ไมแอสทีเนีย เกรวิส ( Myasthenia Gravis ) คือโรคอะไร และการรักษาทางกายภาพบำบัดสามารถทำอะไรได้บ้าง

ไมแอสทีเนีย เกรวิส ( Myasthenia Gravis ) คือโรคอะไร และการรักษาทางกายภาพบำบัดสามารถทำอะไรได้บ้าง

 

          โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือ Myasthenia Gravis (MG) เป็นโรคที่เกิดจากตัวรับสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งถูกทำลายจนทำให้สารสื่อประสาทดังกล่าวไม่สามารถจับกับตัวรับสารสื่อประสาทได้ ทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายของผู้ป่วยเกิดการอ่อนแรงลง จนทำให้ผู้ป่วยไม่มีแรงจะเคลื่อนไหวและอาการอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งวันนี้ทาง ReBRAIN จะเล่าถึงสาเหตุ อาการและการรักษาทางกายภาพบำบัดสำหรับโรคนี้

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือชื่อโรคป็นโรคที่เกิดจากตัวรับสารสื่อประสาทที่ชื่อ นิโคติน อะซิติลโคลีน(nicotinic acetylcholine Receptor) ถูกทำลายทำให้สารสื่อประสาทที่ชื่อ อะซิติลโคลีน (acetylcholine) ไม่สามารถจับกับตัวรับสารสื่อประสาทได้ ซึ่งตัวรับสารสื่อประสาทดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับการหดตัวคลายตัวของกล้ามเนื้อ เมื่อขาดตัวรับสารสื่อระสารทดังกล่าวจึงส่งผลทำให้กล้ามเนื้อไม่มีแรงในการหดตัวคลายตัวจนทำให้เกิดอาการล้าในที่สุด โรคดังกล่าวสามารถเกิดได้ในทุกระดับอายุ และพบว่าอาจสัมพันธ์กับโรคอื่นได้แก่ การมีเนื้องอกที่ต่อมไธมัส,ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ,โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือ โรค ภูมิแพ้ตัวเองหรือโรคพุ่มพวง โรคนี้มักพบว่าเกิดในเพศหญิง มากกว่าเพศชาย

อาการของผู้ป่วยโรคนี้ คือ เกิดการอ่อนแรงแบบไม่สม่ำเสมอ (fluctuating weakness) โดยความรุนแรงของโรคสามารถเปลี่ยนแปลงได้ระหว่างวัน และมีอาการล้าง่ายของกล้ามเนื้อ กลุ่มกล้ามเนื้อที่ควบคุมได้ (voluntary muscles) กล้ามเนื้อไม่สามรถทำงานเป็นระยะเวลานานๆ ได้ และ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลงอย่างรวดเร็ว หากผู้ป่วยใช้กล้ามเนื้อซ้ำๆ จะทำให้มีการอ่อนแรงของ กล้ามเนื้อมากขึ้น ดังนั้น กล้ามเนื้อที่ต้องหดตัวซ้ำๆ จึงมักพบอาการแสดงอ่อนแรงก่อน เช่นกล้ามเนื้อที่ ควบคุมการเคลื่อนไหวของดวงตา กล้ามเนื้อเปลือกตา ที่จะเริ่มมีการอ่อนแรงก่อน ทำให้หนังตาตก ตาสอง ข้างไม่มองไปในทิศทางเดียวกัน เห็นภาพซ้อน

นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่นๆ เช่น เคี้ยวหรือกลืนลำบาก เสียงเปลี่ยน พูดไม่ชัด มีอาการอ่อนแรง ของกล้ามเนื้อแขนขา ซึ่งมีการอ่อนแรงของส่วนต้นของรยางค์ ทำให้ผู้ป่วยมีความยากลำบากในการเอื้อมมือ หยิบของเหนือศีรษะ ขึ้น หรือลงบันได เป็นต้น อาการของผู้ป่วยจะเป็นน้อยที่สุดในตอนเช้าหลังพักผ่อน และ มีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ ในตอนบ่ายถึงเย็น ตามกิจกรรมที่ทำมากขึ้น ในกลุ่มที่มีความรุนแรงมากจะไปมีผลต่อกล้ามเนื้อหายใจและหัวใจได้ ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลวได้ โดยเราจะแบ่งกลุ่มอาการโรคนี้เป็น 2 กลุ่มคือ
1. กลุ่มเกิดกับกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ซึ่งมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อปาก ลำคอ ร่วมกับแขนขาอ่อนแรง ทำให้ทำกิจวัตรในชีวิตประจำวันยากขึ้น เช่น ไม่สามารถเอื้อมแขนได้ ขึ้นบันไดเองไม่ได้ หรือลุกจากเก้าอี้ไม่ได้
2. กลุ่มที่เกิดกับบริเวณกล้ามเนื้อตา ผู้ป่วยมีอาการแค่ที่กล้ามเนื้อตาเท่านั้น ซึ่งอาการอาจจะไม่รุนแรงมากนัก

การรักษาทางการแพทย์ Myasthenia Gravis (MG) มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพิ่มการทำงานของ ตัวส่งกระแสประสาท ลดหรือบรรเทาผลของภาวะต่อต้านภูมิคุ้มกันตนเอง เปลี่ยนแปลงการดำเนินโรคโดยทำให้โรคสงบลง ทั้งนี้การรักษาสามารถแบ่งได้เป็น

  1. การรักษาเพื่อบรรเทาอาการ โดยใช้ยาacetylcholinesterase inhibitor โดยยานี้จะช่วยให้มีปริมาณ อะซิติลโคลีน (acetylcholine) เพิ่มขึ้น ทั้งนี้หากให้ยาขนาดสูงสุดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ควรหยุด หรือลดขนาดยาลงเนื่องจากอาจทาให้อาการอ่อนแรงเพิ่มมากขึ้น
  2. การรักษาระยะสั้นทางภูมิคุ้มกัน ได้แก่ การเปลี่ยนถ่ายพลาสมา (Plasmapheresis) โดยวิธีนี้ใช้ในผู้ป่วยที่มีการพัฒนาของโรคไปอย่างรวดเร็ว หรือมีภาวะ MG crisis ซึ่งส่งผลต่อการกลืน หรือการหายใจลำบาก หรือการทำ Intravenous Immunoglobulins ซึ่งให้ผลการรักษาคล้ายกัน
  3. การรักษาในระยะยาว โดยการผ่าตัดต่อมไธมัส ซึ่งมักทำในผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 60 ปี และมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้ออื่นๆ นอกจากกล้ามเนื้อตา หรือการรักษาโดยให้ยากดภูมิคุ้มกันระยะยาว เช่นยา เพรดนิโซโลน นอกจากนี้จะแนะนำให้ผู้ป่วยนอนพักระหว่างวันประมาณวันละ 2-3 ครั้ง หรือพักหลับตาประมาณ 2-3 นาที เพื่อลดความถี่ของการอ่อนแรง ทั้งนี้พบว่า อาการอ่อนแรงมักสัมพันธ์กับการขาด โพแทสเซียม (K) จึงควรแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง เป็นต้น

สำหรับการรักษาทางกายภาพบำบัดจะเน้นออกกำลังกายในระดับความหนักปานกลาง(การออกกำลังกายหรืออกแรงจนทำให้รู้สึกค่อนข้างเหนื่อยหรือเหนื่อยกว่าปกติพอควรโดยหายใจเร็วกว่าปกติเล็กน้อย หรือหายใจกระชั้นขึ้นไม่ถึงกับหอบ หรือขณะออกกำลังกายหรือออกแรง ยังสามารถพูดคุยกับคนข้างเคียงได้จนจบประโยคและรู้เรื่อง)บริเวณกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อหัวไหล่ เป็นต้น ร่วมกับจัดเวลาในการออกกำลังกายในช่วงร่างกายมีความพร้อมมากที่สุดคือในช่วงเวลาตอนเช้าหรือหลังจากกินยากลุ่ม acetylcholinesterase inhibitor ไปแล้วประมาณ 1ชม.ครึ่งถึง 2 ชม.

ดังนั้นการรักษาทางกายภาพบำบัดจะเน้นในเรื่องของการออกกำลังเพื่อความแข็งแรงกล้ามเนื้อโดยจะเน้นออกกำลังกายในช่วงที่ไม่มีอาการแสดงของโรคคือ ช่วงเช้าหรือช่วงที่รับประทานยาแก้อาการของโรคดังกล่าวไปแล้วประมาณ 1ชม.ครึ่งถึง 2 ชม. ไม่ออกกำลังกายจนหนักเกินไปและพักผ่อนร่างกายให้เพียงพอเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพทางการรักษาที่ได้ผลมากที่สุดและให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติมากที่สุด

 

References:

  1. จงจินต์ รัตนาภินันท์ชัย และคณะ. กายภาพบาบัดในผู้ป่วยระบบประสาท พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2542.
  2. Angelini C. Diagnosis and management of autoimmune myasthenia gravis. Clinical drug investigation. 2011; 31(1):1-14.

Liang T, Boulos M, Murray B, Krishnan S, Katzberg H, Umapathy K, editors.

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top