หากพบรีบแก้ อาการเกร็ง ในโรคหลอดเลือดสมอง

อาการเกร็ง ในโรคหลอดเลือดสมอง ปัญหาสำคัญที่มักพบและควรรีบแก้

อาการเกร็ง ในโรคหลอดเลือดสมอง เป็นความผิดปกติของระบบประสาทสั่งการที่พบได้บ่อย หากไม่รีบแก้ไขอาจสายเกินไป

จากบทความ อาการเกร็งในโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นความผิดปกติของระบบประสาทสั่งการที่พบได้บ่อย ในผู้ป่วย อัมพาต ครึ่งซีกโดยร่างกายไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ทำให้เกิดรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ จะเกิดขึ้นเมื่อคนไข้ออกแรงที่มากกว่าปกติการ หาว ไอ การออกแรงมากๆ หรือ พยายามเคลื่อนไหวที่มากเกินไปอาจมีอาการเกร็งเกิดขึ้นได้สามารถเกิดได้ทั้งแขนและขา

อาการเกร็งดังกล่าวจะเป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อเป็นอัติโนมัติ ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมได้เพราะระบบประสาทที่ควบคุมการตึงตัวของกล้ามเนื้อจะสูญเสียการทำงาน

ส่วนมากมักเกิดขึ้นในแขน โดยจะอยู่ในลักษณะแขนงอเข้าหาตนเอง ไหล่อยู่ในท่าเคลื่อนเข้าหาตัวและหมุนเข้าด้านใน ส่วนข้อศอกข้อมือและนิ้วมือจะเกร็งอยู่ในท่างอ ส่วนขาจะเกร็งหนีบสะโพก เกร็งเหยียดเข่า และเกร็งถีบปลายเท้า

หากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยไว้ในท่าเกร็งนานๆ กล้ามเนื้อจะเสียสภาพและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาคือกล้ามเนื้อหดส้ันและข้อยึดติด ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวทำให้ระดับความสามารถของการทำกิจกรรมต่างๆลดลง

ดังนั้นหากพบเห็นอาการเกร็งที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยควรให้ความสำคัญและดูแลตั้งแต่แรกๆเพื่ป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น

การรักษาทางกายภาพบำบัดจึงสำคัญมากในการช่วยลดและควบคุมอาการเกร็งได้ มีวิธีง่ายๆที่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยสามารถนำไปใช้ลดอาการเกร็งกันได้ง่ายๆดังต่อไปนี้

1. การเหยียดยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ใช้หลักการเหยียดยืดเอ็นและกล้ามเนื้อที่หดเกร็งของ
กล้ามเนื้อในทิศทางตรงกันข้ามทั้งส่วนแขนและขา โดยเริ่มจากการเหยียดข้อนิ้วมือส่วนต้น, ส่วนปลาย และข้อระหว่างข้อนิ้วมือและนิ้วมืออย่างช้า ๆ และค่อยๆยืดกล้ามเนื้อบริเวณแขน ทำค้างนานประมาณ 20-30 วินาที ระหว่างการยืดไม่ควรทำให้เจ็บ

2. การจัดท่าควรจัดท่าในลักษณะที่ผ่อนคลาย ไม่ควรจัดในท่าที่กระตุ้นในเกิดอาการเกร็งขณะนอน
ควรอยู่ในลักษณะนอนหงาย หรือนอนตะแคงไม่ทับด้านที่อ่อนแรงควรเหยียดแขนและขาออกให้
สุดโดยมีหมอนรองไม่ควรนำหมอนมารองใต้ฝ่าเท้าด้านที่อ่อนแรงของผู้ป่วยเพราะจะเป็นการ
กระตุ้นให้เกิดอาการเกร็งของขา

3. อุปกรณ์พยุงข้อมือและมือ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เกิดการค้างของข้อ มือและนิ้วมือโดยข้อมืออยู่
ในลักษณะเหยียดตรงและนิ้วมือเหยียดกางออกเพื่อลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณมือในกรณี
ที่มีอาการเกร็งจนเกิดการหดรั้งของกล้ามเนื้อบริเวณมือ

การลดเกร็ง 3 วิธีข้างต้นเป็นวิธีการอย่างง่ายและปลอดภัยที่สามารถทำกันได้ที่บ้าน น้องจากเทคนิควิธีการนี้นักกายภาพบำบัดยังมีเทคนิคอื่นๆเฉพาะทางที่ใช้ในการลดเกร็งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นยิ่งขึ้น

นอกจากนั้นหากมีอาการเกร็งอย่างรุนแรงแพทย์จะพิจารณาให้ยาลดเกร็งและหากมีอาการเกร็งอย่างรุนแรงจนมีการหด ร้ังของกลมเนื้อเกิดขึ้นแพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดหรือประสาทศัลยศาสตร์ จากที่กล่าวมาข้างต้น อาการเกร็งเป็นปัญหาสำคัญและส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่างๆในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดอย่างมาก ดังนั้นการทำกายภาพบำบัดจึงจำเป็นอย่างยิ่งการแก้ไขควบคุม ลดอาการเกร็งในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ภาวะกล้ามเนื้ออหดรั้งข้อยึดติดที่ตามมานั่นเองค่ะ

From the article Spasticity in Stroke This is a dysfunction of the motor nervous system that is most common in hemiplegic patients where the body is unable to control movement, causing abnormal movement patterns. This occurs when a person is exercising more than usual, yawning, coughing, exerting too much force, or trying to move too much.Straction can occur in both arms and legs.

1.Stretching to stretch muscles and tendons Use the principle of stretching the tendons and muscles that contract
Muscles in opposite directions, both arms and legs It starts with a slow stretching of the forearm, forearm, and joint between the knuckle and fingers and gradually stretching the muscles around the forearm. Hold for 20-30 seconds between stretches and should not hurt.

2. The posture should be held in a relaxed manner. Should not be held in a position that stimulates the symptoms of contractions while sleeping.
Should be lying on your back Or lie on your side, not on the weak side, should stretch your arms and legs to
With a pillow, the pillow should not be put under the foot on the weak side of the patient because it will
Stimulate the stiffness of the legs

โรคหลอดเลือดสมอง

Facebook :: Rebrain

โทร.
Scroll to Top