การตรวจประเมิน Stroke Impact Scale

การตรวจประเมิน Stroke Impact Scale

         โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่พบบ่อย ผู้ป่วยจะเกิดความผิดปกติของการทำงานของสมองและร่างกายเช่น การอ่อนแรงของแขนและขา การรับความรู้สึกบกพร่อง มีความผิดปกติด้านการสื่อสารภาษา มีภาวะกลืนลำบาก มีความบกพร่องทางการมองเห็น เป็นต้น หรืออาจเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้เช่น ภาวะข้อติด เกร็ง ปวดไหล่ ภาวะซึมเศร้า ทำให้การดูแลผู้ป่วยมีความซับซ้อน ดังนั้นการประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยหลังเกิดโรคจึงเป็นการติดตามอาการและผลการรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม และครอบคลุม

Stroke Impact Scale (SIS) คือเครื่องมือที่ใช้ การตรวจประเมิน ผลกระทบจากโรคหลอดเลือดสมองที่มีต่อผู้ป่วย โดยวัดความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิตหลังจากได้รับการรักษา การประเมินนี้ทำให้สามารถวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยคำถาม 59 ข้อ มีทั้งหมด 8 ด้านคือ ความแข็งแรงของร่างกาย การสื่อสาร ความจำและความคิด อารมณ์และความรู้สึก การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การใช้ชีวิตประจำวัน การเคลื่อนไหวของร่างกาย การใช้งานของมือข้างอ่อนแรง และร่างกายโดยรวม ซึ่งเป็นการรวมกันของ 4 ด้านคือ ความแข็งแรง การใช้ชีวิตประจำวัน การเคลื่อนไหว และการใช้งานมือข้างอ่อนแรง โดยแต่ละด้านจะมีคะแนนตั้งแต่ 0-100 คะแนน หากมีค่าคะแนนที่มากหมายถึง มีคุณภาพชีวิตที่ดี การให้คะแนนในแต่ละข้อคำถามจะมีคะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 5 หรือ 0 ถึง 4 ขึ้นอยู่กับคำถามในแบบทดสอบ

ตัวอย่างการให้คะแนนใน SIS
1. คะแนน 5 (ดีที่สุด): ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมหรือความสามารถในด้านนั้นๆ ได้เหมือนก่อนที่เกิดโรค    หลอดเลือดสมอง (ไม่มีปัญหาหรือข้อจำกัดในการทำกิจกรรม)
2. คะแนน 4 (ดีมาก): ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้ แต่ยังมีความยากลำบากบ้างเล็กน้อยหรือใช้เวลามาก ขึ้นแต่โดยรวมสามารถทำได้ดี
3. คะแนน 3 (ปานกลาง): ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้ แต่ยังมีข้อจำกัดชัดเจนเช่น ต้องใช้ความ ช่วยเหลือบางส่วน หรือทำกิจกรรมได้ไม่เต็มที่
4. คะแนน 2 (แย่): ผู้ป่วยทำกิจกรรมได้บางอย่างหรือมีความสามารถในด้านนั้นๆ อย่างจำกัดเช่น ไม่      สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้เลยหรือทำได้แค่บางส่วน
5. คะแนน 1 (แย่มาก): ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมในด้านนั้นได้เลยหรือมีความสามารถต่ำสุดในด้านนั้นๆ เช่น ไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆ ได้เลย

 

ตัวอย่างการประเมินคะแนนในแบบประเมิน
Strength (ความแข็งแรง):
5: ไม่มีปัญหาความแข็งแรง สามารถยกของหนักได้ตามปกติ
3: มีปัญหาบางประการในการยกของหนัก หรือความแข็งแรงลดลงเล็กน้อย
1: ไม่สามารถยกของได้เลย หรือมีความแข็งแรงลดลงอย่างมาก
Physical Function (การทำงานทางกายภาพ):
5: สามารถเดิน วิ่ง หรือทำกิจกรรมทางกายได้ตามปกติ
4: สามารถทำกิจกรรมบางประเภทได้ แต่ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นหรือมีความยากลำบาก
1: ไม่สามารถทำกิจกรรมทางกายได้เลย

 

ตัวอย่างแบบประเมิน Stroke Impact Scale

Stroke Impact Scale

 

These questions are about the physical problems which may have occurred as a result of your stroke.

 

1. In the past week, how would you rate the strength of your…. A lot of strength Quite a bit of strength Some strength A little strength No strength at

all

a. Arm that was most affected by

your stroke?

5 4 3 2 1
b. Grip of your hand that was most

affected by your stroke?

5 4 3 2 1
c. Leg that was most affected by

your stroke?

5 4 3 2 1
d. Foot/ankle that was most

affected by your stroke?

5 4 3 2 1

 

These questions are about your memory and thinking.

 

2. In the past week, how difficult was it for you to… Not

difficult at all

A little difficult Somewhat difficult Very difficult Extremely difficult
a. Remember things that people just

told you?

5 4 3 2 1
b. Remember things that happened the

day before?

5 4 3 2 1
c. Remember to do things (e.g. keep scheduled appointments or take

medication)?

5 4 3 2 1
d. Remember the day of the week? 5 4 3 2 1
e. Concentrate? 5 4 3 2 1
f. Think quickly? 5 4 3 2 1
g. Solve everyday problems? 5 4 3 2 1

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top