การ ตรวจประเมิน Non equilibrium coordination test
การทำงานประสานสัมพันธ์กัน (Coordination) หมายถึง
ความสัมพันธ์ของระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหว
หรือทำให้ส่วนต่างๆของร่างกายสามารถเกิดการเคลื่อนไหวที่มีความซับซ้อนได้อย่างราบเรียบและแม่น
ยำ โดยทั่วไปการตรวจการทำงานประสานสัมพันธ์กัน (Coordination test) สามารถแบ่งวิธีการตรวจได้ 2
ประเภท คือ gross motor ซึ่งเป็นการประเมินการทรงท่า (Body posture) การทรงตัว (Balance)
และการเคลื่อนไหวของรยางค์ด้วยกล้ามเนื้อมัดใหญ่ อีกประเภทคือ Fine motor
ซึ่งเป็นการประเมินการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็ก นอกจากนี้ Coordination test
ยังสามารถแบ่งได้อีกรูปแบบตามลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกาย ได้แก่ Equilibrium และ
Nonequilibrium test โดย Equilibrium test
เป็นการประเมินความสามารถในการควบคุมสมดุลร่างกายทั้งแบบอยู่นิ่ง (Static) และแบบเคลื่อนไหว
(Dynamic) ในขณะที่มีอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของโลกกระทำต่อร่างกาย ส่วน Nonequilibrium test
เป็นการประเมินแยกการเคลื่อนไหวของรยางค์ในแต่ละองค์ประกอบ
Nonequilibrium test จะประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวในแต่ละองค์ประกอบ ได้แก่
1. Reciprocal motion คือ
ความสามารถในการเคลื่อนไหวแบบกลับไปกลับมาของกล้ามเนื้อที่ทำงานตรงข้ามกัน
2. Movement composition or Synergy คือ
การควบคุมการเคลื่อนไหวผ่านการกล้ามเนื้อให้ทำงานร่วมกัน
3. Movement accuracy คือ ความแม่นยำของการเคลื่อนไหวในการกะระยะทาง
และความเร็วในการเคลื่อนไหว
4. Fixation or limb holding คือความสามารถในการควบคุมรยางค์ให้อยู่นิ่งในท่าใดท่าหนึ่ง
การเตรียมการประเมิน เริ่มตั้งแต่การเตรียมสถานที่ให้มีความเหมาะสม
ห้องที่ใช้ในการประเมินควรเงียบสงบ พื้นที่กว้างเพียงพอ
ควรทำการประเมินเมื่อผู้ถูกประเมินพักผ่อนเพียงพอ
ผู้ประเมินอธิบายและบอกวัตถุประสงค์ของการประเมิน และสาธิตให้ดูก่อนทุกครั้ง
และผู้ประเมินควรมีความสามารถในการสังเกตเบื้องต้น
ก่อนการประเมินควรมีการประเมินความสามารถเบื้องต้นของผู้ถูกประเมิน เช่น การเดิน ท่าทางการยืน
การนั่ง การเคลือนย้ายตัวบนเตียง การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เป็นต้น
การสังเกตการเคลื่อนไหวทำให้รู้ความสามารถโดยรวมของผู้ถูกประเมินว่าสามารถทำเองได้หรือไม่
ต้องใช้เครื่องช่วย
หรือไม่ และสังเกตการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เช่น การสั่น การส่ายเซขณะทรงท่า
รวมถึงการเคลื่อนไหวบางอย่างที่ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของความผิดปกติ เป็นต้น
ข้อมูลจากการสังเกตดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ในการเลือกการประเมินเฉพาะบุคคล
โดยผู้ถูกประเมินแต่ละคนไม่จำเป็นต้องทำทุกการทดสอบ ซึ่งการทดสอบมีทั้งหมด 16 ข้อ ดังนี้ 1.Finger
to nose 2.Finger to therapist’s finger 3.Finger to finger 4.Alternate nose to finger 5.Finger opposition
6.Mass grasp 7.Pronation/supination 8.Rebound test 9.Tapping (hand) 10.Tapping (foot) 11.Pointing
and past pointing 12.Alternate heel to knee; heel to toe 13.Toe to examiner’s finger 14.Heel on shin
15.Drawing a circle 16.Fixation or position holding
การแปรผลการตรวจแบบ Nonequilibrium ยังไม่มีแบบมาตรฐานสากล แต่ Schmitz และ
O’Sullivan (2014) แนะนำให้ใช้เกณฑ์การจำแนกระดับความผิดปกติของการเคลื่อนไหวในเชิงปริมาณ
แบ่งได้ 5 ระดับ ดังนี้
Grade 4 คือ สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างปกติ
Grade 3 คือ มีความผิดปกติเล็กน้อย สามารถทำกิจกรรมได้โดยมีการควบคุม ความเร็ว
และความมั่นคงน้อยกว่าปกติเล็กน้อย
Grade 2 คือ มีความผิดปกติปานกลาง สามารถทำกิจกรรมได้โดยมีการเคลื่อนไหวช้า ตะกุกตะกัก
และไม่มั่นคง
Grade 1 คือ มีความผิดปกติมาก
สามารถทำได้เพียงเริ่มต้นการเคลื่อนไหวแต่ไม่สามารถทำการเคลื่อนไหวนั้นให้สำเร็จได้
การเคลื่อนไหวมีความช้าร่วมกับไม่มีความมั่นคง สั่น และ/หรือการเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุม
Grade 0 คือ ไม่สามารถทำกิจกรรมได้
การตรวจการทำงานประสานสัมพันธ์กันแบบ Nonequilibrium
เป็นการประเมินแยกการเคลื่อนไหวของรยางค์ในการเคลื่อนไหวแบบสลับไปมา
ความสามารถในการควบคุมให้กล้ามเนื้อทำงานร่วมกัน การกะระยะและความเร็ว
และการควบคุมรยางค์ให้อยู่นิ่งท่าใดท่าหนึ่ง มีทั้งหมด 16 ข้อ
ก่อนการประเมินควรเตรียมให้พร้อมทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน
และต้องมีการประเมินความสามารถเบื้องต้นของผู้ถูกประเมินด้วยการสังเกตก่อนทุกครั้ง
เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเลือกการประเมินจากทั้งหมด 16
ข้อให้เหมาะสมและตรงกับปัญหาของแต่ละบุคคล
ร่วมกับบันทึกและแปรผลการตรวจเพื่อใช้ติดตามผลการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
เอกสารอ้างอิง
O’Sullivan SB and Schmitz TJ. Physical Rehabilitation. 7th ed, F.A. Davis company, Pliladelphia 2019.
pg.198-200.
O’Sullivan SB and Schmitz TJ. Physical Rehabilitation. 6th ed, F.A. Davis company, Philadelphia, 2014.
Non-equilibrium coordination test
Coordination refers to the relationship between the nervous system and the muscular system used in movement
or to make the parts of the body able to move in a complex way smoothly and accurately. In general, the coordination test can be divided into 2 types: gross motor, which is an assessment of body posture, balance
and movement of the limbs with large muscles. Another type is fine motor, which is an assessment of the movement of small muscles. In addition, the coordination test
can be divided into another form according to the characteristics of the body’s movement, namely Equilibrium and Nonequilibrium tests. The Equilibrium test
assesses the ability to control the balance of the body both while still (Static) and moving
(Dynamic) while the influence of gravity on the body. The Nonequilibrium test
assesses the movement of the limbs in each component separately. The Nonequilibrium test assesses the ability to move in each component, including:
1. Reciprocal motion is the ability to move back and forth of muscles that work opposite each other.