เทคนิค การรักษาด้วยวิธีการทำ Bobath approach (Neurodevelopmental treatment, N.D.T )
เทคนิค การรักษาด้วยวิธีการทำ Bobath approach (Neurodevelopmental treatment, N.D.T ) ในปัจจุบันการรักษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น มีด้วยกันหลากหลายวิธีทั้งเทคนิคที่่ใช้ลดอาการเกร็ง เทคนิคการกระตุ้นให้ออกแรงออกกำลังกาย เพื่อจุดประสงค์ให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด วันนี้เราจะมาทำความรู้จักอีกหนึ่งเทคนิคที่่ใช้รักษากัน นั่นก็คือเทคนิค Bobath approach
Bobath approach (Neurodevelopmental treatment, N.D.T ) คือวิธีการอย่างหนึ่งที่่ใช้เป็นทั้งการประเมินและการรักษาในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทของการสั่งการการเคลื่อนไหว และการทรงท่าที่เกิดจากความเสียหายของสมองส่วนกลาง (Central nervous system, CNS) เป้าหมายของการนำแนวคิด Bobath approach ไปใช้คือการส่งเสริมการเรียนรู้ของการสั่งการ เพื่อการควบคุมการเคลื่อนไหวให้มีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยในกลุ่มเด็กที่มีความผิดปกติของสมองอย่าง Cerebral Palsy (CP) การรักษาด้วยวิธีนี้ใช้หลักการยับยั้งการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติและกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวที่เป็นปกติหลักการคือ
- ยับยั้งแรงตึงที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อ (abnormal tone)
- การกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยใช้ key point of control ได้แก่ส่วนของ ศีรษะและคอ หัวใหล่สะโพก หลัง
3.การกระตุ้นกล้ามเนื้อเฉพาะมัดโดยผ่านการสัมผัสและข้อต่อ (tractile and proprioception) เช่น การลงน้ำหนักข้อต่อ (approximation) การแตะกระตุ้น (tapping) เป็นต้น
หลักการดังกล่าวข้างต้นสามารถนำมาใช้ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองได้เช่นกันซึ่งขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล ส่วนของการกระตุ้นกล้ามเนื้อควรกระตุ้นให้พอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป เพราะหากกระตุ้นมากเกินไปจะส่งผลให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อมีมากกว่าปกติ โดยนักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้ช่วยกระตุ้นการออกแรงให้เหมาะสมผ่านการออกแรงต้าน ออกแรงไกด์ทิศทางเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ทั้งนั้นการฝึกแต่ละวิธีจะได้ผลหรือไม่ได้ผลนั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคลด้วยว่ารอยโรคที่เกิดมีอาการมากน้อยขนาดไหน ซึ่งการฝึกในคนไข้หนึ่งคนนั้นจะไม่ได้ใช้แค่วิธีการเดียวในการฝึก การกระตุ้น เนื่องจากการฝึกวิธีเดียวนั้นอาจไม่ครอบคลุมกับปัญหาที่มีทั้งหมด จึงต้องมีการฝึกหลายๆรูปแบบเพื่อให้เกิดการส่งเสริมกัน โดยการจะเลือกการฝึกหรือการรักษาด้วยรูปแบบไหนนั้น จะเป็นการพิจารณาของนักกายภาพบำบัด
อ้างอิง
- Julie Vaughan Graham, Catherine Eustace, Kim Brock, Elizabeth Swain & Sheena Irwin-Carruthers (2009) The Bobath Concept in Contemporary Clinical Practice, Topics in Stroke Rehabilitation, 16:1, 57-68.
- Vaughan-Graham J, Cott C, Wright FV. The Bobath (NDT) concept in adult neurological rehabilitation: what is the state of the knowledge? A scoping review. Part I: conceptual perspectives. Disability and rehabilitation. 2015 Sep 25;37(20):1793-807.
- Díaz-Arribas MJ, Martín-Casas P, Cano-de-la-Cuerda R, Plaza-Manzano G. Effectiveness of the Bobath concept in the treatment of stroke: a systematic review. Disability and rehabilitation. 2020 Jun 4;42(12):1636-49.
Treatment techniques using the Bobath approach (Neurodevelopmental treatment, N.D.T)
Treatment techniques using the Bobath approach (Neurodevelopmental treatment, N.D.T) Currently, there are many methods of treatment for stroke patients, including techniques to reduce stiffness and techniques to stimulate exercise, with the aim of allowing patients to return to their normal lives as much as possible. Today, we will get to know another technique used for treatment, which is the Bobath approach.
The Bobath approach (Neurodevelopmental treatment, N.D.T) is a method used for both assessment and treatment of patients with neurological disorders of movement control and posture caused by damage to the central nervous system (CNS). The goal of using the Bobath approach concept is to promote learning of control in order to control movement effectively in various environments, especially patients in children with brain disorders such as Cerebral Palsy (CP). This treatment uses the principle of inhibiting abnormal movements and stimulating normal movements. The principle is:
Inhibit abnormal muscle tension (abnormal tone)
Stimulating movement using key points of control, such as the head and neck, shoulders, hips, back
3. Stimulating specific muscles through touch and joints (tractile and proprioception), such as weight bearing on joints (approximation), tapping, etc.
The above principles can also be applied to stroke patients, depending on the symptoms of each individual. The muscle stimulation should be just right, not too much or too little, because if stimulated too much, it will result in more muscle tension than normal. The physical therapist will help stimulate the appropriate force through resistance and guiding force to create the correct movement.
However, the effectiveness of each training method depends on the individual and the severity of the lesion. Training in one patient will not use only one method for training and stimulation, because a single training method may not cover all the problems. Therefore, there must be multiple training methods to promote each other. The choice of which type of training or treatment will be at the discretion of the physical therapist.