TMS กับกายภาพบำบัด

TMS กับกายภาพบำบัด จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ดีขึ้นได้อย่างไร ?

วันนี้เราจะมาพูดถึง TMS กับ กายภาพบำบัด ในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง กันบ้างนะคะ  จากบทความเรื่อง TMSคืออะไร ได้กล่าวถึงเกี่ยวกับ TMSไปบ้างแล้ว ถึงการทำงาน และ คลื่นที่ใช้ในการกระตุ้นTMS ถือเป็นอีกหนึ่ง เทคโนโลยีการรักษาทางเลือก ที่สามารถช่วยผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง ได้ แต่ทำไมยังต้องทำ กายภาพบำบัด การทำ กายภาพบำบัด ยังมีความสำคัญอย่างไร จะช่วยส่งเสริม ให้ผลการรักษาจากTMS

ได้ผลที่ดีมากขึ้นได้อย่างไร จะได้รับทราบกันต่อไปในบทความนี้กันค่ะ

Transcranial Magnetic Stimulation หรือ เป็นที่รู้จักในชื่อย่อว่าTMS เป็นเครื่องมือที่กระตุ้นสมอง ผ่านกะโหลกศีรษะ ไม่มีการใส่อุปกรณ์ใด ๆ เข้าสู่ร่างกาย การทำงานของเครื่องTMS ใช้วิธีการส่งผ่านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากขดลวด (Coil) เหนือบริเวณสมอง กระตุ้นเซลล์ประสาท โดยตรงผ่านมายังไขสันหลัง จนไปถึงเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้เกิดการหดตัว ของกล้ามเนื้อเกิดขึ้น ในระหว่างกระตุ้นด้วยTMS ผู้ป่วย จะไม่มีความรู้สึกใดเกิดขึ้น และ ไม่มีอาการเจ็บ ระยะเวลาการรักษาด้วย TMS ต่อครั้งประมาณ 20-60 นาที การฝึกจะเฉพาะเจาะจง ต่อกล้ามเนื้อนั้น ๆ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด การรักษาด้วย TMSเป็นสิ่งที่ผู้ป่วย และ ญาติหลายท่าน ประสงค์ต้องการจะทำ แต่ว่าในการรักษาด้วยTMSนั้น มีข้อห้าม และ ข้อควรระวังเช่นกัน ในผู้ป่วยบางราย จะไม่สามารถรักษาด้วยTMSได้หากมีอาการดังต่อไปนี้ คือ ผู้ที่มีอาการชัก ผู้ที่มีโลหะบริเวณกะโหลกหรือในสมอง ผู้ที่ใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker) สายระบายน้ำในโพรงสมองแบบอัตโนมัติ (Ventriculoperitoneal shunt)

การรักษาด้วย rTMS หรือ Repetitive Transcranial Stimulation เป็นประเภทคลื่นการรักษาของ TMS ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากงานวิจัยเชื่อว่าทำให้ผลการรักษาคงค้างและประสิทธิภาพมากที่สุดที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการเปลี่ยนแปลงของสมองต่อการเรียนรู้ใหม่ (Adaptive cortical plasticity) การรักษาด้วย rTMS มี 2 รูปแบบหลัก ๆ ดังนี้

  • High frequency rTMS หรือการรักษาด้วย rTMS ความถี่สูง

การรักษาด้วย rTMS ความถี่สูง จะเพิ่มการกระตุ้น การทำงานของสมอง (Cortical excitability) ใช้ในการกระตุ้นสมอง ซีกที่มีพยาธิสภาพ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการส่งสัญญาณประสาทมากขึ้น

  • Low frequency rTMS หรือการรักษาด้วย rTMS ความถี่ต่ำ

การรักษาด้วย rTMS ความถี่ต่ำ ให้ผลในการกดการกระตุ้นการทำงานของสมอง ใช้ในการกดการทำงานของสมองซีกปกติ เพื่อลดการทำงานที่มากเกินไป ของสมองซีกปกติ และ สามารถลดการละเลยร่างกายซีกอ่อนแรงได้อีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยTMS นั้นมีผลคงค้าง ประมาณ 1 ชั่วโมงหลังทำเท่านั้น ดังนั้นการฝึก กายภาพบำบัด หลังการรักษาด้วย จะทำให้ผลการรักษาส่งเสริมกันได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ผลคงค้างจากการรักษานานมากยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มความสามารถในการเปลี่ยนของสมองต่อการเรียนรู้ใหม่ได้ดีมากยิ่งขึ้น นักกายภาพบำบัดจะ

ช่วยส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ ผ่านการออกกำลังกาย และ ฝึกทักษะ การทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การฝึกมือ การเดิน จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจดจำรูปแบบการเคลื่อนไหวได้ดีมากยิ่งขึ้น

การรักษาทาง กายภาพบำบัด สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยพัฒนาให้การรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง นอกจากการกระตุ้นด้วย TMS แล้ว การรักษาทางกายภาพบำบัด จะช่วยให้ผู้ป่วยสั่งการการทำงานของร่างกาย ได้อย่างถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนการฝึก ดังนั้นกายภาพบำบัดเป็นอีก 1 ตัวแปรสำคัญ ที่จะช่วยให้พัฒนาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้ หากผู้ป่วยได้รับคำแนะนำ ได้รับการรักษาที่ดี ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมดีกว่า หากมีคำถาม หรือ ข้อสงสัยอื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติม ได้ทางFACEBOOK :: ReBRAIN กายภาพบำบัด โรคหลอดเลือดสมอง รักษาที่บ้าน หรือ โทร. 086 – 311 – 9699

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top