เอ็นไขว้หน้า ข้อเข่าฉีกขาด…ต้องจัดการอย่างไร
หลายคนเคยได้ยินคำว่า เอ็นไขว้หน้า ฉีกขาด หรือ ACL Injury กันใช่ไหมคะ แล้วรู้ไหมคะว่ามันคืออะไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร ACL Injury คืออาการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า (Anterior Cruciate Ligament) ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นเอ็นหลักในหัวเข่า โดยมักเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนทิศทาง กระโดด หรือหยุดอย่างกะทันหัน ส่วนมากจะเกิดในขณะเล่นกีฬาอย่างฟุตบอลหรือบาสเกตบอล ทำให้ผู้ป่วยอาจได้ยินเสียงในข้อเข่า มีอาการปวดหรือบวมที่ข้อเข่า
การรักษา ACL Injury อาจแตกต่างกันตามความรุนแรงของอาการ ผู้ป่วยอาจต้องพักการใช้งานข้อเข่าและออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของข้อเข่า แต่บางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดและฟื้นฟูร่างกายร่วมด้วย ทั้งนี้ หากปล่อยให้เกิดอาการผิดปกติโดยไม่ทำการรักษาอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในภายหลัง
ของ ACL Injury แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่เส้นเอ็นได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย และยังไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของข้อเข่า
ระยะที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อเส้นเอ็นได้รับบาดเจ็บมากขึ้นและทำให้ข้อเข่าเริ่มหลวม เนื่องจากอาจเป็นผลมาจากเส้นเอ็นบางส่วนฉีกขาด
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่ข้อเข่าไม่มั่นคงเนื่องจากเส้นเอ็นฉีกขาดออกจากกันโดยสมบูรณ์
หากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรไปพบแพทย์ เนื่องจากข้อเข่ามีโครงสร้างภายในที่ซับซ้อน จึงควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
การรักษาด้วยการผ่าตัด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการร้ายแรง เช่น ข้อเข่าอ่อนแรงขณะเดินหรือเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด หรือเป็นนักกีฬาที่ต้องการกลับไปเล่นกีฬาได้ตามปกติโดยเร็ว แพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อรักษา ACL Injury โดยส่วนมาก การผ่าตัดรักษาเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าจะไม่สามารถเย็บส่วนที่ฉีกขาดให้ติดเข้าด้วยกันเหมือนเดิมได้ แต่แพทย์จะนำเส้นเอ็นที่เสียหายออก และใช้เนื้อเยื่อจากเส้นเอ็นส่วนอื่นในร่างกายของผู้ป่วยมาสร้างเอ็นทดแทนด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscope) โดยอาจใช้เส้นเอ็นจากสะบ้าหัวเข่า (Patellar Tendons) หรือเส้นเอ็นจากด้านหลังของต้นขา (Hamstring Tendons)
หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูข้อเข่าให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ และยังเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นใหม่หลังจากการผ่าตัดอีกด้วย ทั้งนี้ วิธีการผ่าตัดนี้อาจใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ผู้ป่วยจึงสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือเล่นกีฬาได้ตามปกติ
การดูแลรักษาฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด
ระยะที่1 (สัปดาห์ที่1-2)
ปรับสนับเข่าให้งอได้0-60องศาเดินลงน้ำหนักบางส่วนด้วยไม้ค้ำยันในท่าเหยียดเข่าตรง สัปดาห์ที่ 2ควรจะสามารถนอนหงายเหยียดเข่าสุดแล้วกระดกข้อเท้าเข้าหาตัวได้ซึ่งจะทำให้สามารถเหยียดเข่าได้สุด บริหารโดยการกระดกข้อเท้าขึ้นลงวันแรกๆหลังจากนั้นเมื่อปวดเข่าลดลงให้นอนหงายและค่อยๆงอเข่าในลักษณะที่ส้นเท้าสัมผัสกับพื้นหลังจากนั้นเกร็งขึ้นค้างไว้ประมาณ 10 วินาทีปล่อยขาลง ให้ทำบ่อยๆเท่าที่จะทำได้
ระยะที่ 2 (สัปดาห์ที่3-4)
ปรับสนับเข่ามาที่ 90องศาเดินลงน้ำหนักได้บางส่วนบริหารเข่าเหมือนระยะที่1แต่เพิ่มจำนวนรอบให้มากขึ้นหลังสัปดาห์ที่ 4 ฝึกขี่จักรยานอยู่กับที่ บริหารกล้ามเนื้อโดยการยืนหลังชิดกำแพงย่อตัวขึ้นลงให้เข่าเคลื่อนที่0-45 องศาปลายสัปดาห์ที่ 4เดินลงน้ำหนักได้เต็มที่โดยไม่ต้องใช้ไม้ค้ำยันแต่ต้องเดินในท่าเข่าเหยียดตรง
ระยะที่ 3 (สัปดาห์ที่5-6)
ผู้ป่วยที่ใส่สนับเข่าควรจะสามารถเหยียดเข่าได้สุด และงอเข่าได้เต็มที่แพทย์อาจให้หยุดใช้สนับเข่าได้
ระยะที่4 (สัปดาห์ที่7-12)
ฝึกบริหารมากขึ้นโดยปั่นจักรยานอยู่กับที่ปรับระยะ ฝืนให้มากขึ้นยืนเขย่งปลายเท้ายืนลงน้ำหนักเหยียดเข่าสุดแล้วกระดกข้อเท้าขึ้นฝึกขึ้นลงบันได ยืนลงน้ำหนักข้างที่ผ่าย่อตัวลง ว่ายน้ำท่ากบ วิ่งในน้ำได้
ระยะที่5 (เดือนที่4-6)
ผู้ป่วยควรงอเหยียดเข่าได้สุดและปราศจากความเจ็บปวดบริหารโดยการเดินและวิ่งเหยาะๆ เริ่มวิ่งไปด้านหน้าและถอยหลัง ค่อยๆเพิ่มความเร็วตามลำดับ
ระยะที่6 (เดือนที่6เป็นต้นไป)
สามารถเล่นกีฬาตามปกติได้ประมาณเดือนที่ 6 โดยกล้ามเนื้อต้นขาควรได้ประมาณ 80-90 % ของข้างปกติ
การป้องกัน เอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บหรือฉีกขาด สามารถทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและปรับสมดุลของกล้ามเนื้อขา สะโพก เชิงกราน และท้องส่วนล่าง โดยเรียนรู้วิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญและเรียนรู้วิธีการใช้ข้อเข่าที่ถูกต้อง เช่น การกระโดด การวิ่งและหยุด โดยเฉพาะในนักกีฬา เพื่อลดแรงกระแทกและป้องกันการได้รับบาดเจ็บ
สวมรองเท้าและอุปกรณ์รองรับแรงกระแทกที่เหมาะสมสำหรับการเล่นกีฬาแต่ละชนิด เพื่อป้องกันการได้รับบาดเจ็บ
หากใครที่กำลังประสบปัญหาเอ็นไขว้หน้าฉีกขาดทั้งที่เพิ่งเป็นและเป็นมานาน รู้สึกว่าข้อเข่าของเราไม่มั่นคง ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง สามารถติดต่อสอบถามขอคำปรึกษาจาก ReBRAIN ทีมนักกายภาพบำบัดของเราได้นะคะ พวกเราจะช่วยตอบคำถามคลายความสงสัยและรอจะช่วยแก้ปัญหาให้กับคุณอยู่นะคะ
แหล่งอ้างอิง
- Nielsen AB, Yde J. Epidemiology of acute knee injuries: a of the patients who reduced their activity level, did prospective hospital investigation. J Trauma 1991; 31 (12): 1644-8+
Anterior cruciate ligament tear knee joint…how to manage?
Many people have heard of the term anterior cruciate ligament tear or ACL Injury, and do you know what it is and how it occurs? ), which is one of the main ligaments in the knee This usually occurs when there is a sudden change of direction, a jump, or a stop. Most of them occur while playing sports such as football or basketball. causing the patient to hear the sound in the knee joint There is pain or swelling in the knee joint.
Treatment for ACL Injury may vary based on the severity of symptoms.
The patient may need to rest the knee and do exercises to strengthen the knee joint.
But some may need surgery and rehabilitation as well.
If left untreated, it may cause complications later.