การตรวจ ความยาวของกล้ามเนื้อ (Muscle length)
ความยาวของกล้ามเนื้อ (Muscle length) ใช้บ่งบอกถึงความสามารถในการยืดยาวออกของกล้ามเนื้อที่วางพาดผ่านข้อต่อ ทั้งแบบข้อต่อเดียว (One-joint muscles) แบบสองข้อต่อ (Two-joint muscles) และหลายข้อต่อ (Multi-joint muscles) ซึ่งทำให้ข้อต่อสามารถเคลื่อนไหวได้สุดองศาของการเคลื่อนไหว ความสามารถในการยืดยาวออกของกล้ามเนื้อมีความสำคัญอย่างมากในการขยับเคลื่อนไหวเพื่อทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจประเมินและวัดความยาวของกล้ามเนื้อขึ้น
การขยับเคลื่อนไหวข้อต่อแบบพาสซีฟ (Passive range of motion: PROM) ถูกนำมาใช้ในการตรวจประเมินและวัดความยาวของกล้ามเนื้อที่วางตัวพาดผ่านข้อต่อ (Joint) เมื่อกล้ามเนื้อถูกยืดออกเต็มที่จนผู้ตรวจประเมินรู้สึกถึงความตึงในช่วงสุดท้ายของการเคลื่อนไหว (Firm end feel) ผู้ถูกตรวจประเมินจะรู้สึกตึงหรือเจ็บในกลุ่มกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ โดยการวัดความยาวกล้ามเนื้อควรใช้ร่วมกับอุปกรณ์วัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ได้แก่ โกนิโอมิเตอร์ (Goniometer), อินไคลโนมิเตอร์ (Inclinometer) หรือเทป (Tape) เพื่อวัดองศาการเคลื่อนไหวสุดท้ายของข้อต่อเมื่อกล้ามเนื้อถูกยืดจนตึง ร่วมกับการจดบันทึกข้อจำกัดของการเคลื่อนไหวผ่านการสังเกตความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งการวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อต่อเป็นการบ่งบอกถึงความตึงตัวของกล้ามเนื้อโดยทางอ้อม ทั้งนี้ยังมีความแตกต่างกันของการตรวจประเมินและการวัดความยาวของกล้ามเนื้อในกล้ามเนื้อที่วางตัวพาดผ่านข้อต่อเดียว หรือหลายข้อต่อด้วย
หลักการในการตรวจประเมินและวัดความยาวกล้ามเนื้อ คือ ผู้ตรวจต้องมีทักษะในการจัดท่าเริ่มต้นก่อนการเคลื่อนไหว สามารถคลำพบปุ่มกระกระดูกได้ถูกต้อง ประเมินช่วงการเคลื่อนไหวสุดท้ายได้ (Firm endfeel) และสามารถจดบันทึกการแปลผลจากการวัดได้ ในกรณีผู้ป่วยมีอาการปวดควรวัดให้เร็วและกระทบอาการน้อยที่สุด การแปลผลความยาวของกล้ามเนื้อสามารถแปลผลได้ ดังนี้ 1.ปกติ (Normal) คือสามารถยืดกล้ามเนื้อได้ตามช่วงปกติ 2.มีความตึงตัว (Tightness) คือ มีความตึงของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นในช่วงท้ายการเคลื่อนไหว แต่ยังสามารถยืดได้เท่าช่วงปกติ 3.หดสั้น (Shortening) คือ กล้ามเนื้อหดสั้น มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อสูง ไม่สามารถยืดได้เท่าช่วงปกติ และ 4.ยึดติด (Contracture) คือกล้ามเนื้อมีความตึงตัวสูงมากจนยืดได้เล็กน้อยหรือไม่สามารถยืดออกได้เลย ข้อต่อจะยึดติดในท่านั้นตลอดเวลา
การมีความยาวกล้ามเนื้อที่เพียงพอและเหมาะสมจะช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหวปกติในชีวิตประจำวัน และทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ การตรวจประเมินและการวัดความยาวกล้ามเนื้อจึงเป็นอีกหนึ่งการตรวจที่สำคัญ ซึ่งควรทำร่วมกับการตรวจประเมินอื่นๆ เช่น การสังเกตท่าทาง องศาการเคลื่อนไหว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ รวมถึงความตึงตัวเส้นประสาท จึงจะสามารถมองปัญหาการเคลื่อนไหวได้อย่างครอบคลุม และวิเคราะห์ได้ถูกต้อง
เอกสารอ้างอิง
Hazel M. Clarkson. (2012). Musculoskeletal Assessment. 3rd ed. p. 29-31
Physio-pedia. (2024). Assessing Muscle Length. Retrieved November 2, 2024, from https://www.physio-pedia.com/Assessing_Muscle_Length
Muscle length test
Muscle length indicates the ability to extend muscles that cross a joint, whether they are single-joint muscles, two-joint muscles, or multi-joint muscles, which allows the joint to move to its full range of motion. The ability to extend muscles is very important for moving to perform daily activities. Therefore, it is necessary to assess and measure muscle length.
Passive range of motion (PROM) is used to assess and measure the length of muscles that cross a joint. When a muscle is fully extended until the examiner feels tightness at the end of the movement (firm end feel), the examinee will feel tightness or pain in that muscle group. Muscle length measurement should be used with a device to measure the degree of joint movement, such as a goniometer, inclinometer, or tape, to measure the final degree of joint movement when the muscle is stretched until tight, along with recording the limitation of movement by observing the tightness of the muscle. The measurement of the degree of joint movement is an indirect indication of muscle tightness. There is also a difference in the assessment and measurement of muscle length in muscles that are placed across one or more joints.
The principle of assessment and measurement of muscle length is that the examiner must have the skills to set the starting position before movement, be able to feel the bony prominence correctly, assess the final range of movement (Firm endfeel), and be able to record the interpretation of the measurement. In the case of patients with pain, the measurement should be done quickly and with the least impact on the symptoms. The interpretation of muscle length can be interpreted as follows: 1. Normal: the muscles can be stretched in the normal range. 2. Tightness: the muscles increase in tightness at the end of the movement, but can still be stretched as much as normal. 3. Shortening: the muscles are shortened, have high muscle tightness, and cannot be stretched as much as normal. 4. Contracture: the muscles are very tight, so they can be stretched only slightly or cannot be stretched at all. The joints will be stuck in that position all the time.
Having sufficient and appropriate muscle length will help promote normal movement in daily life and allow normal activities. Assessment and measurement of muscle length are therefore another important examination. This should be done in conjunction with other assessments, such as observing posture, angle of movement, muscle strength, muscle tightness, and nerve tightness, so that movement problems can be comprehensively viewed and analyzed correctly