข้าด้านในอีกด้วย เราจะสังเกตได้ชัดๆเลยก็คือตอนที่เดินเพราะตอนที่เดินเราจะเห็นเลยว่าผู้ป่วยมีจะปลาย ข้อเท้าตก สาเหตุก็จะมาจากการตึงตัวที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มกล้ามเนื้อในกลุ่มที่ทำหน้าที่กระดกข้อเท้าลง(Plantar flexion) ร่วมกับท่าทางที่ไม่เหมาะในระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ ยิ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้ระยะเวลานานเนี่ยก็จะเกิดการยึดติดของข้อในท่าปลาย ข้อเท้าตก อีกด้วย
การใส่อุปกรณ์ดามชนิดสั้น หรือที่เราเรียกว่า AFO : Ankle Foot Orthosis
เป็นอุปกรณ์ที่เรานิยมเลือกใช้มากที่สุดในการช่วยปรับท่าทางการเดินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จุดประสงค์เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้า ลดการผิดรูปของข้อเท้า ลด ข้อเท้าตก และช่วยเรื่อง ข้อเท้าตก ในส่วนของ AFO ก็จะมีหลายชนิดหลายแบบขึ้นอยู่กับรูปร่าง ขอบ ชนิดของวัสดุ จะผลิตจากการหล่อแบบเฉพาะราย หรือแบบสำเร็จรูปก็มี ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ป่วยแต่ละคน โดยที่นิยมใช้ทั่วไปจะมี 2 แบบคือ แบบโลหะ และแบบพลาสติก
วิธีการสวมใส่ AFO
- สวมใส่ถุงเท้าแบบยาวร่วมกับการใส่ AFO ทุกครั้งเพื่อป้องกันผิวหนังของผู้ป่วยและช่วยดูดซับเหงื่อ
- การใส่ AFO ต้องเลื่อนตำแหน่งของส้นเท้าให้ชิดและตรงตำแหน่งกับอุปกรณ์ จากนั้นรัดสายบริเวณข้อเท้า/ใกล้ข้อเท้า (1) และหน้าแข้ง (2) และตามด้วยสายรัดที่เท้า (3) ตามลำดับดังภาพ
- รองเท้าที่ดีควรใช้เป็นรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหุ้มส้นที่สามารถรองรับกับ AFO ได้ ไม่ควรสวมรองเท้าแตะเพราะมีพื้นที่ด้านในไม่เหมาะสมกับอุปกรณ์และไม่มั่นคงอีกด้วย
ในครั้งแรกหลังจากการใส่อุปกรณ์ควรสังเกตหลังจากการใส่อุปกรณ์ ควรถอดออกมาสังเกตอาการว่า มีรอยแดงไหม ถ้ามีรอยแดงควรจางหายไปภายใน 20-30 นาที และสามารถใส่อุปกรณ์ต่อโดยเพิ่มจำนวนชั่วโมงได้ แต่ถ้ามีรอยแดงและไม่จางหายไปควรติดต่อผู้เชี่ยวชาญเนื่องจากอุปกรณ์อาจไม่เหมาะสมกับผู้ป่วย
ตารางการแนะนำการส่อุปกรณ์ตามคำแนะนำของ Clinical Practice Guidelines for Stroke Rehabilitation
วันที่ 1-2 ใส่อุปกรณ์ช่วงเช้า 30 นาที และใส่ต่อในช่วงบ่ายอีก 30 นาที
วันที่ 3- 4 เพิ่มเวลาการใส่อุปกรณ์เป็นช่วงเช้า 2 ชั่วโมง และช่วงเย็น 2 ชั่วโมง
วันที่ 5-10 ใส่อุปกรณ์ตลอดช่วงเช้า แล้วถอดออกช่วงพักเที่ยง จากนั้นใส่อุปกรณ์อีกครั้งในช่วง บ่ายแล้ว
ถอดอุปกรณ์ในช่วงเย็น
หลังจากวันที่ 10 หากไม่พบปัญหาใดๆ ในการใช้อุปกรณ์ สามารถใส่อุปกรณ์ได้เต็มวัน แต่ควรถอดพักขาของ
คนไข้ในช่วงเย็น
การใส่ AFO นั้นจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสามารถยืน เดิน ได้มั่นคงมากยิ่งขึ้น ก่อนจะสวมใส่ควรศึกษาถึงวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ลักษณะอุปกรณ์และวัสดุที่นำมาใช้ควรเหมาะสมกับผู้ป่วย ควรได้รับคำแนะนำหรือคำปรึกษาจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญก่อนการใช้งาน เพราะอาจส่งผลให้ได้รับผลเสียหรือเกิดภาวะอื่นๆที่ไม่ต้องการตามมาได้
อ้างอิง
- พรพิมล,ทิพยรัตน์/Clinical Practice Guidelines for Stroke Rehabilitation/ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3/ปี 2559