กลุ่มอาการอัมพาตเฉียบพลัน กล้ามเนื้ออ่อนแรง สำคัญอย่างไร
กล้ามเนื้ออ่อนแรง กิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barre syndrome: GBS) กลุ่มอาการทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นในประเทศไทย พบได้น้อยและไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับคนทั่วไปมากนัก แล้วทำไมทุกคนต้องรู้จัก กลุ่มอาการนี้สำคัญอย่างไร มาติดตามกันค่ะ กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barre syndrome: GBS) หรือ โรคอัมพาตเฉียบพลัน เป็นโรคที่เกิดการอักเสบของระบบประสาทส่วนปลายอย่างเฉียบพลัน โรค GBS จัดว่าเป็นโรคในกลุ่มภูมิต้านทานทำลายตนเอง (Autoimmune disease) โดยระบบภูมิคุ้มกันไปทำลายเส้นประสาทในส่วนของปลอกประสาท(myelin sheath) ในระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system; PNS) ประกอบด้วย peripheral nerve และ spinal nerve root จากการสำรวจพบว่า ในประชากร 100,000 คน พบผู้ป่วย GBS 0.8-1.9โดยความเสี่ยงของการเป็นโรคจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ อัตราส่วนของผู้ป่วยพบว่า โรค GBS พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง (เพศชาย: เพศหญิง = 3:2)
สาเหตุของการเกิดโรค GBS
เชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคที่เรีย เช่น Campylobacteria jejuni (C jejun) (พบมากที่สุด 30%) หรือ Cytomegalovius (พบ 10%) หลังจากการติดเชื้อดังกล่าวจะเกิดการเหนี่ยวนำให้ T-cell และ B-cell ทำลายเส้นประสาทในส่วนของปลอกประสาท (myelin sheath) ในระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system; PNS) ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการนำกระแสประสาทของเส้นประสาท (การนำกระแสประสาทช้าลงหรือถูกจำกัด) อาการของโรคมักแสดงหลังผู้ป่วยติดเชื้อ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งการดำเนินโรคใช้เวลายาวนานไม่เท่ากัน บางรายใช้เวลาเพียง 12 ชั่วโมง อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลันก็ลุกลามทั่วทั้งร่างกาย แต่ส่วนมากจะใช้เวลาลุกลามมากที่สุดประมาณ 3 สัปดาห์ จากนั้นอาการจะทรงตัวแล้วค่อยๆฟื้นตัวอย่างช้าๆ ซึ่งอาจใช้เวลามากน้อยไม่เท่ากัน บางรายอาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรืออาจเป็นปี จนฟื้นตัวเป็นปกติ แต่จะมีบางรายที่ยังคงมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงอยู่บ้าง แต่บางรายอาจมีความพิการตลอดชีวิตซึ่งพบได้ประมาณ 10-20% ของผู้ป่วย Guillain-Barre syndrome
อาการของผู้ป่วย Guillain-Barre syndrome
ผู้ป่วยจะมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน โดยมักจะอ่อนแรงเท่ากันทั้งสองข้าง อาการอ่อนแรงนั้นจะเริ่มที่ขาก่อน จากนั้นอาการอ่อนแรงจะลุกลามไปทั่วทั้งร่างกาย และอันตรายที่สุดหากกล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจอ่อนแรงด้วย อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหากไม่ได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจแบบทันท่วงที
อาการแสดงมีดังนี้
– มีการรับความรู้สึกที่แปลกไป ชาลักษณะซ่าๆ ปวดแสบปวดร้อน สูญเสียการรับความรู้สึกและอุณหภูมิ
– ปวดกล้ามเนื้อมัดที่อ่อนแรง
– ชาหนาปลายมือ ปลายเท้าเหมือนสวมถุงมือถุงเท้าตลอดเวลา
– กลืนลำบาก เคี้ยวอาหารไม่ได้
– หายใจได้ไม่สะดวก หรือไม่สามารถหายใจได้ด้วยตนเอง
– ไม่สามารถควบคุมการขับถ่าย
– กล้ามเนื้อฝ่อลีบ
– มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน ทรงตัวได้ไม่ดี เดินไม่ได้ หยิบจับสิ่งของไม่ถนัด
การวินิจฉัยโรค Guillain-Barre syndrome
โดยปกติผู้ป่วย GBS มักแสดงอาการคล้ายคลึงกับผู้ที่มีระบบประสาทเสียหายจากสาเหตุอื่น เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือภาวะพิษจากโลหะหนัก ทำให้การวินิจฉัยอาการในขั้นแรกนั้นทำได้ค่อนข้างยาก แพทย์จึงต้องสอบถามอาการและประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้โรค ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ดังนี้
1.การเจาะน้ำไขสันหลัง (Spinal Tap หรือ Lmbar Puncture)
2.การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography: EMG)
3.การตรวจการชักนำประสาท (Nerve Conduction Tests)
การรักษาทางการแพทย์
หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค GBS แพทย์จะทำการ admit ผู้ป่วยใน ICU และมักจะให้การรักษาโดยการให้ Mg หรือการทำ plasma exchange การรักษาดังกล่าวอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดผลค้างเคียงต่างๆ ได้ เช่น เป็นไข้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง(severe weakness) หรือทำให้การอักเสบของเส้นประสาทเกิดนานขึ้น ซึ่งหลังจากการให้ยา แพทย์มักจะตรวจอาการของผู้ป่วยอย่างสม่ำสมอ หากผู้ป่วยมีอาการของโรคคงที่ แพทย์จะทำการส่งต่อผู้ป่วยให้นักกายภาพบำบัดทำการรักษาต่อไป
การจัดการทางกายภาพบำบัด
- ระยะอักเสบ (Acute phase) สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้นักกายภาพจะไม่มีบทบาทมากนักในผู้ป่วยระยะนี้ โดยเริ่มแรก นักกายภาพบำบัดลดอาการปวดของผู้ป่วย รวมถึงป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
- ระยะที่อาการทางระบบหายใจ (respiratory) และปัญหาทางระบบ ANS คงที่ (Plateau phase) เพิ่มความทนทานของผู้ป่วย พยายามให้ผู้ป่วย upright position (ในผู้ป่วยบางรายอาจจะกระตุ้นการ upright ขณะที่ผู้ป่วยยังใส่เครื่องช่วยหายใจ)
- ระยะที่กำลังกล้ามเนื้อของผู้ป่วยกำลังฟื้นคืน (Recovery phase) มักเกิดหลังจากผู้ป่วยอยู่ใน plateau phase 2-4 สัปดาห์ เพิ่มความแข็งแรงและกระตุ้นให้ผู้ป่วย
ทำการเคลื่อนไหวให้ได้มากที่สุด โดยการ
- ให้ผู้ป่วยออกกำลังในช่วงเวลาสั้นๆและการออกกำลังต้องไม่ทำให้ผู้ป่วยเกิดล้า (non-fatigue exercise)
- ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการอ่อนแรงลงในช่วง1 สัปดาห์ ให้เพิ่มความยากในการทำกิจกรรมต่างๆของผู้ป่วย (ลดความช่วยเหลือลง) หรือเพิ่มความยากในการออกกำลังกาย
- หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น หรือทำกิจกรรมต่างๆได้ลดลง
- เป้าหมายของการออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้เพียงพอต่อการทำกิจกรรมต่างๆของผู้ป่วย ไม่ใช่แค่เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อเท่านั้น
กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barre syndrome: GBS) หรือ โรคอัมพาตเฉียบพลัน เป็นอีกหนึ่งโรคที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ ถึงจะพบได้น้อยแต่เมื่อเป็นแล้วอาการอาจรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นอัมพาตในที่สุด ซึ่งกลุ่มอาการ GBS ไม่อาจป้องกันได้ เนื่องจากทางการแพทย์ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ เช่น การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและมีสุขอนามัยที่ดี อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อชนิดต่าง ๆ ที่นำไปสู่การเกิด GBS ได้
เอกสารอ้างอิง
1.. ผศ.ตร.อัครเดช ศิริพร: เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 3742350 กายภาพบำบัดทางระบบประสาท 2: PT management in motor neuron disease, multiple sclerosis and
other neuromuscular diseases. ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวซสาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2557.
2. Hugh J W. Guillain-Barre syndrome. The Lancet. 2016; 388(10045).717 – 727.
- Martin S. Kessler M. Martin S. Neurologic interventions for physical therapy. 3rd ed.
- Walling A, Dickson G. Guillain-Barre Syndrome. Am Fam Physician. 2013; 87(3):191-197.